บอกซิเออ..ไม่อ้วนเอาเท่าไร...ข่าวดีของคนอ้วน..คณิตศาสตร์เราช่วยคุณได้ด้วยการคำนวณมวลดัชนีมวลกายของคุณ..(อ้วนไปหรือปล่าวนะ) จากคำกล่าวของนักเรียนคนหนึ่ง....พูดกับครูด้วยสีหน้าเศร้า ๆ กับคำถามที่ว่า "คุณครูขาหนูอ้วนไปหรือปล่าวคะ" นี่เป็นที่มาของเสี้ยวหนึ่งที่ต้องการนำมาเสนอข่าวของสาระคณิตศาสตร์ที่ช่วยให้คำตอบของลูกศิษย์ได้อย่างดี เมื่อครูได้พบข่าว..สาระ...เกี่ยวกับความอ้วน..ที่หลากหลาย...ต่าง ๆ นานา....กับคำถาม นา นา จิ ปา ถะ.... "อ้วนไปหรือปล่าวคะ" parrot. มีคู่-มีพุง-อยู่กินกันนาน ๆ จะอ้วนไปด้วยกัน แต่ไฉนรูปร่างอวบตอนหลังกลับยืดอายุให้ยืนได้ บอกซิเออ..ไม่อ้วนเอาเท่าไร...ข่าวดีของคนอ้วน..คณิตศาสตร์เราช่วยคุณได้ด้วยการคำนวณมวลดัชนีมวลกายของคุณ..(อ้วนไปหรือปล่าวนะ) จากข่าวที่ปรากฎในหน้าหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับหนึ่ง กล่าวว่า "คู่ชายหญิงที่อยู่กินร่วมกันไปนาน ๆ จะอ้วนไปด้วยกัน" และจากวารสารโอเบซิตี ซึ่งเป็นวารสารวิชาการเกี่ยวกับความอ้วน รายงานการวิจัยของเพนนี กอร์ดอน-ลาร์เซน แห่งมหาวิทยาลัยนอร์ธแคโรไลนา ในสหรัฐอเมริกา พบว่า การแต่งงานหรือการอยู่ร่วมกันนั้น ทำให้คนเรามีโอกาสอ้วนเพิ่มขึ้นถึงสองเท่า เพราะมีการปรับพฤติกรรมที่ส่งผลต่อน้ำหนัก อย่างการทำกับข้าวกินด้วยกันเป็นมื้อใหญ่ หรือว่าออกไปกินข้าวนอกบ้านกันบ่อยขึ้น กินเนื้อย่างเกาหลีจิ้มจุ่มเปลี่ยนบรรยากาศกันบ่อยขึ้นกว่าสมัยยังโสดอยู่ ทั้งยังมีเวลานั่ง นอน ดูทีวีด้วยกันมากกว่าการชวนกันออกไปวิ่งออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา.. คงจะมีโอกาสมากไม่น้อยที่ทำให้คนมีคู่...มีพุงตามมา..ที่เราชอบเรียกกันว่าเฮีย..ต่อไปก็เสี่ย...หรือมหาเฮีย..มหาเสี่ย...ซึ่งส่วนใหญ่มีพุงโต ๆ กันทั้งนั้น... รายละเอียดของข่าว คู่ชายหญิงที่แต่งงานหรืออยู่กินด้วยกัน จะมีโอกาสกลายเป็นคนอ้วนด้วยกัน ยิ่งกว่าต่างคนต่างอยู่ถึง 2 เท่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิชาโภชนาการ อาจารย์เพนนี้ กอร์ดอน-ลาร์เสน มหาวิทยาลัยนอร์ธ แคโรไลนาแห่งสหรัฐอเมริกากล่าวบอกไว้ว่า "คู่ชายหญิงที่อยู่กินด้วยกัน มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีก็คือ หากเป็นผู้ติดบุหรี่ก็จะสูบน้อยลง ทำให้มีอัตราการเสียชีวิตน้อยลง ข้อเสียก็คือ จะมีโอกาสอ้วนขึ้น ยิ่งอยู่กินด้วยกันนาน ๆ นานไปเท่าไรก็จะอ้วนขึ้นเท่านั้น "เราพบวี่แววว่าทั้งคู่จะยิ่งมีน้ำหนักตัวมากขึ้น