การแพร่ระบาดของไข้หวัด 2009 … กับการนำเสนอข้อมูลสถิติ (Statistical Presentation)


630 ผู้ชม


ฮีโร่-เด็กนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ "ฮีโร่พันธุ์ใหม่… ใส่ใจสวมหน้ากากอนามัย" กำลังอธิบายการใช้หน้ากากอนามัยอย่างถูกต้องให้กับประชาชน   

การแพร่ระบาดของไข้หวัด 2009 … กับการนำเสนอข้อมูลสถิติ (Statistical Presentation)

 การแพร่ระบาดของไข้หวัด 2009 … กับการนำเสนอข้อมูลสถิติ (Statistical Presentation)

ฮีโร่-เด็กนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ "ฮีโร่พันธุ์ใหม่… ใส่ใจสวมหน้ากากอนามัย" กำลังอธิบายการใช้หน้ากากอนามัยอย่างถูกต้องให้กับประชาชนที่มาใช้บริการในปั้มน้ำมันบางจาก
 
เด็กนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ " ฮีโร่พันธุ์ใหม่..ใส่ใจสวมหน้ากากอนามัย " กำลังอธิบายการใช้หน้ากากอนามัยอย่างถูกต้องให้กับประชาชนที่มาใช้บริการในปั้มน้ำมันบางจาก ตามความร่วมมือของภาครัฐ เอกชน ร่วมพลังรณรงค์ผู้ป่วยหยุดเชื้อหวัดสวมหน้ากากอนามัยให้ถูกวิธี เพื่อหยุดการแพร่ระบาดของไข้หวัด 2009

เนื้อหาคณิตศาสตร์

การแพร่ระบาดของไข้หวัด 2009 … กับการนำเสนอข้อมูลสถิติ (Statistical Presentation)ความหมายของสถิติ    
สถิติมีความหมาย 2 อย่างคือ
1. หมายถึง ตัวเลขหรือกลุ่มของตัวเลขที่แสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องหนึ่งเรื่องใดเช่นสถิติเกี่ยวกับปริมานน้ำฝน สถิติการเกิดอัคคีภัย เป็นต้น
2. หมายถึง วิชาที่เป็นทั้งวิทยาศาสตร์และศิลปะ ว่าด้วยกาศึกษาที่เกี่ยวกับข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย
    การเก็บรวบรวมข้อมูล ( collection of date)
    การนำเสนอข้อมูล( presentation of date)
    การวิเคราะห์ข้อมูล (analysis of date)
    การความหมายข้อมูล (interpretation of data ) 
ในความหมายที่สอง หมายถึง วิธีการที่เริ่มต้นตั้งแต่การเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งมีหลายวิธีเพราะต้องเก็บข้อมูลที่ถูกต้อง เหมาะสม ถ้าได้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือไม่เหมาะสมข้อมูลเหล่านี้ย่อมใช้ไม่ได้ หรือใช้ได้แต่เพียงส่วนน้อยข้อมูลที่เก็บรวบรวมมา จำเป็นจะต้องมีการนำมาจัดใหม่ให้ดูง่ายหรือเป็นระเบียบ การจัดข้อมูลใหม่อาจใช้ตาราง กราฟ หรือรูปภาพขั้นตอนนี้เรียกว่าการนำเสนอข้อมูล

สถิติเบื้องต้น
ข้อมูลสถิติหรือข้อมูล  หมายถึง  ข้อเท็จจริงของเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เราสนใจจะศึกษา  ซึ่งอาจจะเป็นตัวเลขหรือข้อความก็ได้
   - จำนวนคนที่เป็นโรคหัวใจในแต่ละเดือน
   - ปริมาณการส่งออกข้าวของประเทศไทยในปีนี้เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว

