ระวังภัยโรคติดต่อร้ายที่มากับฤดูฝน กับเรื่องเซตตอนที่ 1


620 ผู้ชม


ระวังภัยโรคติดต่อร้ายที่มากับฤดูฝน กับเรื่องเซตตอนที่ 1
ระวังภัยโรคติดต่อร้ายที่มากับฤดูฝน กับเรื่องเซตตอนที่ 1
ระวังภัยโรคติดต่อร้ายที่มากับฤดูฝน กับเรื่องเซตตอนที่ 1 หมวดหมู่ : คณิตศาสตร์
ระวังภัยโรคติดต่อร้ายที่มากับฤดูฝน กับเรื่องเซตตอนที่ 1
พฤหัสบดี ที่ 18 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2552

[อ่านสาระการเรียนรู้ทั้งหมด]  

ระวังภัยโรคติดต่อร้ายที่มากับฤดูฝน กับเรื่องเซตตอนที่ 1
 
เซตSetsเป็นการกล่วถึงกลุ่มคน สิ่งของ วันนี้มีข่าวสธ.เตือนระวังภัย 15 โรคร้ายที่มากับฤดูฝน โรคท้องร่วง โรคบิด โรคฉี่หนู โรคปอดอักเสบ ไข้เลือดออก มาลาเรีย โรคเยื่อบุตาอักเสบหรือตาแดง   

ทฤษฏีเซต ตอนที่ 1

ระวังภัยโรคติดต่อร้ายที่มากับฤดูฝน กับเรื่องเซตตอนที่ 1

กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)เตือนระวังภัย 15 โรคร้ายที่มากับฤดูฝน โรคท้องร่วง โรคบิด  โรคฉี่หนู โรคปอดอักเสบ ไข้เลือดออก มาลาเรีย โรคเยื่อบุตาอักเสบหรือตาแดง 
โรคไข้สมองอักเสบจี และโรคไข้หวัดนก เดือนพฤษภาคม มีผู้เสียชีวิตทั่วประเทศแล้ว 13 ราย
สั่งสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) จับตา 90 วันอันตราย เตือนผู้ที่เป็นไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก ไข้ฉี่หนู  ห้ามทานยาแอสไพรินอย่างเด็ดขาดเพราะอาจจะเสี่ยงต่อการเสียชีวิต
 นายวิทยา  แก้วภราดัย รัฐมนตรี(รมต.)ว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่าขณะนี้ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูฝน การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศเป็นสาเหตุให้โรคหลายชนิดแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว
ตั้งแต่เดือนมิถุนายน - เดือนสิงหาคม 2522 เป็นช่วง 90 วันอันตราย โรคที่ต้องติดตามต่อเนื่อง 2 โรค คือ โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 และโรคไข้หวัดนกที่มีแหล่งแพร่ระบาด
มาจากสัดว์ปีก ซึ่งไม่มีประวัติแพร่ระบาดมาสู่คนในประเทศมาเกือบ 3 ปี แต่ประมาทไม่ได้ เพราะหากเกิดขึ้นฤดูฝน เชื้ออาจมีการผสมข้ามสายพันธุ์กับเชื้อไข้หวัดใหญ่ในคนที่อยู่ในช่วงระบาดได้ 

ระวังภัยโรคติดต่อร้ายที่มากับฤดูฝน กับเรื่องเซตตอนที่ 1


 นายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่ากรมควบคุมโรคได้ออกประกาศเตือนประชาชนในการป้องกันโรคติดต่อที่มักเกิดขึ้นในฤดูฝน โดยมี 5 กลุ่ม รวมโรค ได้แก่
1. กลุ่มโรคติดต่อของระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ โรคอุจารระร่วงเฉียบพลัน บิด ไทฟอยด์ อาหารเป็นพิษ ตับอักเสบ 
2. กลุ่มโรคติดเชื้อทางบาดแผลหรือเยื่อบุผิวหนังที่พบบ่อย คือ โรคเลปโตสไปโรซิส หรือโรคฉี่หนู อาการเด่นคือ ไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศรีษะ และตาแดง
3. กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ ที่พบบ่อย ได้แก่ โรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ คออักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบหรือปอดบวม อาการเริ่มจากไข้ ไอ หายใจเร็วหรือหอบเหนื่อย
4. กลุ่มโรคติดต่อที่เกิดจากยุง ที่สำคัญ 3 โรค ได้แก่ ไข้เลือดออก มียุงลายเป็นพาหะนำโรค  ไข้สมองอักเสบจี(japanese Encephalitis) โรคมาลาเรีย มียุงก้นปล่องเป็นพาหะนำโรค
5. โรคเยื่อบุตาอักเสบหรือโรคตาแดง ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในน้ำสกปรกกระเด็นเข้าตา
 ขอบคุณข่าวจากหนังสือพิมพ์มติชน อ่านรายละเอียด  คลิก

เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์พื้นฐานชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  เรื่อง ทฤษฎีเซต 