และเสี่ยงกับเป็นโรคอ้วนมากยิ่งกว่าคนอื่น" อาจารย์เพนนีบอกต่อไปว่า"สาเหตุของความอ้วนไม่ใช่เพราะอายุ หากอยู่ที่พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของคนที่อยู่กินด้วยกัน ก็จะกินด้วยกัน หุงหาอาหารมากขึ้น หรือไม่ก็ชวนกันออกไปกินนอกบ้านบ่อยขึ้น มากกว่าตอนที่เป็นโสด นอกจากนั้นยังอาจจะนั่ง นอน ดูทีวี ฟังเพลงด้วยกัน มากกว่าจะพากันเข้าไปสถานฟิตเนสหรือเล่นกีฬากัน แต่ไม่นานมานี้เองมีข่าวดีของคนอ้วนออกมาแล้วว่า....คนที่รูปร่างอวบตอนหลังจะกลับยืดอายุให้ยืนขึ้น เพิ่งจะมีข่าวดีเข้ามาบ้างจากกระทรวงสุขภาพอนามัย แรงงานและสวัสดิการเมืองอาทิตย์อุทัย ที่พบว่า ผู้ที่เพิ่งมาอ้วนเอาตอนอายุ 40 ปีไปแล้วจะมีอายุยืน โดยเฉลี่ยยิ่งกว่าผู้ที่มีรูปร่างรูปทรงอื่น ตามข่าวของหนังสือพิมพ์รายวัน "เดอะ ซิดนีย์ มอร์นิ่งเฮรัลด์" ของเมืองจิงโจ้ กล่าวว่า คณะนักวิจัยได้ลงความเห็นหลังจากศึกษาจากผู้คน อายุ 40 ปีขึ้นไป จำนวนประมาณ 5 หมื่นคน มาเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 12 ปี พบว่า คนผอมจะมีอายุขัยสั้นที่สุด เฉลี่ยแล้วจะตายเร็วกว่าคนอ้วนระหว่าง 6-7 ปี นักวิจัยได้ศึกษา โดยดูถึงรูปร่างในอดีตและมีอายุเกิน 40 ปีมานานเท่าไหร่ จะจัดแบ่งกลุ่มตามดัชนีมวลกาย เป็นสิ่งชี้บอกความอ้วนเท่าไร เนื้อหาสาระวิชาคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ดัชนีมวลกาย เป็นสูตรคำนวณความอ้วนตามหลักสากลนิยม ใช้น้ำหนักตัว เป็นกิโลกรัม หารด้วยความสูง เป็นเมตร ยกกำลังสอง ผลลัพธ์(เกิน 30 ถือว่า อ้วน) น้อยกว่านั้น (18.5-23) ถือว่าเป็นปกติ (ต่ำกว่า 20 ถือว่า ผอม) สรุปจากข่าวได้ว่า ผลการศึกษาที่นักวิจัยได้ทำการศึกษาไว้ พบว่า ชายหญิงที่จัดว่าอ้วนเกินไป มีดัชนีมวลกายเกิน 30 ขึ้นไป จะมีอายุต่อไปได้อีก 39.41 ปี และ 46.02 ปี ตามลำดับ แต่สำหรับผู้ชายที่ผอม มีดัชนีมวลกายต่ำกว่า 18.5 จะมีอายุต่อไปได้อีก 34.54 ปี และผู้หญิงอยู่ได้อีก 41.79 ปี ส่วนสาเหตุที่คนอ้วนกลับเป็นผลดีนั้น รายงานอ้างว่าอาจจะเป็นเพราะคนผอมหลายคนชอบสูบบุหรี่และคนที่ผอมมักจะติดโรคได้ง่ายอยู่แล้ว แต่ความเกี่ยวพันของเรือนร่างกับอายุขัยนั้นอาจจะยังไม่ชัดแจ้งกันนัก เนื้อหาสาระสำคัญ ความอ้วนเป็นภาวะที่มีการสะสมไขมันตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมากกว่าปกติ (ปกติร่างกายมีไขมันสะสมประมาณร้อยละ 20 ) ความอ้วนเป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด ถ้าปล่อยให้ร่างกายอ้วนหรือน้ำหนักเกินไปก็จะมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคต่าง