ครูบุญส่ง ใหญ่โต ให้ความเห็นว่า โครงงานนี้เป็นเรื่องของเศรษฐกิจ ในหมู่บ้านที่อยู่ติดกับลำน้ำน้อย
โครงงานคณิตศาสตร์ เลี้ยงปลาทับทิมริมแม่นำน้อย........รวยจริงหรือ
นอกจากอาชีพทำไร่ทำนาแล้ว ชาวบ้านแถบลุ่มน้ำน้อยต่างก็อาศัยลำน้ำแห่งนี้หาอยู่หากิน
และจับสัตว์น้ำขายเป็นอาชีพเสริม นอกจากนั้นอาชีพเสริมของชาวบ้านสรรคบุรี
ต.แพรกศรีราชา อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท อีกอย่างหนึ่งก็คือเลี้ยงปลาทับทิมในกระชังในแม่น้ำน้อย
3 สาววัยใสนักเรียนชั้นปรถมศึกษาปีที่ 6 เด็กหญิงบุญนำ ฤทธิ์กล้า เด็กหญิงปารวี จารุพันธุ์
และเด็กหญิงพรรณวดี ขำมา นักเรียนจากโรงเรียนอนุบาลสรรคบุรี ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านได้คิดโครงงานคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา เรื่อง ปลาทับทิมในกระชังความหวังเศรษฐกิจไทย สร้างเสริมรายได้ให้ชุมชน
เพื่อศึกษาต้นทุนและผลผลิตในการเลี้ยงปลาทับทิมในกระชังตลอดจนความต้องการบริโภคของ
ตลาดเพื่อเป็นแนวทางให้เกษตรกรหรือผู้สนใจเลี้ยงปลาทับทิมในกระชังได้ใช้เป็นข้อมูลในการประกอบอาชีพ
โดยมี ครูบุญส่ง ใหญ่โต ครูคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นวิทยากรแกนนำวิชาคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา
ครูบุญส่ง ใหญ่โต ให้ความเห็นว่า โครงงานนี้เป็นเรื่องของเศรษฐกิจ ในหมู่บ้านที่อยู่ติดกับลำน้ำน้อย
ปลาทับทิมที่ใช้เลี้ยงเป็นของบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเกษตรแห่งหนึ่ง ซึ่งให้พันธ์ุปลามาแต่ชาวบ้านต้องซื้ออาหาร
จากบริษัท และเวลาขายปลาบริษัทก็จะมารับซื้อ จึงต้องการรู้ว่าเมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วจะเหลือกำไรหรือไม่
เด็กก็ศึกษาว่าถ้าชาวบ้านลงทุนเลี้ยงเท่านี้จะเป็นอย่างไร ก็ถือเป็นอาชีพเสริมจากการทำนาที่ได้ผลกำไรที่ดี
ในการทำโครงงาน 3 สาวได้รวบรวมข้อมูลจากการสำรวจและสัมภาษณ์เกษตรกรที่เลี้ยงปลาทับทิม
10 รายใน หมู่บ้านข้างต้น แล้วใช้คณิตศาสตร์เข้าช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ อัตราส่วน ร้อยละ
การนำเสนอข้อมูล สถิติ รูปแบบความสัมพันธ์
ผลการสำรวจและการวิเคราะห์พบว่า เกษตรกร 10 รายเลี้ยงปลาทับทิมเฉลี่ยครอบครัวละ 4 กระชัง
ต้นทุนต่อรุ่น 71,000 บาท ได้ผลผลิต 2,600 กิโลกรัม คิดเป็นเงิน 105,000 บาท ได้กำไรเฉลี่ย 34,000 บาท
เกษตรกรที่เลี้ยงปลาทับทิมได้ผลผลิตไม่เท่ากัน เกษตรกรที่ได้กำไรมากที่สุดมีปลาทับทิมเพียง 2 กระชัง
แต่คนที่ได้ผลผลิตน้อยที่สุดมีถึง 6 กระชัง แสดงว่ามีปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลผลิต คือ ระดับอาหาร
สภาพแวดล้อม การดูแลเอาใจใส่ และสถานที่ที่เหมาะสม ผลจากการเลี้ยงปลาทับทิมในกระชังของชาวบ้านสรรคบุรี
