ประหยัดน้ำวันละหน่วย...........ช่วยประหยัดเงิน รักษาสิ่งแวดล้อม


676 ผู้ชม


ไม่รู้จักการประหยัด ใช้อย่างฟุ่ยเฟื่อย พลังงานก็จะหมด แล้าเราต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มอย่างไร้ประโยชน์อีกด้วยใช้น้ำส่วนใหญ่มักมีพฤติกรรมการใช้น้ำฟุ่มเฟือย ควรเปลี่ยนวิธีการใช้น้ำตามความ   

             ประหยัดน้ำวันละหน่วย...........ช่วยประหยัดเงิน  รักษาสิ่งแวดล้อม

         ใช้น้ำส่วนใหญ่มักมีพฤติกรรมการใช้น้ำฟุ่มเฟือย ควรเปลี่ยนวิธีการใช้น้ำตามความ 
เคยชิน มาเป็นการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า ไม่ปล่อยให้น้ำไหลทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ จะเป็น
การประหยัด ค่าน้ำได้มากประหยัดน้ำวันละหน่วย...........ช่วยประหยัดเงิน รักษาสิ่งแวดล้อม

1. การใช้น้ำให้ประหยัดและถูกวิธี 
(1) การอาบน้ำ 
การใช้ฝักบัวจะสิ้นเปลืองน้ำน้อยที่สุด รูฝักบัว ยิ่งเล็ก ยิ่งประหยัดน้ำ ปิดฝักบัวในขณะที่ถูสบู่ จะใช้น้ำเพียง 30 ลิตร หากไม่ปิดจะใช้น้ำถึง 90 ลิตร และหากใช้อ่างอาบน้ำจะใช้น้ำถึง 110 -200  ลิตร                                                                                

(2) การโกนหนวด 
โกนหนวดแล้วใช้กระดาษเช็ดก่อน จึงใช้น้ำ จากแก้วมาล้างอีกครั้ง ล้างมีดโกนหนวด
โดยการ จุ่มล้างในแก้ว จะประหยัดกว่าล้างโดยตรงจากก๊อก 
(3) การแปรงฟัน 
การใช้น้ำบ้วนปากและแปรงฟันโดยใช้แก้ว จะใช้น้ำเพียง 0.5–1 ลิตร การปล่อยให้น้ำไหล 
จากก๊อกตลอดการ แปรงฟัน จะใช้น้ำถึง 20–30 ลิตรต่อครั้ง 
(4) การใช้ชักโครก 
การใช้ชักโครกจะใช้น้ำถึง 8–12 ลิตร ต่อครั้ง เพื่อการประหยัด ควรใช้ถุงบรรจุน้ำมาใส่ในโถน้ำ เพื่อลดการใช้น้ำ โถส้วมแบบตักราดจะสิ้นเปลืองน้ำน้อยกว่าแบบชักโครกหลายเท่า หากใช้ชักโครก  ควรติดตั้งโถปัสสาวะและโถส้วมแยกจากกัน 
(5) การซักผ้า 
ขณะทำการซักผ้าไม่ควรเปิดน้ำทิ้งไว้ตลอดเวลา จะเสียน้ำถึง 9 ลิตร/นาที 
ควรรวบรวมผ้าให้ได้มากพอต่อการซักแต่ละครั้ง ทั้งการซักด้วยมือและเครื่องซักผ้า 
(6) การล้างถ้วยชามภาชนะ 
ใช้กระดาษเช็ดคราบสกปรก ออกก่อน แล้วล้างพร้อมกันในอ่างน้ำ จะประหยัดเวลา
ประหยัดน้ำ และให้ความสะอาดมากกว่าล้างจากก๊อกโดยตรง ซึ่งจะสิ้นเปลืองน้ำ 9 ลิตร/นาที 
(7) การล้างผักผลไม้ 
ใช้ภาชนะรองน้ำเท่าที่จำเป็น ล้างผัก ผลไม้ ได้สะอาดและประหยัดกว่าเปิดล้างจากก๊อก
โดยตรง ถ้าเป็น ภาชนะที่ยกย้ายได้ ยังนำน้ำไปรดต้นไม้ได้ด้วย 
(8) การเช็ดพื้น 
ควรใช้ภาชนะรองน้ำและซักล้างอุปกรณ์ใน ภาชนะก่อนที่จะนำไปเช็ดถู จะใช้น้ำน้อยกว่า การใช้สายยางฉีดล้างทำ ความสะอาดพื้นโดยตรง 
(9) การรดน้ำต้นไม้ 
ควรใช้ฝักบัวรดน้ำต้นไม้แทนการใช้ สายยางต่อจากก๊อกน้ำโดยตรง หากเป็นพื้นที่บริเวณกว้าง 
ก็ควรใช้ สปริงเกลอร์ หรือใช้น้ำที่เหลือจากกิจกรรมอื่นมารดต้นไม้ ก็จะช่วย ประหยัดน้ำลงได้ 
(10) การล้างรถ 
ควรรองน้ำใส่ภาชนะ เช่น ถังน้ำ แล้วใช้ผ้าหรือ เครื่องมือล้างรถจุ่มน้ำลงในถัง เพื่อเช็ดทำความสะอาดแทนการ ใช้สายยางฉีดน้ำโดยตรง ซึ่งจะเสียน้ำเป็นปริมาณมากถึง 150-200 ลิตร/ครั้ง หากสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นการใช้น้ำที่ควรใช้จริง อย่างถูกวิธี ไม่เปิดน้ำทิ้งระหว่างการใช้น้ำหรือปล่อยให้น้ำล้น จะ สามารถลดการใช้น้ำได้ถึง 20-50 % ทีเดียว

