สะดืออีสานกับการเรียนรู้เรื่องการวัด


980 ผู้ชม


วิธีการที่เหมาะสมและเป็นวิธีที่น่าเชื่อถือที่สุดคือ หลักการหาจุดศูนย์กลาง (Centroid) ของพื้นที่ โดยการสร้างรูปหลายเหลี่ยม (Polygon) ที่ครอบคลุมพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้เหมาะสมที่สุดแล้วทำการคำนวณหาจุดกึ่งกลางจากพิกัดจุดยอดมุมของรูปหลายเหลี่ยม (Poly   

สะดืออีสานกับการเรียนรู้เรื่องการวัด

สะดืออีสานกับการเรียนรู้เรื่องการวัด

  จังหวัดมหาสารคามว่าเป็น... “สะดืออีสาน”   ในเมื่อเป็นถึง สะดืออีสาน” ทั้งที...เราจะไม่เล็งเห็นความสำคัญของอวัยวะนี้ได้อย่างไร...ก็คุณๆ ลองหลับตานึกภาพดูซี...ถ้าคนเราไม่มีสะดือ...คงดูแปลกพิลึกเชียว!

สะดืออีสานกับการเรียนรู้เรื่องการวัด                                 สะดืออีสานกับการเรียนรู้เรื่องการวัด

หัวข้อข่าว

 ... ตามที่สภาวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม ขอความอนุเคราะห์ให้กำหนดจุดศูนย์กลางทางภูมิศาสตร์ของภาคคะวันออกเฉียงเหนือ โดยระบุพิกัดและวิธีการดำเนินการโดยสังเขป กรมแผนที่ทหารได้ ทำการ ศึกษาและหาวิธีการกำหนดจุดศูนย์กลางดังกล่าว

รายละเอียดของข่าว

ภาคอีสาน เดิมได้รับการเรียกขานจากคนกรุงเทพว่าหัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออก หรือหัวเมืองลาวพุงขาว ต่อมาได้เรียกว่ามณฑลลาวพวน มณฑลลาวกาว มณฑลลาวกลาง ใน พ.ศ.2437 เปลี่ยนมาเรียกว่ามณฑลอุดร มณฑลอีสาน แล้วมาเรียกเป็นมณฑลอุบลราชธานี มณฑลร้อยเอ็ด มณฑลนครราชสีมา จนถึงปี พ.ศ.246 จึงได้รวมกันแล้วเรียกว่า ภาคอีสาน ในอดีตนั้น ดินนแดนบริเวณบริเวณนี้บางส่วนเคยตกอยู่ใต้อิทธิพลทางวัฒนธรรม ของขอม มอญ และลาว มาตามลำคับจนกระทั่งสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ดินแดนนี้จึงตกอยู่ใต้อิทธิพลทางการเมือง ของราชอาณาจักรสยาม

ในมุมมองทางภูมิศาสตร์ เรียกดินแดนนี้ว่า "ที่ราบสูงโคราช" มีชายขอบทางด้านตะวันตก กั้นไว้ด้วยเทือกเขาเพชรบูรณ ์และเทือกเขาดงพะยาไฟ (เย็น) ส่วนทางด้านใต้กั้นไว้ด้วยเทือกเขาพนมดงรัก ทำให้พื้นที่ลาดเอียงไปทางตะวันออก ซึ่งมีแม่น้ำของ (คนกรุงเทพเรียกว่า "แม่น้ำโขง") เป็นแนวเขต ส่วนตอนกลางของภูมิภาคนี้ มีเทือกเขาภูพานพาดผ่าน ทำให้แบ่งดินแดนนี้ออกเป็น 2 แอ่ง คือ ตอนบนเรียก "แอ่งสกลนคร" ตอนล่างเรียกว่า "แอ่งโคราช"สะดืออีสานกับการเรียนรู้เรื่องการวัด

