คณิตศาสตร์กับ ICT นักเรียนเรียนสนุก ชอบไม่น่าเบื่อ.............


646 ผู้ชม


คณิตศาสตร์กับ ICT นักเรียนเรียนสนุก ชอบไม่น่าเบื่อ............. ด้วย โปรแกรม GSP เพราะสามารถมาใช้อธิบายเนื้อยากๆให้เป็นรูปธรรม สามารถนำเสนอภาพเคลื่อนไหว (animation)   
คณิตศาสตร์กับ  ICT   นักเรียนเรียนสนุก ชอบไม่น่าเบื่อ............. ด้วย โปรแกรม  GSP  เพราะสามารถมาใช้อธิบายเนื้อยากๆให้เป็นรูปธรรม

             GSP เป็นโปรแกรมที่ครูสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือเพื่อช่วยให้การเรียนการสอนคณิตศาสตร์  มีประสิทธิภาพ และน่าสนใจมาก สามารถนำเสนอภาพเคลื่อนไหว (animation) 
มาใช้อธิบายเนื้อหาที่ยาก ๆ ให้เป็นรูปธรรม ให้นักเรียนได้เรียนรู้และเข้าใจง่ายและโปรแกรมยังเน้นให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติด้วย ตัวเองได้ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาอื่น ๆ เช่น วิทยาศาสตร์ ศิลปะ อย่างไม่มีข้อจำกัด
            ครูบุญส่ง  ใหญ่โต หัวหน้าหมวดคณิตศาสตร์ โรงเรียนอนุบาลสรรคบุรี ซึ่งเป็นโรงเรียนต้นแบบในฝัน นักเรียนต้องเป็น  ICT ทุกกลุ่มสาระ  ในช่วงแรกจะให้พัฒนาบุคลากรทุกกลุ่มสาระจากงบประมาณของ สพฐ. ในกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ทางโรงเรียนต้องส่งครูเข้ารับการอบรมให้ส่งครูคณิตศาสตร์ 2 คนเข้ารับการอบรม เนื่องจากว่า  GSPเป็นโปรแกรมที่อธิบายเนื้อหาที่ยากให้เห็นชัดเจน เข้าใจง่าย และโจทย์ทางคณิตศาสตร์ที่สลับซับซ้อนก็สามารถนำ GSP มาอธิบายให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมที่สุด  สมัยก่อนเราอาจมีทฤษฎีให้ท่องกันเฉย ๆ 
            เราต้องใช้วิธีการหลายอย่างเพื่ออธิบายทฤษฎีเหล่านั้นแต่ก็ไม่เห็นชัดเจน  แต่พอมี GSP สามารถอธิบายเกือบทุกทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ได้  เนื่องจากพวกเราทั้งสามคนมีความคิดตรงกันว่าเราอยากให้ครูผู้สอนคณิตศาสตร์เอา GSP ไปใช้สอนเด็ก  แล้วผลประโยชน์ก็จะอยู่ที่ตัวเด็ก  คือ เด็กเรียนแล้วได้เห็นชัดเจน 
           ก็เลยขยายผลไปให้ครูในหมวดคณิตศาสตร์ก่อน  จากครูในหมวดก็ได้ขยายผลต่อโดยเชิญชวนครูมัธยมศึกษาในจังหวัดชัยนาทมารับการอบรม GSP 
โดยเฉพาะ ต่อมาก็เล็งเห็นว่าครูประถมศึกษาในจังหวัดชัยนาทและครูมัธยมศึกษาในจังหวัดอื่นก็เกิดความสนใจ ก็เลยเชิญพวกเราไปเป็นวิทยากรขยายผล การจัดกิจกรรม GSP ในโรงเรียนสิ่งที่เราลงอยู่เสมอคือกิจกรรมชุมนุมคณิตศาสตร์ซึ่งจัดเป็นฐาน ๆ 
           หนึ่งให้เด็กได้เข้าไปเรียน  และเราขยายผลไปให้เด็กเรียนอ่อนในลักษณะพี่สอนน้อง หรือเพื่อนสอนเพื่อน เด็กก็จะมีความสุข  การใช้ในชั้นเรียน เราสามารถอธิบายทฤษฎีบางทฤษฎีให้เห็นชัดเจน  เช่นในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  4-6  การหาพื้นที่  แผนภูมิ   การประดิษฐ์เครื่องเล่น  ช่วงชั้นที่  1  การจัดทำเกมคณิตศาสตร์  ชั้นมัธยมเช่น ทฤษฎีกราฟหรือเว็คเตอร์ 3 มิติ การใช้ GSPจะทำให้เห็นชัดเจนมากและเด็กจะเข้าใจมากยิ่งขึ้น   
            การนำ GSP ไปใช้ในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์นั้น  หมวดคณิตศาสตร์ยังได้ขยายผลไปสู่การทำโครงงานคณิตศาสตร์ด้วย  โครงงานหนึ่งที่โดดเด่นก็คือ โครงงานคณิตศาสตร์ 
เรื่อง การออกแบบเครื่องเล่นในสวนสนุก    เด็กหญิงสุกัญญา ( มุก )  เด็กหญิงกานต์กนิฐ  (เอิง) เด็กชายณัฐสิทธิ์  เด็กหญิงรวิภา (ก้อย ) ชั้นประถมศึกษาปีที่  6 
         เนื่องจากเครื่องเล่นในสวนสนุก   เป็นเครื่องเล่นที่นักเรียนอยากให้โรงเรียนมีสวนสนุกในโรงเรียนอนุบาลสรรคบุรี  เมื่อโรงเรียนได้เป็นโรงเรียนในฝันแล้ว 
          แต่โปรแกรม  GSP สามารถประดิษฐ์เครื่องเล่นให้สามารถเคลื่อนไหวได้เหมือนของเล่นจริง  แต่เล่นในคอมพิวเตอร์ได้  การสร้างเครื่องเล่นโโยใช้โปรแกรมไม่ยาก  สร้างโดยใช้เมนูการแปลงใช้การหมุน  การเลื่อนขนาน
              อยากให้ครูคณิตศาสตร์ทุกคนในประเทศไทยได้ใช้โปรแกรม GSPนี้แล้วนำไปใช้สอนนักเรียนเพื่อให้นักเรียนได้เข้าใจคณิตศาสตร์จากนามธรรมเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น  อยากให้ผู้บริหารให้การสนับสนุนการใช้ GSP ในการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้มากก็คือคอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์”  

 บูรณาการ  ทุกกลุ่มสาระ  การงานออกแบบผลิตภัณฑ์  วิทยาศาสตร์ทดลองการเคลื่อนไหวในสิ่งที่ทดลอง  ศิลปะ  ฯ

ประเด็นคำถาม  
                              1.  ประโยชน์โปรแกรม GSP  มีประโยชน์อะไรบ้าง
                              2.  สามารถนำมาใช้สอนได้ทุกกลุ่มวิชาได้อย่างไร

ข้อเสนอแนะ         
                               การเรียนโดยใช้โปรแกรม  GSP  สิ่งสำคัญ ต้องมีคอมพิวเตอร์  และมีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์
จัดทำโดย  นางบุญส่ง  ใหญ่โต  ครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนอนุบาลสรรคบุรี  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยนาท 

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=663

อัพเดทล่าสุด