ทฤษฏีเซต Set  อ่านเพิ่มเติม 
 ความหมายของเซต
 1. เซต  เป็นคำที่ใช้บ่งบอกถึงกลุ่มของสิ่งต่าง ๆ และเมื่อกล่าวถึงกลุ่มใดแล้ว  สามารถทราบได้แน่นอนว่าสิ่งใดอยู่ในกลุ่มและสิ่งใดไม่อยู่ในกลุ่ม  เช่น
  เซตของสระในภาษาอังกฤษ  หมายถึง  กลุ่มของอักษร  a, e, i,  o  และ  u
  เซตของจำนวนนับที่น้อยกว่า  10  หมายถึง  กลุ่มของตัวเลข  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8  และ 9
  สิ่งที่อยู่ในเซต  เรียกว่า  สมาชิก  (element  หรือ  members)
 2. การเขียนเซต  การเขียนเซตอาจเขียนได้สองแบบ  คือ
  2.1 การเขียนเซตแบบแจกแจงสมาชิก  (Tabular From)  โดยเขียนสมาชิกทุกตัวของเซตลงในเครื่องหมายวงเล็บปีกกา และใช้เครื่องหมายจุลภาค ( , )  คั่นระหว่างสมาชิกแต่ละตัว  เช่น
             เซตของจำนวนนับที่น้อยกว่า  7  เขียนแทนด้วย  {1, 2, 3, 4, 5, 6}
             เซตของพยัญชนะไทย  5  ตัวแรก  เขียนแทนด้วย  {ก, ข, ฃ, ค, ฅ}
             เซตของจำนวนคู่ตั้งแต่  2  ถึง  10  เขียนแทนด้วย  {2, 4, 6, 8, 10}
  2.2 เขียนเซตแบบบอกเงื่อนไข  (Builder Form)  ใช้ตัวแปรเขียนแทนสมาชิกของเซต  แล้วบรรยายสมบัติของสมาชิกที่อยู่ในรูปของตัวแปร  เช่น
                 {x |  x  เป็นสระในภาษาอังกฤษ } อ่านว่า  เซตของ  x  โดยที่  x  เป็นสระในภาษาอังกฤษ
              {x |  x  เป็นเดือนแรกและเดือนสุดท้ายของปี } อ่านว่า  เซตของ  x  โดยที่  x  เป็นเดือนแรกและเดือนสุดท้ายของปี
     เครื่องหมาย  “ |  ”   แทนคำว่า  โดยที่
          ในการเขียนเซตแบบแจกแจงสมาชิกนั้นจะใช้จุดสามจุด  ( . . . )  เพื่อแสดงว่ามีสมาชิกอื่น ๆ  ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันทั่วไปว่ามีอะไรบ้างที่อยู่ในเซต  เช่น
   {1, 2, 3, . . ., 10}   สัญลักษณ์ . . .  แสดงว่ามี  4, 5, 6, 7, 8  และ  9  เป็นสมาชิกของเซต
   {วันจันทร์, อังคาร, พุธ, . . ., อาทิตย์ }   สัญลักษณ์  . . .  แสดงว่ามีวันพฤหัสบดี    วันศุกร์  และวันเสาร์  เป็นสมาชิกของเซต
 3. สัญลักษณ์แทนเซต
  ในการเขียนเซตโดยทั่วไปจะแทนเซตด้วยอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่  เช่น  A, B, C  และแทนสมาชิกของเซตด้วยตัวพิมพ์เล็ก  เช่น  a, b, c  เช่น
A   =   {1, 4, 9, 16, 25, 36}  หมายถึง  A  เป็นเซตของกำลังสองของจำนวนนับหกจำนวนแรก
 4. สมาชิกของเซต     จะใช้สัญลักษณ์  “ ? ”  แทนคำว่าเป็นสมาชิกหรืออยู่ใน  เช่น    
A   =   {1, 2, 3, 4}   จะได้ว่า    1  เป็นสมาชิกของ  A  หรืออยู่ใน  A   เขียนแทนด้วย  1 ? A      และ   3  เป็นสมาชิกของ  A  หรืออยู่ใน  A   เขียนแทนด้วย  3 ? A
                 คำว่า  “ไม่เป็นสมาชิกของ”  หรือ  “ไม่อยู่ใน”  เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์  “ ? ”  เช่น   5  ไม่เป็นสมาชิกของ  A  หรือไม่อยู่ใน  A  เขียนแทนด้วย  5 ? A
    7  ไม่เป็นสมาชิกของ  A  หรือไม่อยู่ใน  A  เขียนแทนด้วย  7 ? A
 สำหรับเซต  A  ซึ่งมีสมาชิก  4  ตัว  เราจะใช้  n(A)  เพื่อบอกจำนวนสมาชิกของเซต  A  นั่นคือ    n(A)   =    4

 ตัวอย่างที่  1 จงเขียนเซตต่อไปนี้แบบแจกแจงสมาชิก
   1.  เซตของจังหวัดในประเทศไทยที่ลงท้ายด้วยบุรี
   2.  เซตของจำนวนเต็มลบ
   3.  เซตของพยัญชนะในภาษาไทย
  วิธีทำ 1)    ให้  A  เป็นเซตของจังหวัดในประเทศไทยที่ลงท้ายด้วยบุรี
     ?  A   =   {สุพรรณบุรี,  ปราจีนบุรี,  สิงห์บุรี,  ลพบุรี}
          2) ให้  B  เป็นเซตของจำนวนเต็มลบ
     ?  B   =   {-1, -2, -3, . . .}
          3) ให้  C  เป็นเซตของพยัญชนะในภาษาไทย
     ?  C   =   {ก, ข, ค, . . ., ฮ}

 ตัวอย่างที่  2 จงเขียนเซตต่อไปนี้แบบบอกเงื่อนไขของสมาชิก
   1. A   =   {2, 4, 6, 8, 10}
   2.  B   =   {1, 3, 5, 7}
  วิธีทำ 1) A   =   {x |  x  เป็นจำนวนคู่บวกที่น้อยกว่า  12}
          2) B   =   {x |  x  เป็นจำนวนคี่บวกที่น้อยกว่า  9}

ข้อมูลหายอีกแล้วไฟตกคืนพรุ่งนี้มาเติมให้นะคะ
 

 ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=761

อัพเดทล่าสุด