                  หากพิจารณารูปร่างลักษณะของภาคอีสาน จากแผนที่สมัยก่อนๆ ก็จะเห็นรูปร่างผิดแปลกไป จากที่เราเคยเห็นในปัจจุบัน กล่าวคือ แผนที่ของฮอนดิอุส (Hondius) ชาวเบลเยียมเขียนไว้และตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ.1613 (พ.ศ.2156) ก็ดี แผนที่ที่เขียน โดย วิลเล็ม บลาว (Willem Blaeu) ชาวฮอลันดา ที่เขียนขึ้น สมัยพระเจ้าปราสาททอง (พ ศ 2172-2199) ตอนปลายพุทศตวรรษที่ 22 ตลอดจนแผนที่ของโลโปซอเรส (Lopo Soares) ที่ได้รับข้อมูลเพิ่มเติมจากพิแอร์ ฟาน เดอร์อาร์ (Pierre Van Der Aa) ชาวฮอลันดา หรือแผนที่พิมพ์จำหน่ายในลอนดอน ในราวพุทธศตวรรษที่ 23 (ไม่ระบุชื่อผู้เขียน) และแผนที่ที่เขียนโดย เอมานูเอล โบเว่น (Emanuel Bowen) ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 23

แผนที่เหล่านี้ถึงแม้จะไม่เน้นเฉพาะประเทศสยามก็ตาม แต่พอจะบอกได้ว่า การรับรู้ (Preception) ของฝรั่งเหล่านี้ ให้ความสำคัญแก่ดินแดนที่ราบสูงโคราชอย่างผิวเผินมาก เพราะรูปร่างของ ที่ราบสูงโคราชหรืออีสานมีขนาดเล็ก แคบกว่าความเป็นจริงในปัจจุบันมาก เมืองสำคัญมีเพียงโคราช ซึ่งอยู่ใกล้แม่น้ำของ (R.Mecor) เกินไป

จากแผนที่ยุทธศาสตร์ครั้งสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ซึ่งถ้าไม่พิจารณาให้ดีหากดูชื่อคงคิดว่าเป็นสมัยพระเจ้าอู่ทอง แต่ในเนื้อหาสาระจริง กลับเป็นสมัยต้นรัตนโกสินทร์นี่เอง จะเห็นว่าดินแดนแถบน ี้มีเส้นทางมุ่งสุ่พระธาตุพนมและเวียงจันทน์ และเริ่มปรากฎ เมืองสำคัญ เช่น ภูเขียว เชียงคาน “กาลสิน” ขุขัน อุบล ขอนแก่น โคราช และหัวเมืองที่เกี่ยวข้องกับ วิกฤตการณ์ เจ้าอนุวงษ์ ส่วนรูปร่าง ก็ไม่สอดคล้องถับความเป็นจริงนัก กลับไปให้ความสำคัญ แก่แม่น้ำของ (โขง) และแม่น้ำสาย สำคัญอื่น ๆ ถึงกระนั้นก็ให้รายละเอียดมากกว่าแผนที่รุ่นเก่า ๆ ที่ผ่านมา 
แผนที่ประเทศสยามและโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณภาคอีสานได้รับการเขียนขึ้นอย่างถูกหลักวิชาการครั้งแรกในสมัย เจมส์แมคคาถี (James Mc.Carthy) เข้ามาสำรวจและทำแผนที่ในนามราชสำนักสยามในข่วงปี พ.ศ. 2417 นี่เอง

ถึงแม้จะมีแผนที่ประเทศไทย ในมาตราส่วนที่ละเอียดมากขึ้นแล้ว แต่ปัญหาเกี่ยวกับจุดศูนย์กลาง ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสาน หรือที่ราบสูงโคราช ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ บ้างก็บอกว่า อยู่ในเขตจังหัวดร้อยเอ็ด บ้างก็บอกว่าอยู่ในเขตกิ่งอำเภอฆ้องชัยจังหวัดกาฬสินธุ์ แต่เสียงส่วนมาก เท่าที่เคยได้ยินมาคือ จังหวัดมหาสารคาม ทั้งยังระบุว่าอยู่ในเขตอำเภอบรบือ พอมีการแยกบางส่วนมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอกุดรัง ก็มีเสียงหลายกระแสบอกว่า จุดศูนย์กลางภาคอีสาน อยู่ที่อำเภอกุดรัง

