จำนวน คือ การเขียนตัวเลขแทนจำนวน จำนวนเป็นการเปรียบเทียบให้ทราบว่ามากกว่า น้อยกว่า หรือเท่ากัน (เพราะการเปรียบเทียบของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับความรู้สึก) มนุษย์จึงคิดค้นสัญลักษณ์ขึ้นมา เพื่อใช้กำกับจำนวนที่เรียกว่า ตัวเลข
จำนวน
การเขียนตัวเลขแทนจำนวน จำนวนเป็นการเปรียบเทียบให้ทราบว่ามากกว่า น้อยกว่า หรือเท่ากัน (เพราะการเปรียบเทียบของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับความรู้สึก) มนุษย์จึงคิดค้นสัญลักษณ์ขึ้นมา เพื่อใช้กำกับจำนวนที่เรียกว่า ตัวเลข
ตัวเลข
ตัวเลข คือสัญลักษณ์ที่ที่มนุษย์คิดค้นขึ้นมานั้น แต่ละชาติแต่ละภาษาต่างก็คิดขึ้นมาใช้ เช่่น
= เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนปริมาณ มีค่า เท่ากับ 4 แต่ตัวเลขของแต่ละชาติที่ใช้แทนสัญลักษณ์นั้นแตกต่างกัน เช่น
ตัวเลขอารบิก เขียนแทนด้วย 4
ตัวเลขโรมัน เขียนแทนด้วย IV
ซึ่งตัวเลขบางแบบก็เลิกใช้แล้ว บางแบบก็ยังใช้ในปัจจุบัน บางแบบก็ใช้หรือเข้าใจกันแต่เฉพาะชาติของตนเอง ในปัจจุบันระบบตัวเลขที่ถือว่าเป็นระบบตัวเลขสากลใช้กันทั่วโลก คือ "ระบบตัวเลขฮินดูอารบิก"
ระบบตัวเลขฮินดูอารบิก
ระบบฮินดูอารบิก เป็นระบบที่ใช้ฐาน 10 มีเลขโดดที่ใช้ด้วยกันจำนวน 10 ตัว คือ 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 โดยที่ค่าของตัวเลขมีค่าขึ้นอยู่กับตำแหน่ง เช่น ตัวเลข 653 คือ
ตำแหน่งที่ 3 ตำแหน่งที่ 2 ตำแหน่งที่ 1
6 5 3
3 อยู่ในตำแหน่งที่ 1 มีค่า 3
5 อยู่มนตำแหน่งที่ 2 มีค่าเท่ากับ 50
6 อยู่ในตำแหน่งที่ 3 มีค่าเท่ากับ 600
ระบบเลขฐานสิบ
ตำแหน่งที่ ... เจ็ด หก ห้า สี่ สาม สอง หนึ่ง
ชื่อตำแหน่ง ... หลักล้าน หลักแสน หลักหมื่น หลักพัน หลักร้อย หลักสิบ หลักหน่วย
ค่าประจำ
ตำแหน่ง ... 1,000,000 100,000 10,000 1,000 100 10 1
27 2 ในที่นี้ แทนค่า 20 (ยี่สิบ)
206 2 ในที่นี้ แทนค่า 200 (สองร้อย)
12 2 ในที่นี้ แทนค่า 2 (สอง)
ในการเขียนตัวเลขในระบบตัวเลขฐานสิบ เช่น 5,678 เราหมายความดังนี้
5,678 = (5x1,0000 + (6x100) + (7x10) + (8x1) เรากล่าวว่า
8 อยู่ในตำแหน่งที่ 1 เรียกว่า หลักหน่วย หรือ แปด
7 อยู่ในตำแหน่งที่ 2 เรียกว่า หลักสิบ หรือ เจ็ดสิบ
6 อยู่ในตำแหน่งที่ 3 เรียกว่า หลักร้อย หรือ หกร้อย
5 อยู่ในตำแหน่งที่ 4 เรียกว่า หลักพัน หรือ ห้าพัน
ฉนั้น 5,678 อ่านเป็น ห้าพันหกร้อยเจ็ดสิบแปด
ตำแหน่งที่ 1 หลักหน่วย มีค่าประจำตำแหน่งเป็น 1
ตำแหน่งที่ 2 หลักสิบ มีค่าประจำตำแหน่งเป็น 10
ตำแหน่งที่ 3 หลักร้อย มีค่าประจำตำแหน่งเป็น 10x10 หรือ 102
ตำแหน่งที่ 4 หลักพัน มีค่าประจำตำแหน่งเป็น 10x10x10 หรือ 103
ตำแหน่งที่ 5 หลักหมื่น มีค่าประจำตำแหน่งเป็น 10x10x10x10 หรือ 104
ตำแหน่งที่ 6 หลักแสน มีค่าประจำตำแหน่งเป็น 10x10x10x10x10 หรือ 105
ตำแหน่งที่ 7 หลักล้าน มีค่าประจำตำแหน่งเป็น 10x10x10x10x10x10 หรือ 106
ที่มา..https://www.zone-it.com/stocks/data/28/28714.html
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=725