นายประเสริฐศักดิ์ บุญตระกูลพูลทวี หัวหน้าโครงการวิจัยและจัดแสดงหมีแพนด้าในประเทศไทย เปิดเผยว่า จากการตรวจสุขภาพวันนี้ แพนด้าน้อยมีพัฒนาการที่เร็วกว่าแพนด้าทั่วไปขึ้นอีกขั้น โดยมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นจากสองวันก่อนถึง 70 กรัม หรือเฉลี่ยวันละ 35 กรัม
เรื่อง ติดตามน้ำหนักลูกหลินฮุ่ยกันดีกว่า
บทนำ นายประเสริฐศักดิ์ บุญตระกูลพูลทวี หัวหน้าโครงการวิจัยและจัดแสดงหมีแพนด้าในประเทศไทย เปิดเผยว่า จากการตรวจสุขภาพวันนี้ แพนด้าน้อยมีพัฒนาการที่เร็วกว่าแพนด้าทั่วไปขึ้นอีกขั้น โดยมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นจากสองวันก่อนถึง 70 กรัม หรือเฉลี่ยวันละ 35 กรัม น้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็น 395 กรัม และความยาวเพิ่มขึ้น 1 เซนติเมตร หรือเพิ่มขึ้น 1 เท่าตัวจากช่วง 2 วันก่อน บริเวณท้องของแพนด้าน้อยตึงทำให้เห็นว่าแพนด้าน้อยได้รับน้ำนมจากแม่ในปริมาณที่มากเพียงพอ
เนื้อหาสาระ คณิตศาสตร์ เรื่อง การเปรียบเทียบน้อยกว่าและมากกว่า ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
เนื้อหา นายประเสริฐศักดิ์ บุญตระกูลพูลทวี หัวหน้าโครงการวิจัยและจัดแสดงหมีแพนด้าในประเทศไทย เปิดเผยว่า จากการตรวจสุขภาพวันนี้ แพนด้าน้อยมีพัฒนาการที่เร็วกว่าแพนด้าทั่วไปขึ้นอีกขั้น โดยมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นจากสองวันก่อนถึง 70 กรัม หรือเฉลี่ยวันละ 35 กรัม น้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็น 395 กรัม และความยาวเพิ่มขึ้น 1 เซนติเมตร หรือเพิ่มขึ้น 1 เท่าตัวจากช่วง 2 วันก่อน บริเวณท้องของแพนด้าน้อยตึงทำให้เห็นว่าแพนด้าน้อยได้รับน้ำนมจากแม่ในปริมาณที่มากเพียงพอ รายละเอียด คลิ๊กที่นี่
เมื่อแรกเกิดลูกหลินฮุ่ย มีน้ำหนัก 200 กรัม เวลาผ่านมายังไม่หายคิดถึงและดีใจลูกหลินฮุ่ยพัฒนาการอย่างรวดเร็วโดยมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นจากสองวันก่อนถึง 70 กรัม หรือเฉลี่ยวันละ 35 กรัม น้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็น 395 กรัม และความยาวเพิ่มขึ้น 1 เซนติเมตร หรือเพิ่มขึ้น 1 เท่าตัวจากช่วง 2 วันก่อน เรามาช่วยกันคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ และคิดคำนวณกันว่าลูกหลินฮุ่ยมีน้ำหนักมากกว่าหรือน้อยกันเท่าไร
ประเด็นคำถาม
1. แรกเกิดลูกหลินฮุ่ยมีน้ำหนักเท่าไร ? ตอบ 200 กรัม
2. ปัจจุบันลูกหลินฮุ่ยมีน้ำหนักเท่าไร ? ตอบ 395 กรัม
3. ลูกหลินฮุ่นมีน้ำหนักมากกว่าหรือน้อยกว่าตอนแรกเกิดเท่าไร ? ( 395 - 200 = ) ตอบ มากกว่า 195 กรัม
4. น้ำหนักลูกหลินฮุ่ย 395 กรัม คิดเป็นกี่ขีดกี่กรัม ? ตอบ 3 ขีด กับ 95 กรัม
การติดตามการพัฒนาการลูกของหลินฮุ่ยเราอาจจะให้นักเรียนทำโครงงานก็ได้แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มแล้วติดตามการพัฒนาการ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นการฝึกความรับผิดชอบและการเรียนรู้นอกห้องเรียนได้ดีและนักเรียนจะเกิดความสนุกสนานไม่เบื่อ
บูรณาการกับสาระ
1. วิทยาศาสตร์ การเลี้ยงลูกด้วยนม การเจริญเติบโต
แหล่งที่มาของข้อมูล/รูปภาพ
สุวารี โสมาบุตร ครู ชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านเกาะรัง สพท.ลบ.2
https://pics.manager.co.th/Thumbnails/552000006815002.JPEG
https://www.manager.co.th/imageupload/images/552000006815006.JPEG
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=603