 สะดืออีสานกับการเรียนรู้เรื่องการวัด    ด้วยความสงสัยและอยากจะทำให้ความจริงข้อนี้กระจ่าง ทั้งยังได้รับการกระตุ้นจากอธิการบดี สถาบันราชภัฏมหาสารคาม(รศ.ดร.สุวกิจ ศรีปัดถา) ผู้เขียนจึงได้นำเรื่องนี้ ไปหารือกับสภาวัฒนธรรม จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งมีเครือข่ายและสามารถขอความร่วมมือจากหลายฝ่ายได้สะดวก ผศ.ไพฑูรย์ เจริญพันธุวงศ์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัด และคณะกรรมการเห็นด้วย จึงได้เริ่มดำเนินการแต่งตั้ง คณะกรรมการหาจุดศูนย์กลางภาคอีสานทางภูมิศาสตร์ หน่วยงานที่ให้แนวคิดและคำแนะนำมีทั้ง ผศ.บุญเลิศ สดสุชาติ ผศ.ไพบูลย์ หาญไชย จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม อาจารย์รณสิทธิ์ แสงสุวอ จากสถาบันราชภัฏมหาสารคาม โดยเฉพาะผังเมืองจังหวัด คุณประยูร หัตถศาสตร์ และคุณเนาวรัตน์ เคารพ จากการปรึกษาหารือ และใช้วิธีการต่าง ๆ แล้วก็เห็นว่าศูนย์กลางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ในเขตจังหวัดมหาสารคาม แต่เพื่อให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักวิชา และได้รับการยอมรับ โดยทั่วไป คณะกรรมการเห็นว่า น่าจะให้กรมแผนที่ทหาร ซึ่งมีความรู้ความชำนาญ และมีเครื่องมือที่ได้มาตราฐาน ช่วยอนุเคราะห์ดำเนินการตามหลักวิชาการแผนที่ จนกระทั่งวันที่ 2 ธันวาคม 2543 กรมแผนที่ ทหารกองบัญชาการทหารสูงสุด จึงได้มีหนังสือที่ กห 0313/3330 มาถึงประธานสภาวัฒนธรรม จังหวัดมหาสารคาม ความว่า

... ตามที่สภาวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม ขอความอนุเคราะห์ให้กำหนดจุดศูนย์กลางทางภูมิศาสตร์ของภาคคะวันออกเฉียงเหนือ โดยระบุพิกัดและวิธีการดำเนินการโดยสังเขป กรมแผนที่ทหารได้ ทำการ ศึกษาและหาวิธีการกำหนดจุดศูนย์กลางดังกล่าว ดังนี้

1. วิธีการที่เหมาะสมและเป็นวิธีที่น่าเชื่อถือที่สุดคือ หลักการหาจุดศูนย์กลาง (Centroid) ของพื้นที่ โดยการสร้างรูปหลายเหลี่ยม (Polygon) ที่ครอบคลุมพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้เหมาะสมที่สุดแล้วทำการคำนวณหาจุดกึ่งกลางจากพิกัดจุดยอดมุมของรูปหลายเหลี่ยม (Polygon) ระบบพิกัดที่ใช้คำนวณคือ Uinversal Transverse Mercator Grid (UTM), Geodetic Datum คือ Indian 1975 และ Ellipsoid คือ Everest (Indian 1830) 
2. ผลการปฏิบัติพบว่า จุดศูนย์กลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ที่พอกัด Northing 1791706.14m. Easting 294091.9808m. หรือ Latitude 16๐ 11’ 54”.3209 N Longtitude 103๐ 04’ 24” .9818 E จุดนี้อยู่ด้านทิศใต้ของอำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม…

จึงเป็นที่น่าเชื่อถือ “โดยสุจริต” ว่า ศูนย์กลางทางภูมิศาสตร์ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ บริเวณใกล้บึงกูย อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคามอย่างแน่นอน นับจากนี้ไป คงต้องมีงานใหญ่รออยู่ข้างหน้าว่า เมื่อพบศักยภาพของมหาสารคามด้านนี้แล้ว “ผู้คนบ้านนี้ เมืองนี้” จะทำอะไรต่อไป เพื่อให้สมกับคำว่า เมืองนี้คือ “สะดือ” อีสาน

เนื้อหาสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยการวัดพื้นที่ในมาตราไทยเทียบกับระบบเมตริก

             1  ตารางวา  เท่ากับ 4  ตารางเมตรสะดืออีสานกับการเรียนรู้เรื่องการวัด

            1 งาน  เท่ากับ  400  ตารางเมตร

หรือ 1 ไร่   เท่ากับ  1,600  ตารางเมตร

           1  ตารางกิโลเมตร    เท่ากับ  625  ไร่

   *วิธีการที่เหมาะสมและเป็นวิธีที่น่าเชื่อถือที่สุดคือ หลักการหาจุดศูนย์กลาง (Centroid) ของพื้นที่ โดยการสร้างรูปหลายเหลี่ยม (Polygon) ที่ครอบคลุมพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้เหมาะสมที่สุดแล้วทำการคำนวณหาจุดกึ่งกลางจากพิกัดจุดยอดมุมของรูปหลายเหลี่ยม (Polygon) ระบบพิกัดที่ใช้คำนวณคือ Uinversal Transverse Mercator Grid (UTM), Geodetic Datum คือ Indian 1975 และ Ellipsoid คือ Everest (Indian 1830)

