คณิตศาสตร์กับการทำนาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง


1,846 ผู้ชม


วิธีการทำนาแบบดั้งเดิมเป็นการอนุรักษ์สืบทอดประเพณีไถนา ดำนา ส่งเสริมผลิตข้าวแบบอินทรีย์ เลี้ยงกระบือไว้ใช้ไถนา ใช้ประเพณีลงแขกดำนาไม่ต้องจ้าง เพื่อสืบทอดภูมิปัญญาไว้ให้คนรุ่นใหม่ เป็นวิธีการทำนาที่ดีอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เพื่อลดต   

                     คณิตศาสตร์กับการทำนาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง 

                              วังน้ำเย็นจัดประเพณีไถนาฯ ลดต้นทุน

             ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้วเป็นประธาน ในพิธีประเพณีไถนา ดำนา แปลงสาธิตปลูกข้าวอินทรีย์ ครั้งที่ 2 ของ อ.วังน้ำเย็น เพื่อลดต้นทุน และอนุรักษ์ประเพณีดำนา แบบดั้งเดิม

คณิตศาสตร์กับการทำนาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง      

ที่มาของภาพ  https://www.goosiam.com/news/news1/admin/my_

        โดยนายสิทธิชัย กล่าวว่า อ.วังน้ำเย็นได้จัดพิธีประเพณีไถนา ดำนา แปลงสาธิตปลูกข้าวอินทรีย์ ครั้งที่ 2 โดยมีพื้นที่ปลูกข้าว ประมาณ 23,000 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นข้าวขาวดอกมะลิ 105 เกษตรกรปลูกข้าวรายละ 10-20 ไร่ ซึ่งไม่มาก และเหมาะสมที่จะใช้แรงงานจากกระบือได้ โดยปัจจุบัน ได้เน้นการไถนา ด้วยแรงงานกระบือ ลงแขกดำนาร่วมกัน แข่งขันโปโลเลน แข่งขันดำนา ประเภทบุคคล แข่งขันดำนา ส่งเสริมการผลิตข้าวแบบอินทรีย์ อนุรักษ์ประเพณีดำนาแบบดั้งเดิมไว้ ส่งเสริมการเลี้ยงกระบือ ไว้ใช้แรงงานให้มากขึ้น เพื่อสืบทอดภูมิปัญญาสู่ชาวนารุ่นใหม่ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าว ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลัก

        ด้านผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว กล่าวว่า กลุ่มเกษตรกรทำนาได้สืบทอดประเพณีไถนา ดำนา มาโดยตลอด และปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่ราชการส่งเสริมเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่พื้นที่ทำนาแต่ละครอบครัวก็ไม่มาก เหมาะสมที่จะใช้แรงงานกระบือไถนา เพื่ออนุรักษ์ทำนาแบบดั้งเดิมไว้  (  จากหนังสือไทยรัฐ  ฉบับวันที่  1 มิ.ย.2552  )

       วิธีการทำนาแบบดั้งเดิมเป็นการอนุรักษ์สืบทอดประเพณีไถนา  ดำนา  ส่งเสริมผลิตข้าวแบบอินทรีย์  เลี้ยงกระบือไว้ใช้ไถนา  ใช้ประเพณีลงแขกดำนาไม่ต้องจ้าง  เพื่อสืบทอดภูมิปัญญาไว้ให้คนรุ่นใหม่  เป็นวิธีการทำนาที่ดีอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  และสิ่งแวดล้อม  เพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าว  ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

       จากหัวข้อข่าวนำเนื้อหามาเรียนคณิตศาสตร์เกี่ยวกับการลงทุน - กำไร  การประมาณค่า

        ประเด็นสำคัญ

               การทำนาในการลดต้นทุนในการผลิตโดยใช้กระบือไถนาแทนในพื้นที่  23,000  ไร่
               ถ้าเราใช้รถไถนารับจ้างไร่ละ      500  บาทคิดเป็นเงิน   23,000 X 500    เป็นเงินเท่าไร

               ถ้าเรามีรถไถนาใช้เองเราต้องใช้นำมันไร่ละ  1  ลิตร  คิดเป็นนำมัน  23,000  ลิตรในราคาลิตรละ  24  บาท  คิดเป็นเงินเท่าไร

               การใช้รถไถนาก็ทำลายสิ่งแวดล้อมเขม่าควันจากรถไถนา 

               การใช้ปุ๋ยอินทรีย์   ที่ทำจากมูลสัตว์เลี้ยง  โดยไม่ต้องลงทุน

               ปุ๋ยเคมีราคาลูกละ   1400  บาท

               การทำนาแบบวิธีดั้งเดิมลดทุนคิดเป็นเงินไม่ใช่น้อย   ลงทุนน้อย ได้กำไรมาก

        บรูณาการ  การประกอบอาชีพทำนาแบบดั้งเดิมกลุ่มสาระสังคม  ในการสืบทอดภูมิปัญญา  อนุรักษ์วิธีการทำนาแบบดั้งเดิม   การลดมลภาวะโลกร้อน กับกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์  ศิลปะ  วาดรูปวิธีทำนาแบบดั้งเดิม

         ประเด็นคำถาม
               1.  การทำนาแบบดั้งเดิมลดต้นทุนการผลิตได้เป็นจำนวนเท่าไร

               2.  การทำนาแบบดั้งเดิมเปรียบเทียบวิธีการทำนาสมัยใหม่ลดค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนเท่าไร

               3.  วิธีการทำนาแบบดั้งเดิมมีผลดีอย่างไรบ้าง

              4.  ปุ๋ยอินทรีย์คืออะไร 

         ข้อเสนอแนะ

             ควรนำไปสอนในกลุ่มสาระอื่นๆ  เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิตตามแนวเศรษฐกิจ
พอเพียง   อนุรักษ์ประเพณีการทำนาแบบดั้งเดิม  ลดภาวะโลกร้อน

จัดทำโดย  นางบุญส่ง  ใหญ่โต  ครูชำนาญการพิเศษ  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยนาท

                 

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1076

อัพเดทล่าสุด