ส่วนใหญ่ประสพผลอย่างดี มีฐานะดีขึ้น เนื่องจากผลกำไรของปลาอยู่ในเกณฑ์ดี แต่เกษตรกรที่เลี้ยงปลาทับทิมในกระชังของเขตอำเภอสรรคบุรียังมีจำนวนน้อย
เด็กหญิงพรรณวดี ขำมา กล่าวถึงสาเหตุที่ทำโครงงานนี้ก็เพราะว่า คิดว่าเป็นโครงงานที่มีประโยชน์ต่อตนเอง
และบุคคลที่มีความสนใจในการเลี้ยงปลาทับทิม ซึ่งหลายๆ คนอาจจะยังไม่รู้จักวิธีการเลี้ยงปลามากนัก
การทำโครงการนี้จึงถือได้ว่าเป็นทางเลือกใหม่ ได้รับรู้ถึงวิธีการเลี้ยงปลาทับทิมในกระชัง และรู้จักวิธีการเอา
เนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันมากที่สุด ในการทำโครงงานนี้มีหลายสิ่งที่ประทับใจ เช่น การดูแลเอาใจใส่ของอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน และเพื่อนร่วมงานทุกคนที่มานะอดทนในการทำงาน ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการทำงานนานพอสมควรจึงสำเร็จได้ และมีมิตรไมตรีของเกษตรกรที่ให้ข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อผู้จัดทำโครงงาน
เด็กหญิงบุญนำ ฤทธิ์กล้า เล่าว่า สิ่งที่ทำให้อยากทำโครงงานนี้เพราะตนเองชอบวิชาคณิตศาสตร์อยู่แล้ว
อยากลองทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ และคิดว่าโครงงานนี้จะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรและพ่อแม่ตนเองที่ผู้เลี้ยงปลาทับทิม ปัญหาที่พบในการรวบรวมข้อมูลคือจะมีคำตกหล่นบ้าง และการเดินทางไปหาข้อมูลเส้นทางจะลำบากมาก แต่ทุกอย่างก็ผ่านไปด้วยดี รู้จักการใช้ชีวิตของชาวบ้านที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำ
จากการเลี้ยงปลาทับทิมเป็นอาชีพเสริมของชาวบ้าน นำไปสู่การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ นับว่าเป็นการนำเรื่องใกล้ตัวมาเชื่อมโยงกับการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในห้องเรียนได้อย่างกลมกลืนและมีประโยชน์
การจัดทำระบบข้อมูลในเรื่องของต้นทุน ผลผลิต และกำไรของการเลี้ยงปลาช่วยให้เกษตรกรหรือผู้สนใจนำข้อมูลไปเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพ ซึ่งนับว่าเป็นโครงงานคณิตศาสตร์ที่ทำแล้วสามารถนำผลงานไปใช้ประโยชน์ได้ในสถานการณ์จริง
บูรณาการเนื้อหา
การเลี้ยงปลาทับทิม กลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี
การประกอบอาชีพอาชีพเลี้ยงปลาทับทิม กลุ่มสังคมและวัฒฯธรรม
โครงงานวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์
คำถามท้ายบท
1. การเลี้ยงปลาทับทิมมีรายจ่ายกระชังละเท่าไร ได้กำไรเป็นจำนวนเงินเท่าไร
2. การลงทุนเลี้ยงปลาทับทิมในปีจะได้กำไรเท่าไร
3. การทำโครงงานคณิตศาสตร์เลี้ยงปลาทับทิมมีประโยชน์อย่างไรบ้าง
จัดโดยนางบูญส่ง ใหญ่โต ครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนอนุบาลสรรคบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยนาท
อ้างอิงจาก https://tbn0.google.com/images
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=626