ในสภาวะเศรษฐกิจยำแย่ คนมีรายได้น้อย คิดไม่ถึง วิเคราะห์ไม่ได้ ต้องตกเป็นทาสเจ้าหนี้หน้าเลือด.................
ภัยร้ายจากหมวกกันน๊อก......คณิตศาสตร์ช่วยได้
ในสภาวะเศรษฐกิจยำแย่ คนมีรายได้น้อย คิดไม่ถึง วิเคราะห์ไม่ได้ ต้องตกเป็นทาสเจ้าหนี้หน้าเลือด.................
ในสภาวะเศรษฐกิจยำแย่ ทำให้ผู้ปกครองนักเรียนของโรงเรียนอนุบาลสรรคบุรี ได้รับผลกระทบ รายได้ไม่พอกับรายจ่าย ส่วนใหญ่จะเป็นพ่อค้าแม่ค้า มีรายได้น้อย ในตลาดที่ไม่มีเงินลงทุน ก็จะกู้เงินนอกระบบ ได้ง่าย ส่งทุกวัน เพียงยึดบัตรประชาชน ทำหลายคนต้องตกเป็นทาสเงินกู้โดยเสียดอกเบี้ยร้อยละ 20 ต่อวัน กู้เงิน 100 บาท ต้องส่งเงินวันละ 120 บาท บางคนไม่มีเงินส่งหลายครั้งจะถูกข่มขู่ ทุบตี ทำร้าย บางครอบครัวต้องหนีไปอยู่ที่อื่นทิ้งปัญหามากมายไว้ให้คนข้างหลัง ผู้ปกครองบางคนคิดไม่ถึงว่าดอกเบี้ยมันแพงมาก ไได้เงินมา 100 บาท เหมือนได้เงินเพียง 80 บาท ถ้าคิดดอกเบี้ยเป็นเดือนเป็นปีจะเสียเท่าไร
ตัวอย่างโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ดอกเบี้ย ร้อยละ
พ่อเด็กหญิงฟ้าขายไส้กรอกกู้เงินหมวกกันน๊อก (ขี่มอเตอร์ใส่หมวกกันน๊อกเก็บเงิน )กู้เงินจำนวน 3,000 บาท ต้องส่งเงินทุกวันวันละ 360 บาทเป็นเวลา 20 วัน เสียดอกเบี้ยเป็นเงินเท่าไร เสียดอกเบี้ยร้อยละ/เดือน
วิธีคิด
โจทย์กำหนด
1. พ่อเด็กหญิงฟ้ากู้เงิน 3,000 บาท
2. ส่งเงินวันละ 360 บาท
3. เป็นเวลา 20 วัน
โจทย์ถาม
1. เสียดอกเบี้ยเป็นจำนวนเงินเท่าไร
2. เสียดอกเบี้ยร้อยละเท่าไรต่อเดือน
หาคำตอบ ใช้วิธีคูณ ลบ และหาร้อยละ/เดือน
ประโยคสัญลักษณ์
(360 X 20 ) - 3,000 = 4,200
นำดอกเบี้ยทั้งหมดไปหาค่าร้อยละต่อเดือน
4200 ÷ 20 = 210
นำมาคูณจำนวนวันทั้งเดือน 210 ×30 = 6300 บาท/เดือน
เงินกู้ 3,000 บาท เสียดอกเบี้ย 6,300 บาท
เงินกู้ 100 บาท เสียดอกเบี้ย ( 6,300 ×100 ) ÷ 3000 = 210
ดอกเบี้ยร้อยละ 210 บาท /เดือน
เนื้อหาคณิตศาสตร์ วิเคราะห์โจทย์ปัญหา คิดคำนวณ หาค่าร้อยละ
บูรณาการ สังคม ครอบครัว เศรษฐกิจพอเพียง
การจัดรายจ่ายรายรับ
ประเด็นคำถาม
1. กู้เงิน3000 บาท เป็นเวลา 20 วัน
ต้องเสียดอกเบี้ย 4,200 บาท
2. ต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละ 210 บาท/เดือน
3. เงินกู้ 3000 บาท ต้องเสียดอกเบี้ย 6300 บาท
ต่อเดือน
ข้อเสนอแนะ
1. ให้นักเรียนคิดคำนวณในจำนวนที่แตกต่าง
2. ให้คิดดอกเบี้ยเป็นปี
จัดทำโดย
นางบุญส่ง ใหญ่โต ครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนอนุบาลสรรคบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยนาท
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=870