การจำแนกข้อมูล
1.  ข้อมูลที่จำแนกตามลักษณะของข้อมูล  แบ่งเป็น  2  ประเภท
    1.1  ข้อมูลเชิงปริมาณ  คือข้อมูลที่ใช้แทนขนาดหรือปริมาณวัดออกมาเป็นค่าตัวเลขที่สามารถนำมาใช้เปรียบเทียบขนาดได้โดยตรง
    1.2  ข้อมูลเชิงคุณภาพ  คือข้อมูลที่ไม่สามารถวัดออกมาเป็นค่าตัวเลขโดยตรงได้  แต่วัดออกมาในเชิงคุณภาพได้  เช่น  เพศของสมาชิกในครอบครัว  ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลประเภทนี้  ส่วนใหญ่ทำโดยการนับจำนวนจำแนกตามลักษณะเชิงคุณภาพ
2.  ข้อมูลจำแนกตามวิธีการเก็บรวบรวม
    2.1  ข้อมูลปฐมภูมิ  คือ  ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมจากผู้ที่ให้ข้อมูลหรือแหล่งที่มาโดยตรง
           2.1.1  การสำมะโน  คือ  การเก็บรวบรวมข้อมูลจากทุกหน่วยของประชากรที่ต้องการศึกษา
           2.1.2  การสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง  คือ  การเก็บรวบรวมข้อมูลที่ประกอบด้วยตัวแทนจากทุกลักษณะของประชากรที่ต้องการศึกษา

ในทางปฏิบัติ  ไม่ว่าจะทำการสำมะโนหรือการสำรวจ  นิยมปฏิบัติอยู่  5  วิธี  คือการแพร่ระบาดของไข้หวัด 2009 … กับการนำเสนอข้อมูลสถิติ (Statistical Presentation)
   1.  การสัมภาษณ์  นิยมใช้กันมาก  เพราะจะได้คำตอบทันที  นอกจากนี้หากผู้ตอบไม่เข้าใจก็สามารถอธิบายเพิ่มเติมได้  แต่ผู้สัมภาษณ์ต้องซื่อสัตย์  และเข้าใจจุดมุ่งหมายของการเก็บข้อมูลอย่างแท้จริง
   2.  การแจกแบบสอบถาม  วิธีนี้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายมาก  สะดวกและสบายใจต่อการตอบแบบสอบถาม  แต่ก็มีข้อเสียหลายประการ  เช่น  ต้องใช้ในเฉพาะผู้ที่มีการศึกษา  มีไปรษณีย์ไปถึง  คำถามต้องชัดเจน  อาจจะไม่ได้รับคืนตามเวลาหรือจำนวนที่ต้องการ  จึงต้องส่งแบบสอบถามออกไปเป็นจำนวนมากๆ  หรือไปแจกและเก็บด้วยตนเอง
   3.การสอบถามทางโทรศัพท์  เป็นวิธีที่ง่าย  เสียค่าใช้จ่ายน้อย  ต้องเป็นการสัมภาษณ์อย่างสั้นๆ  ตอบได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาค้นหาหลักฐาน  ใช้ได้เฉพาะส่วนที่มีโทรศัพท์เท่านั้น
   4.  การสังเกต  เป็นข้อมูลที่ได้จากการสังเกตแล้วบันทึกสิ่งที่เราสนใจเอาไว้  ต้องใช้การสังเกตเป็นช่วงๆของเวลาอย่างต่อเนื่องกัน  ข้อมูลจะน่าเชื่อถือได้มากน้อยขึ้นอยู่กับความเข้าใจและความชำนาญของผู้สังเกต  เช่น  ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้บริการต่างๆ  เช่น  บริการรถโดยสาร  การบริการสหกรณ์  ความหนาแน่นของการใช้ถนนสายต่างๆ  เป็นต้น  วิธีนี้นิยมใช้ประกอบกับการเก็บข้อมูลวิธีอื่นๆ
   5.  การทดลอง  เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีการทดลอง  ซึ่งมักจะใช้เวลาในการทดลองนานๆ  ทำซ้ำๆ
     2.2  ข้อมูลทุติยภูมิ  คือ  ข้อมูลที่ต้องเก็บรวบรวมจากผู้ที่ให้ข้อมูล คือแหล่งที่มาโดยตรง  แต่ได้จากข้อมูลที่มีผู้อื่นเก็บรวบรวมไว้แล้ว
3.  วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ

แหล่งที่มาของข้อมูลทุติยภูมิที่สำคัญมีอยู่  2  แหล่ง  คือ
1.  รายงานต่างๆของหน่วยราชการและองค์การของรัฐบาล เช่น  ทะเบียนประวัติบุคลากร  ประวัติคนไข้  ทะเบียนนักเรียนนักศึกษา  เป็นต้น
2.  รายงานและบทความจากหนังสือ  หรือรายงานจากหน่วยงานเอกชน  ซึ่งจะมีการพิมพ์เผยแพร่เฉพาะในส่วนของข้อมูลที่เผยแพร่ได้ในรูปของรายงานต่างๆ

