ประโยคที่แสดงการเท่ากันของอัตราส่วนสองอัตราส่วน เรียกว่า สัดส่วน เราสามารถหาค่าอัตราส่วนที่เท่ากันได้โดยหลักการคูณและหลักการหาร...
สัดส่วนในชีวิตจริง
ประโยคที่แสดงการเท่ากันของอัตราส่วนสองอัตราส่วน เรียกว่า สัดส่วน เราสามารถหาค่าอัตราส่วนที่เท่ากันได้โดยหลักการคูณและหลักการหาร...
นักเรียนทราบมาแล้วว่า ประโยคที่แสดงการเท่ากันของอัตราส่วนสองอัตราส่วน เรียกว่า สัดส่วน แต่ในชีวิตจริงในแต่ละวันของเรานั้น เราอาจพบว่า มีการใช้สัดส่วน ในความหมายของอัตราส่วน อยู่บ่อย ๆ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
***** ในการรับสมัครเข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 ของโรงเรียนคำเขื่อนแก้วชนูปถัมภ์ จังหวัดยโสธร ประกาศรับนักเรียนในเขตพื้นที่บริการและนักเรียนนอกเขตพื้นที่บริการเป็นสัดส่วน 70 ต่อ 30
***** ปัญญา ทำขนมตาลก้อนขาย มีเพื่อถามเขาว่าใช้แป้งและน้ำตาลทรายปริมาณเท่าใดมาผสมกัน เขาตอบว่าใช้ สัดส่วน แป้งและน้ำตาลทรายโดยน้ำหนัก เป็น 3 ต่อ 1
***** พันพิพัฒน์ลงทุนค้าขายเปิดร้านไอติมร่วมกับฉันท์เพื่อนรัก เมื่อได้กำไรมาจึงแบ่งผลกำไรตาม สัดส่วน ที่แต่ละคนได้ลงทุนไป
ตัวอย่างเช่น
ป้าทิพย์ชงกาแฟ 5 ถ้วยโดยใช้อัตราส่วนของกาแฟบด 3 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 5 ถ้วย ถ้าป้าทิพย์ต้องการเลี้ยงกาแฟผู้เข้าประชุมทั้งหมด 30 คน คนละ 1 ถ้วย ป้าทิพย์จะต้องใช้กาแฟบดกี่ช้อนโต๊ะ
จากโจทย์นี้ทำให้ทราบว่า อัตราส่วนของกาแฟบดเป็นช้อนโต๊ะต่อน้ำเป็นถ้วย เป็น 3:5 และต้องการหาปริมาณของกาแฟบดเป็นช้อนโต๊ะที่ใช้กับน้ำ 30 ถ้วย
นั่นคือ ต้องการหาอัตราส่วนใหม่ที่เท่ากับอัตราส่วน 3/5 เมื่อจำนวนหลังของอัตราส่วนใหม่นั้นเป็น 30
ให้จำนวนแรกของอัตราส่วนใหม่เป็น X
อัตราส่วนใหม่คือ X : 30 หรือ X /30
เขียนสัดส่วนได้ดังนี้ 3/5 = X/30
หรือ 3 : 5 = X : 30
จะได้ 3 x 30 = 5 x X
(3x30)/5 = X
X = 18
นั่นคือ ป้าทิพย์จะต้องใช้กาแฟบด 18 ช้อนโต๊ะ
<<<<คลิ๊กที่นี่เพื่อเข้าไปดูผลเฉลยแบบฝึกหัด 1.4 จ๊ะ>>>>>
<<<<<คลิ๊กที่นี่เพื่อเข้าไปดูผลเฉลยกิจกรรม"อัตราส่วนเดียวกันหรือไม่>>>>>
parrot.
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=493