ระบบเลขฐานสิบ (Decimal System)


556 ผู้ชม


ระบบเลขฐานสิบนี้เป็นระบบเลขที่เราใช้กันมาเป็นประจำในปัจจุบันซึ่งประกอบด้วยตัวเลขโดดทั้งหมด 10 ตัว คือ 0 - 9  

ระบบเลขฐานสิบ (Decimal System)

ระบบเลขฐานสิบนี้เป็นระบบเลขที่เราใช้กันมาเป็นประจำในปัจจุบันซึ่งประกอบด้วยตัวเลขโดดทั้งหมด 10 ตัว คือ 0 - 9
เราสามารถนำเอาเลขโดดเหล่านี้มาประกอบกันเพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนจำนวนที่เราต้องการได้โดยใส่เลข
โดดที่ต้องการลงไปในตำแหน่งหลักต่างๆ ซึ่งเลขโดดแต่ละตัวจะมีค่าประจำตัวเอง เช่น เลข 7 จะแทนค่าจำ นวน เจ็ดหน่วย ซึ่งเลขโดดเหล่านี้จะแทนค่าจำนวนต่างๆ ได้ 10 ค่า โดยเลข 0 จะแทนค่าจำนวนต่ำสุด เลขโดด 9 แทนค่าจำนวนสูงสุด แต่ถ้าเราต้องดารตัวเลขที่แทนค่าจำนวนที่มากกว่าสิบ เราก็สามารถทำได้โดยนำตัวเลข โดดเหล่านี้หลายตัวมาเขียนประกอบกันโดยกำหนดไว้ในหลักต่างๆ ซึ่งในแต่ละหลักนั้นก็จะมีค่าประจำหลัก ซึ่ง หลักขวาสุดจะมีค่าประจำหลักเป็นหนึ่ง หลักทางซ้ายถัดมาจะมีค่าประจำหลักเป็น 10 เท่า ของตำแหน่งขวาสุด

เช่น 63 
เลขโดด 3 อยู่หลักขวาสุดซึ่งเรียกว่า หลักหน่วย มีค่าประจำหลักเป็นหนึ่ง ดังนั้น 3 ใน 63 จะมีค่า แทนจำนวน 3 x 1 = 3 และ 
เลขโดด 6 ที่เป็นเลขโดดที่อยู่ทางซ้ายมือของ 3 มีค่าประจำหลักเป็น 10 ดังนั้น 6 ใน 63 จึงมีค่าแทนจำนวน 6 x 10 = 60 
แสดงว่า 63 มีค่าเท่ากับ 60 + 3 = 63 เป็นต้น 
ค่าประจำหลักของเลขหลักทางซ้ายมือจะมีค่าเป็น 10 เท่าของค่าประจำหลักของหลักทางขวามือที่อยู่ติด กัน เมื่อเรากำหนดให้หลักต่างๆโดยเริ่มจากหลักทางขวาไปซ้ายให้เป็น หลักหน่วย หลักสิบ หลักร้อย หลักพัน หลักหมื่น หลักแสน หลักล้าน ..... จะเห็นว่า
หลักสิบ เป็น สิบเท่าของหลักหน่วย 
หลักร้อย เป็น สิบเท่าของหลักสิบ 
หลักพัน เป็น สิบเท่าของหลักร้อย 
หลักหมื่น เป็น สิบเท่าของหลักพัน 
เป็นเช่นนี้เรื่อยไป โดยเลขโดดตัวที่อยู่ทางซ้ายสุดเรียกว่า เลขโดดค่าสูงสุด ส่วนเลขโดดทางขวาสุด เรียกว่า เลขโดดค่าต่ำสุด 
 
เราสามารถเขียนค่าประจำหลักด้วยเลขยกกำลังของสิบได้ดังนี้
 
หลักหน่วย (หลักที่ 1) ค่าประจำหลัก  
หลักสิบ (หลักที่ 2) ค่าประจำหลัก  
หลักร้อย (หลักที่ 3) ค่าประจำหลัก  
  .
.
.
   
หลักที่ n ค่าประจำหลัก  
 
ค่าของเลขฐานสิบนั้นจะมีค่าเพิ่มขึ้นทีละหนึ่ง โดยมีค่าเพิ่มเรียงเป็นลำดับตั้งแต่ 0, 1, 2, 3, ..., 9 หลัง จากเลข 9 แล้ว ถ้าเพิ่มขึ้นอีก 1 จะทำให้ 9 เปลี่ยนเป็น 0 พร้อมกับตัวทดอีก 1 ซึ่งตัวทดนี้จะเป็นค่าที่นำไปเป็น เลขโดดในหลักสิบมีค่า 1 เป็นเช่นนี้เรื่อยไป เช่นเดียวกันสำหรับในหลักสิบ ค่าเพิ่มไปจนถึง 9 ถ้าเกิน 9 ก็จะ เปลี่ยนเป็น 0 และทด 1 ไปยังหลักพันเป็นไปในทำนองเดียวกันนี้เรื่อยไป
จากที่กล่าวมานี้เป็นลักษณะของเลขจำนวนเต็ม ถ้าเป็นเลขเศษส่วนหรือทศนิยมที่มีค่าน้อยกว่า 1 ค่าประ จำหลักในส่วนของเลขที่อยู่หลังจุดทศนิยมนั้นยึดหลักการในทำนองเดียวกับจำนวนเต็มคือ แต่ละหลักที่อยู่ถัด ไปทางขวา จะเป็นเลขยกกำลังของ 10 โดยตัวชี้กำลังจะเริ่มจาก -1 แล้วลดทีละ 1 เป็นลำดับ
 
เช่น 0.456 
เลข โดด 4 ซึ่งเป็นเลขตัวเลขหลังจุดทศนิยมจะมีค่าประจำหลักเป็น  
เลขโดด 5 ซึ่งเป็นเลขโดดทางขวาถัดมา จะมีค่าประจำหลักเป็น  
เลขโดด 6 จะมีค่าประจำหลักเป็น  
ซึ่งเราสามารถเขียนแสดงค่า 0.456 ใน รูปกระจายตามค่าประจำหลักได้ดังนี้ 
0.456 = 4 x  + 5 x  + 6 x  

 = 0.4 + 0.05 + 0.006

ที่มา..https://www.zone-it.com/stocks/data/28/28714.html
 

 ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=724

อัพเดทล่าสุด