ประเด็นคำถามในห้องเรียน

1. สะดืออีสานคืออะไร

2.  ศูนย์กลางทางภูมิศาสตร์ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือที่ใด

3.  จังหวัดนครราชสีมามีพื้นที่ประมาณ 20,500 ตารางกิโลเมตร นับเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศไทย

     จังหวัดสมุทรสงครามมีพื้นที่ประมาณ 417 ตารางกิโลเมตร นับเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่น้อยที่สุดในประเทศไทย

     นักเรียนทราบหรือไม่ว่าจังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุดและน้อยที่สุดมีพื้นที่ต่างกันเท่าไร

กิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้

 ตัวอย่างที่ 1

    พื้นที่ 13.5  ตารางกิโลเมตร  คิดเป็นกี่ตารางเมตร

วิธีทำ 

                      เนื่องจากพื้นที่  1  ตารางกิโลเมตร  เท่ากับ  1,000,000  ตารางเมตร

               ดังนั้น พื้นที่   13.5  ตารางกิโลเมตร    เท่ากับ  13.5 x 1,000,000

                                                          =  1.35 x 10,000,000   ตารางเมตร

ตอบ              1.35 x 107  ตารางเมตรสะดืออีสานกับการเรียนรู้เรื่องการวัด

ขยายความเพิ่มเติมกับประวัติความเป็นมาของจังหวัดมหาสารคาม

           มหาสารคาม เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ใจกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีบรรยากาศเต็มไปด้วยความ

สงบ และเป็นศูนย์กลางทางด้านการศึกษาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงได้ชื่อว่าเป็น ตักศิลาแห่งอีสาน เนื่อง

จากมีสถาบันการศึกษาอยู่มากมายหลายแห่ง อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๔๗๕ กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ

 ๕,๒๙๑ ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น ๑๑ อำเภอ และ ๒ กิ่งอำเภอ คือ

   อำเภอเมืองมหาสารคาม, อำเภอ กันทรวิชัย   , อำเภอโกสุมพิสัย  อำเภอวาปีปทุม   อำเภอบรบือ    อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย

   อำเภอนาเชือก อำเภอ เชียงยืน    อำเภอ นาดูน  อำเภอแกดำ        อำเภอยางสีสุราช  กิ่งอำเภอกุดรังและ  กิ่งอำเภอชื่นชม

อาณาเขต 
                      ทิศเหนือ                          ติดกับจังหวัดกาฬสินธุ์ 
                      ทิศใต้                               ติดกับจังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดบุรีรัมย์ 
                      ทิศตะวันออก                  ติดกับจังหวัดร้อยเอ็ด 
                      ทิศตะวันตก                    ติดกับจังหวัดขอนแก่นสะดืออีสานกับการเรียนรู้เรื่องการวัด

การเดินทาง

                      รถยนต์ส่วนบุคคล  จากกรุงเทพฯเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข ๑ พหลโยธิน) แล้วต่อด้วยทางหลวงหมายเลข ๒ มิตรภาพ) ที่จังหวัดสระบุรี ผ่านจังหวัดนครราชสีมา ทางหลวงหมายเลข ๒๒๖) เข้าจังหวัดบุรีรัมย์ทางหลวงหมายเลข ๒๑๙) ผ่านอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย อำเภอ บรบือ เข้าสู่จังหวัดมหาสารคาม รวมระยะทางประมาณ ๔๗๕ กิโลเมตร  หรือ  จากกรุงเทพฯเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข ๑ พหลโยธิน) แล้วต่อด้วยทางหลวงหมายเลข ๒ มิตรภาพ) ที่จังหวัดสระบุรี ผ่านจังหวัดนครราชสีมาถึงอำเภอบ้านไผ่  จังหวัดขอนแก่น  เลี้ยวขวาไปตามถนนหมายเลข 24  (ถนนแจ้งสนิท) ผ่านอำเภอบรบือ  จังหวัดมหาสารคาม  เข้าสู่ตัวเมืองมหาสารคาม

