ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับคณิตศาสตร์


722 ผู้ชม


แนวพระราชดำริในการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง   

                        ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับคณิตศาสตร์

             ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับคณิตศาสตร์การดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริพอเพียง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าใจถึงสภาพสังคมไทย ดังนั้น เมื่อได้พระราชทานแนวพระราชดำริ หรือพระบรมราโชวาทในด้านต่างๆ จะทรงคำนึงถึงวิถีชีวิต สภาพสังคมของประชาชนด้วย เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งทางความคิด ที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้งในทางปฏิบัติได้


แนวพระราชดำริในการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง 
๑. ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการใช้ชีวิต 
๒. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง ซื่อสัตย์สุจริต 
๓. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันในทางการค้าแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรง 
๔. ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยาก ด้วยการขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้มีรายได้เพิ่มพูนขึ้น จนถึงขั้นพอเพียงเป็นเป้าหมายสำคัญ 
๕. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลดละสิ่งชั่ว ประพฤติตนตามหลักศาสนา 

            ความสำคัญของทฤษฎีใหม่ 
๑. มีการบริหารและจัดแบ่งที่ดินแปลงเล็กออกเป็นสัดส่วนที่ชัดเจน เพื่อประโยชน์สูงสุดของเกษตรกร ซึ่งไม่เคยมีใครคิดมาก่อน 
๒. มีการคำนวณโดยใช้หลักวิชาการเกี่ยวกับปริมาณน้ำที่จะกักเก็บให้พอเพียงต่อการเพาะปลูกได้อย่างเหมาะสมตลอดปี 
๓. มีการวางแผนที่สมบูรณ์แบบสำหรับเกษตรกรรายย่อย โดยมีถึง ๓ ขั้นตอน 
ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น 
                        ให้แบ่งพื้นที่ออกเป็น ๔ ส่วน ตามอัตราส่วน ๓๐:๓๐:๓๐:๑๐ ซึ่งหมายถึง 
                        พื้นที่ส่วนที่หนึ่ง ประมาณ ๓๐% ให้ขุดสระเก็บกักน้ำเพื่อใช้เก็บกักน้ำฝนในฤดูฝน และใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์และพืชน้ำต่างๆ
                        พื้นที่ส่วนที่สอง ประมาณ ๓๐% ให้ปลูกข้าวในฤดูฝนเพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันสำหรับครอบครัวให้เพียงพอตลอดปี เพื่อตัดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้
                        พื้นที่ส่วนที่สาม ประมาณ ๓๐% ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากเหลือบริโภคก็นำไปจำหน่าย
                        พื้นที่ส่วนที่สี่ ประมาณ ๑๐% เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ ถนนหนทาง และโรงเรือนอื่นๆ
            ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สอง 
                        เมื่อเกษตรกรเข้าใจในหลักการและได้ปฏิบัติในที่ดินของตนจนได้ผลแล้ว ก็ต้องเริ่มขั้นที่สอง คือให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูป กลุ่ม หรือ สหกรณ์ ร่วมแรงร่วมใจกันดำเนินการในด้าน 
                        (๑) การผลิต (พันธุ์พืช เตรียมดิน ชลประทาน ฯลฯ) 
                        - เกษตรกรจะต้องร่วมมือในการผลิต โดยเริ่ม ตั้งแต่ขั้นเตรียมดิน การหาพันธุ์พืช ปุ๋ย การจัดหาน้ำ และอื่นๆ เพื่อการเพาะปลูก 
                        (๒) การตลาด (ลานตากข้าว ยุ้ง เครื่องสีข้าว การจำหน่ายผลผลิต) 
                        - เมื่อมีผลผลิตแล้ว จะต้องเตรียมการต่างๆ เพื่อการขายผลผลิตให้ได้ประโยชน์สูงสุด เช่น การเตรียมลานตากข้าวร่วมกัน การจัดหายุ้งรวบรวมข้าว เตรียมหาเครื่องสีข้าว ตลอดจนการรวมกันขายผลผลิตให้ได้ราคาดีและลดค่าใช้จ่ายลงด้วย 
                        (๓) การเป็นอยู่ (กะปิ น้ำปลา อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ) 
                        - ในขณะเดียวกันเกษตรกรต้องมีความเป็นอยู่ที่ดีพอสมควร โดยมีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต เช่น อาหารการกินต่างๆ กะปิ น้ำปลา เสื้อผ้า ที่พอเพียง 
                        (๔) สวัสดิการ (สาธารณสุข เงินกู้) 
                        - แต่ละชุมชนควรมีสวัสดิภาพและบริการที่จำเป็น เช่น มีสถานีอนามัยเมื่อยามป่วยไข้ หรือมีกองทุนไว้กู้ยืมเพื่อประโยชน์ในกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน 
                        (๕) การศึกษา (โรงเรียน ทุนการศึกษา) 
                        - ชุมชนควรมีบทบาทในการส่งเสริมการศึกษา เช่น มีกองทุนเพื่อการศึกษาเล่าเรียนให้แก่เยาวชนของชมชนเอง 
                        (๖) สังคมและศาสนา 
                        - ชุมชนควรเป็นที่รวมในการพัฒนาสังคมและจิตใจ โดยมีศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยว 
                        โดยกิจกรรมทั้งหมดดังกล่าวข้างต้น จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าส่วนราชการ องค์กรเอกชน ตลอดจนสมาชิกในชุมชนนั้นเป็นสำคัญ 
ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สาม 
                        เมื่อดำเนินการผ่านพ้นขั้นที่สองแล้ว เกษตรกร หรือกลุ่มเกษตรกรก็ควรพัฒนาก้าวหน้าไปสู่ขั้นที่สามต่อไป คือติดต่อประสานงาน เพื่อจัดหาทุน หรือแหล่งเงิน เช่น ธนาคาร หรือบริษัท ห้างร้านเอกชน มาช่วยในการลงทุนและพัฒนาคุณภาพชีวิต 
                        ทั้งนี้ ทั้งฝ่ายเกษตรกรและฝ่ายธนาคาร หรือบริษัทเอกชนจะได้รับประโยชน์ร่วมกัน กล่าวคือ 
                        - เกษตรกรขายข้าวได้ราคาสูง (ไม่ถูกกดราคา) 
                        - ธนาคารหรือบริษัทเอกชนสามารถซื้อข้าวบริโภคในราคาต่ำ (ซื้อข้าวเปลือกตรงจากเกษตรกรและมาสีเอง) 
                        - เกษตรกรซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคได้ในราคาต่ำ เพราะรวมกันซื้อเป็นจำนวนมาก (เป็นร้านสหกรณ์ราคาขายส่ง) 
                        - ธนาคารหรือบริษัทเอกชน จะสามารถกระจายบุคลากร เพื่อไปดำเนินการในกิจกรรมต่างๆ ให้เกิดผลดี