คำถามในห้องเรียน
1. ถ้านักเรียนเป็นผู้นำเสนอข้อมูลนักเรียนคิดว่าควรนำเสนอข้อมูลแบบใดที่เหมาะสมที่สุดกับการแพร่ระบาดของไข้หวัด 2009  มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น  
2. นักเรียนจะทราบได้อย่างไรว่าไข้หวัด 2009 กับไข้หวัดตามฤดูกาล ไข้หวัดใดรุนแรงกว่ากัน

กิจกรรมเสนอแนะ  
1. ถ้านักเรียนได้ข้อมูลมาชุดหนึ่งแล้วนักเรียนจะจัดกระทำอย่างไรกับข้อมูลก่อนการตัดสินใจว่าเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้
2. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำรายงาน เรื่อง ไข้หวัด 2009 พร้อมทั้งนำเสนอรายงานในเวลา 10 นาที (หมายเหตุ มีการประเมินโดย นักเรียนประเมินกลุ่มตนเอง  เพื่อนประเมิน  และประเมินโดยครู)

การแพร่ระบาดของไข้หวัด 2009 … กับการนำเสนอข้อมูลสถิติ (Statistical Presentation)

สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค 5.1 : เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้            
มาตรฐาน ค 5.2 : ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้อย่างสมเหตุสมผล                
มาตรฐาน ค 5.3 :ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหา

                  
สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค 5.1 : เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้            
มาตรฐาน ค 5.2 : ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้อย่างสมเหตุสมผล                
มาตรฐาน ค 5.3 :ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหา

บูรณาการกับสาระอื่น

สาระการเรียนรู้ภาษาไทย 
สาระที่  1 : การอ่าน

มาตรฐาน ท 1.1 ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาและสร้างวิสัยทัศน์และมีนิสัยรักการอ่าน
สาระที่ 2 : การเขียน
มาตรฐาน ท 2.1 ใช้กระบวนการเขียนสื่อสารเขียนเรียงความ ย่อความและเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่าง ๆ เขียนรายงานข้อมูล 
สารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ
สาระที่ 3 : การฟัง  การดูและการพูด
มาตรฐาน ท 3.1 สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ ความรู้สึกในโอกาสต่าง ๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์

การแพร่ระบาดของไข้หวัด 2009 … กับการนำเสนอข้อมูลสถิติ (Statistical Presentation)

สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

สาระที่ 1  ภาษาเพื่อการสื่อสาร
มาตรฐาน ต 1.1     เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ  และแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล
มาตรฐาน ต 1.2     มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แสดงความรู้สึก และความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพ
มาตรฐาน ต 1.3     นำเสนอข้อมูลข่าวสาร  ความคิดรวบยอด  และความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ โดยการพูดและการเขียน

แบบทดสอบ เรื่อง สถิติและการนำเสนอข้อมูล

แบบทดสอบก่อนเรียน - แบบทดสอบก่อนเรียน
https://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/pisamorn_s/pretest.htm

ถาม-ตอบ เรื่อง การนำสถิติใช้ในชีวิตประจำวัน
https://pirun.ku.ac.th/~g4786059/prototype2.html
 

ที่มาของข้อมูล  
มติชนออนไลน์ https://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1247218201&grpid=02&catid=01

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม เรื่อง สถิติ ที่ 
ความหมายของสถิติ    https://www.kanlayanee.ac.th/kn/work2544/40539/kst.html
สถิติ https://www.tutormaths.com/mathapa18.doc
สูตรสถิติ https://www.mathcenter.net/review/review22/review22p01.shtml
สถิติเบื้องต้น https://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/pisamorn_s/sec01p01.html 
การนำเสนอข้อมูล https://it.thanyarat.ac.th/stat/ch2.aspx

https://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5

การนำเสนอข้อมูลสถิติ (Statistical Presentation) 
https://301math.exteen.com/20080116/entry-4

ที่มาของภาพ  
https://women.sanook.com/story_picture/b/55394_002.jpg
https://www.matichon.co.th/online/2009/07/12472182011247218435.jpg

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1200

อัพเดทล่าสุด