                      รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารประจำทางทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศบริการวันละหลายเที่ยว รายละเอียดสอบถามได้ที่สถานีเดินรถสายตะวันออกเฉียงเหนือ หมอชิต ๒ โทร. ๙๓๖-๒๘๕๒-๖๖ สำหรับบริษัทเดินรถเอกชนที่วิ่งบริการไปจังหวัดมหาสารคามคือ มงคลทัวร์ โทร. ๐๔๓) ๗๑๑๐๗๒ กรุงเทพฯ โทร. ๙๓๖-๓๖๓๘-๙        และอีกหลายบริษัททั้งที่วิ่งถึงจังหวัดมหาสารคาม  และผ่านอีก  เช่นสายกรุงเทพฯไปอุบลราชธานี     สายกรุงเทพฯไปร้อยเอ็ด   สายกรุงเทพฯไปนครพนม  สายกรุงเทพฯไปสกลนคร หรือสายกรุงเทพฯ ไป จังหวัดกาฬสินธุ์  เป็นต้น

                      สำหรับผู้ที่เดินทางโดยรถไฟ หรือเครื่องบิน จะต้องลงที่จังหวัดขอนแก่น แล้วต่อรถยนต์ไปจังหวัดมหาสารคามอีกประมาณ ๗๒ กิโลเมตร  หรือถ้าไปรถไฟจากกรุงเทพจะลงที่อำเภอบ้านไผ่จังหวัดขอนแก่น  แล้วต่อรถยนต์ประจำทาง   ไปอีกระยะทางประมาณ ทาง  70  กิโลเมตรก็จะถึงตัวจังหวัดมหาสารคาม

ระยะทางจากเทศบาลเมืองมหาสารครมไปยังอำเภอและกิ่งอำเภอต่างๆ

                      อำเภอกันทรวิชัย                            ๑๖  กิโลเมตร

                      อำเภอบรบือ                                   ๒๕  กิโลเมตร

                      อำเภอโกสุมพิสัย                            ๒๘  กิโลเมตร

                      อำเภอแกดำ                                    ๒๘  กิโลเมตรสะดืออีสานกับการเรียนรู้เรื่องการวัด

                      อำเภอวาปีปทุม                              ๔๐  กิโลเมตร

                      อำเภอเชียงยืน                              ๕๕  กิโลเมตร

                      อำเภอนาเชือก                                ๕๘  กิโลเมตร

                      อำเภอนาดูน                                    ๖๔  กิโลเมตร

                      อำเภอยางสีสุราช                             ๗๐  กิโลเมตร

                      อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย                      ๘๒  กิโลเมตร

                      อำเภอกุดรัง                                ๔๐  กิโลเมตร

                          อำเภอชื่นชม                              ๙๐  กิโลเมตรสะดืออีสานกับการเรียนรู้เรื่องการวัด

    ประวัติจังหวัดมหาสารคาม

     จังหวัดมหาสารคามมีประวัติกล่าวไว้ว่า   ท้าวมหาชัยนามเดิมว่า กวด เป็นบุตรของอุปฮาดสิงห์ สีลัง) กับท้าวบัวทอง  บุตรอุปอาดภู  ทั้ง 2 คนเป็นหลานของพระยาขัตติยวงศาเจ้าเมืองร้อยเอ็ด  พร้อมด้วยผู้คนได้อพยพ  จากเมืองร้อยเอ็ด  มาตั้งเมืองขึ้นใหม่ที่บริเวณริมกุดนางใย  เมื่อปี  พ.ศ. 2408  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้พระราชทานนามเมืองที่ตั้งใหม่นี้ว่า   "เมืองมหาสารคาม"  และโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ท้าวมหาชัย  กวด)   เป็นที่พระเจริญราชเดช  เจ้าเมืองมหาสารคามคนแรก  พระเจริญราชเดช กวด) ได้รับราชการด้วยความขยันขันแข็งเป็นผู้มีความสามารถในการปกครอง  มีความซื่อสัตย์  ทำให้บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นปึกแผ่น  ท่านเป็นนักรบผู้เก่งกล้าสามารถในการสงครามกล่าว    คือ ในปี  พ.ศ. 2418  พวกฮ่อเป็นกบฎท่านได้ร่วมทำการรบปราบกบฎฮ่อด้วยเป็นสามารถและมีชัยชนะ  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้า ฯ  พระราชทานนามเป็น  "พระเจิรญราชเดชวรเชญฐมหาขัติยวงศ์สุรชาติประเทศธำรงรักษ์ศักดิ์กิติยศเกรียงไกร  ศรีพิชัยเทพวรฤทธิ์พิษณุพงศ์ปรีชา  สิงหบุตรสุวัฒนา  นคราภิบาล"    ต่อมาทางราชการและประชาชนชามมหาสารคาม  ระลึกถึง  พระคุณที่ท่านได้กระทำไว้จึงได้สร้างอนุเสาวรีย์ของท่านประดิษฐาน  ไว้ที่สวนสาธารณะหนองข่า  อำเภอเมืองมหาสารคาม  กระทำพิธีเปิดเมื่อ  วันที่  14   เมษายน  2527  เพื่อเป็นที่เคารพสักการะและระลึกถึงคุณงามความดี  ที่ท่านได้การะทำไว้