                                            ที่มาของข้อมูลและภาพ  https://www.chaipat.or.th/chaipat/content/

ปรัซญาเศราฐกิจพอเพียง  เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชที่พระราชทานแก่ประชาชน  ซึ่งเป็นระบบเศรษฐกิจที่ใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ  เพื่อเลี้ยงสังคมนั้นๆ  "ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยต่างๆ  ที่เราไม่ได้เป็นเจ้าของ

เนื้อหา    คณิตศาสตร์  การคำนวณหาพื้นที่ตามอัตราส่วน  การทำแผนภูมิรูปวงกลม  การคิดวิเคราะห์  และเขียนสื่อความ  ร้อยละ


 บูรณาการ         สังคมศึกษา  โครงงานคุณธรรม  ความพอประมาณ  การประหยัด  ความพอดี  การประกอบอาชีพ
                          การงานอาชีพ ฯ  การประกอบอาชีพ  ทำนา  ทำสวน  ค้าขาย  ฯ

         กรณีศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง  ที่ใช้บริหาร  จัดการที่ดินและนำเพื่อการเกษตรตามแนว  การเกษตรทฤษฏีใหม่

1  การบริหารจัดการที่ดินและนำเพื่อการเกษตรตามแนว  การเกษตรทฤษฏีใหม่  มีอย่างไร

              พื้นที่ปลูกข้าว   30  %        พื้นที่ปลูกพืชผักผลไม้  30 %  
             พื้นที่เป็นแหล่งน้ำ  30 %   พื้นที่เป็นที่อยู่อาศัยและเลี้ยงสัตว์  10 %
     

2  ตามแนว  การเกษตรทฤษฏีใหม่  หากเรามีที่ดิน  40  ไร่  เราจะแบ่งที่ดินสำหรับปลูกข้าว  ปลูกพืชผักผลไม้  เป็นแหล่งนำ  เป็นที่อยู่อาศัยและเลี้ยงสัตว์  เป็นพื้นที่อย่างละกี่ไร่

ทักษะการคิด

การหาพื้นที่ปลูกข้าว                                                        ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับคณิตศาสตร์

            - พื้นที่   100    ไร่  เป็นพื้นที่ปลูกข้าว           30  ไร่
               พื้นที่   1         ไร่  เป็นพื้นที่ปลูกข้าว           30  ÷
   100  
               พื้นที่    40  ไร่ ไร่  เป็นพื้นที่ปลุฏข้าว           
                                               30  ÷  100  ×  40  =  12   ไร่
                     พื้นที่ปลูกข้าว       12  ไร่

การหาพื้นที่พืชผักผลไม้  คิดเช่นเดียวกัน

                    พื้นที่ปลูกผักผลไม้       30  ÷  100  ×  40  =  12   ไร่
การหาพื้นที่แหล่งนำ   คิดเช่นเดียวกัน

                     พื้นที่แหล่งน้ำ              30  ÷  100  ×  40  =  12   ไร่

การหาพื้นที่ที่อยู่อาศัยและเลี้ยงสัตว์             
        พื้นที่ที่อยู่อาศัยและเลี้ยงสัตว์       10  ÷  100  ×  40  =  4   ไร่

                 รวมพื้นที่ทั้งหมด         ปลูกข้าว  12  ไร่   พื้นที่ปลูกผักผลไม้  12  ไร่

                   พื้นที่แหล่งน้ำ  12  ไร่   และพื้นที่ที่อยู่อาศัยและเลี้ยงสัตว์  4  ไร่  
                           รวมพื้นที่ทั้งหมด    12 + 12  + 12  + 4  =   40  ไร่

             ข้อเสนอแนะ

                ฉะนั้นในการทำเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง  ไม่จำเป็นต้องเป็นกฏตายตัวพอประมาณ  ถ้าบริหารจัดการที่ดินตามนี้เป็นการดี   และใครมีที่ดินเท่าใดก็สามารถทำได้

              ประเด็นคำถาม

                   1  ลุงดำทำการเกษตรตามแนว  การเกษตรทฤษฏีใหม่  หากลุงดำปลูกข้าว   21  ไร่  อยากทราบว่า  ลุงดำ  มีที่ดินทั้งหมดกี่ไร่  และพื้นที่ที่เหลือใช้ทำอะไร  อย่างละกี่ไร่ 

ผู้จัดทำ    นางบุญส่ง   ใหญ่โต  ครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนอนุบาลสรรคบุรี   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยนาท

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1575

อัพเดทล่าสุด