ๆ เช่น ข้อกระดูกเสื่อม ทำให้ปวดเข่า ปวดสะโพก ระบบหายใจขัดข้อง ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง และอีกหลาย ๆ โรคที่เป็นอันตรายและบั่นทอนสุขภาพลงไปเรื่อย ๆ ดังนั้น จึงมีการคำนวณหาดัชนีบ่งชี้เพื่อประเมินความอ้วนโดยการใช้อัตราส่วนช่วย ดังนี้ ดัชนีมวลกาย = (น้ำหนักเป็นกิโลกรัม) / (ส่วนสูงเป็นเมตร)(ส่วนสูงเป็นเมตร) หน่วยวัดความยาว 100 เซนติเมตร เท่ากับ 1 เมตร ประเด็นคำถามในห้องเรียน ถ้าคุณครูสมทรง สวยสมชื่อ มีน้ำหนัก47 กิโลกรัม สูง 155 เซนติเมตร หรือ 1.55 เมตร จะมีดัชนีมวลกายเท่าไร อ้วนไปหรือปล่าว ดัชนีมวลกาย = 47/(1.55)(1.55) = 47/2.4025 ~ 19.56/1 เนื่องจากเรานิยมเขียนเฉพาะจำนวนแรกของอัตราส่วนที่เป็นดัชนีมวลกาย ดังนั้น มวลกายของคุณครูสมทรงประมาณ 19.56 เนื้อหาสาระเพิ่มเติม ดัชนีมวลกาย มีผลต่อสุขภาพ ดังข้อมูลต่อไปนี้ ดัชนีมวลกาย | สภาวะความอ้วน | ความเสี่ยงต่อการเป็นโรค ต่ำกว่า 18.5 | น้ำหนักน้อยหรือผอม | ปานกลาง - สูง 18.5 - 24.9 | น้ำหนักพอเหมาะ | ปกติ - ต่ำ 25.0 - 29.9 | น้ำหนักมากเกินไป | เพิ่มขึ้นจากปกติ 30.0 - 34.9 | อ้วน | ปานกลาง มากกว่า 35.0 | อ้วนมาก | รุนแรง - รุนแรงมาก เมื่อเทียบดัชนีมวลกายกับข้อมูลข้างต้นแล้วจะพบว่า คุณครูสมทรงมีน้ำหนักพอเหมาะ ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอยู่ในเกณฑ์ปกติถึงต่ำ กิจกรรมฝึกทักษะจากสาระที่นำเสนอ ให้นักเรียนชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงของนักเรียนเอง แล้วนำมาหาดัชนีมวลกาย พร้อมทั้งนำมาเปรียบเทียบหาสภาวะความอ้วนและตรวจสอบดูความเสี่ยงต่อการเป็นโรค บูรณาการกับสาระต่าง ๆ ดังนี้ 1. สาระการเรียนรู้สุขศึกษา พลานามัย อ้าง อิงแหล่งที่มาของข้อมูลและภาพประกอบ 1. หนังสือพิมพ์รายวัน เดอะ ซิดนีย์ มอร์นิ่ง เฮรัลด์ 2.หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับประจำเดือนมิถุนายน 3. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์พื้นฐาน สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ 4. https://www.google.co.th/images?q=tbn:djZ0eHTyKyZcmM::i35.tinypic.com/2uhn5zc.jpg 5. https://www.google.co.th/images?q=tbn:M5J7b5G4i39TOM::gotoknow.org/file/shantrakul/%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25AD%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%2599.jpg parrot. ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1099 |