    การตั้งเมืองมหาสารคาม  เมื่อเริ่มแรก   เริ่มมาจากบริเวณกุดนางใยก่อนคือบริเวณที่เป็นคุ้มวัดอภิสิทธิ์เดี๋ยวนี้ ต่อมาได้สร้างศาลเจ้าพ่อหลักเมือง และวัดข้าวฮ้าวขึ้นปัจจุบันเรียกวัดธัญญาวาส)ต่อมาขยายไปทางริมหนองกระทุ่มด้านเหนือวัดโพธิ์ศรีปัจจุบัน  และในเวลาต่อมาบ้านเมืองก็ขยายใหญ่โตขึ้นมากมายแยกเป็นหลายคุ้ม  เช่นคุ้มวัดโพธิ์ศรี  คุ้มวัดมหาชัย  คุ้มวัดหนองข่าหรือวัดปัจฉิมทัศน์  คุ้มวัดศรีสวัสดิ์  และคุ้มวัดนาควิชัย  ในทุกวันนี้  บ้านเรือนราษฎร  แยกขยายต่อกันด้วยถนนหนทางเป็นอันหนึ่งอันเดียวโดยตลอด
     สภาพในปัจจุบันนี้บริเวณตัวเมืองมหาสารคาม  เป็นที่ตั้งของ  สถานที่ราชการอาคารร้านค้า  โรงเรียนและสถานศึกษาต่าง ๆ  มากมาย  เช่น   ศาลจังหวัด  โรงพยาบาล  หน่วยงานราชการจังหวัด  มหาวิทยาลัย  และวิทยาลัยหลายแห่ง  เป็นศูนย์กลางการคมนาคม  และการค้าของจังหวัดซึ่งนับวันแต่จะแผ่ขยายออกไปอย่างไม่หยุดยั้งตั้งแต่  ปี พ.ศ. 2408  เป็นต้นมา

บูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้

สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

ศิลปะศึกษาสะดืออีสานกับการเรียนรู้เรื่องการวัด

 กระซิบเบา ๆ

           หลาย ๆ คน คงจะเคยนั่งรถผ่านจุดที่เขาเรียกว่า “สะดืออีสาน” อย่างแท้จริง ซึ่งเป็นทุ่งนากว้างใหญ่ แต่เพราะเวลาที่มีภาระกิจเร่งรีบและมีเวลาที่จำกัด จึงได้แต่นั่งรถผ่านพ้นเลยไป หากนั่นก็ไม่ใช่เรื่องที่สลักสำคัญอะไรนัก เพราะความจริงแล้ว คำว่า “สะดืออีสาน” เป็นเพียงแค่การเปรียบเปรยเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง...ใจความสำคัญของมหาสารคามคือความเป็นใจกลางของแดนดินถิ่นอีสาน ดังนั้น การที่จะเป็น “สะดือ” หรือไม่เป็น “สะดือ” ก็หาได้เป็นเรื่องสำคัญ...สำคัญที่ว่า...ถ้าขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไปย่อมหมายถึงร่างกายที่พิกลพิการต่างหาก 

        ดังนั้น หากขาด “มหาสารคาม” ไป...อีสานของไทยจะยังเรียกว่าอาการครบสามสิบสองได้หรอกหรือ?

ที่มาของข่าว

*สกุลไทย::ฉบับที่ 2446 ปีที่ 47 ประจำวันอังคารที่ 4 กันยายน 2544 
 บทความ-สารคดีโดย  รวิทัต
*สำนักศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฎมหาสารคาม
จาก : อีสาน จุฬาฯ - 07/04/2004 14:03

สะดืออีสานกับการเรียนรู้เรื่องการวัดparrot.
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1429

อัพเดทล่าสุด