 ปริมาณน้ำประปาจำนวน 1 ลิตรเท่ากับกี่หน่วย ขอเรียนชี้แจงรายละเอียรายละเอียดดังนี้.- 
-.ตัวเลขสีแดง จากมาตรวัดน้ำแสดงจำนวนลิตรไม่นำมาคิดค่าน้ำ แต่ใช้ในการอ่านค่าที่ละเอียดกว่ามีหน่วยเป็นลิตรเพื่อทดสอบความเที่ยงตรงของมาตรวัดน้ำเท่านั่น เมื่อปริมาณน้ำที่ไหลผ่านมาตรวัดน้ำตัดเลขสีแดงก็จะปรากฏขึ้นจากหลักหน่วย-สิบ-ร้อย- จนถึงเลข 999 แล้วจะเปลี่ยนเป็นตัวเลขสีดำ ขึ้น (1 หน่วยหรือ 1ลูกบาศก์เมตร ) 
-การอ่านเลขน้ำใช้หน่วยวัดเป็นลูกบาศก์เมตรหรือคิวบิกเมตร)ตัวเลขที่เป็นสีดำคือจำนวนที่นำมาคิดค่าน้ำ น้ำประปา 1 ลูกบาศก์เมตรเท่ากับ 1,000 ลิตร(1คิว) คือปริมาณน้ำที่บรรจุในภาชนะสี่เหลี่ยมทรงลูกบาศก์ที่กว้าง 1 เมตร ยาว 1 เมตรสูง 1 เมตร 
-.อัตราค่าน้ำประปาไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 
ประเภทที่ 1 ที่พักอาศัย 
0-30 ลูกบาศก์เมตร ราคาค่าน้ำ(บาท/ลูกบาศก์เมตร)=8.50 (แต่ไม่ต่ำกว่า 45 บาท) 
ประภทที่ 2 ธูรกิจ ราชการ รัฐวิสาหกิจ อุตสาหกรรม อื่นๆ 
0-10 ลูกบาศก์เมตร ราคาค่าน้ำ(บาท/ลูกบาศก์เมตร)=9.50 (แต่ไม่ต่ำกว่า 90 บาท)  
 ในแต่วันเราใช้น้ำกันมาก  ในชนบท  ( ราคาน้ำจะก้าวหน้าตามจำนวนกาสรใช้น้ำยิ่งใช้มากราคาจะแพงตามขึ้นไป  แต่อย่างน้อยเริ่มต้นที่ราคาหน่วยละ  5 บาท  ในกรุงเทพฯราคาหน่วยละ  17  บาท  ถ้าเรามีพฤติกรรมในการใช้น้ำ ไม่รู้จักการประหยัด  ใช้อย่างฟุ่ยเฟื่อย  พลังงานก็จะหมด  แล้าเราต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มอย่างไร้ประโยชน์อีกด้วย
 ข้าพเจ้าคิดว่าการประหยัดน้ำวันละ  5  บาท/วันเป็นเดือน  เป็นปี ก็เป็นเงินจำนวนเงินไม่ใช่น้อย  และเป็นการประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม  
เนื้อหาคณิตศาสตร์    เรื่องหน่วยการวัด  มาตราเมตริก  
บูรณาการ                 การประหยัดน้ำ  สังคมศึกษา
ทักษะการคิด   
 ยกตัวอย่าง  บ้านนายเขียวในเขตเทศบาลตำบลแพรกศรีราชา  ชัยนาท  มีคนอยู่ในครอบครัวจำนวน  4  คน  มีบ้านสองชั้นมีห้องน้ำที่ติดชักโครกทั้ง  2  ห้อง  
ในแต่ละวันแต่ละคนจะเข้าห้องน้ำอย่างน้อยวันละ  5  ครั้ง/วัน ( ราคาค่าน้ำเริ่มต้นที่หน่วยละ  5  บาท )  การใช้ชักโครกจะใช้น้ำถึง 8–12 ลิตร ต่อครั้ง 
  เข้าห้องน้ำวันละ  5  ครั้ง/วัน   จำนวน  4  คน   =  5 × 4  =  20  ครั้ง/ วัน  
  ในการเข้าห้องน้ำชักโครกจะเปลืองน้ำครั้งละ    10  ลิตร  ในเวลา  1  วัน  ทั้งหมดเข้าห้องน้ำ =  10× 20  =  200  ลิตร 
  ในเวลา  1  เดือน ใช้น้ำในการเข้าห้องน้ำชักโครกจำนวน   200 ×  30  =  6,000  ลิตร  
  1  หน่วย (คิว )    =  1000  ลิตร ในเวลา 1  เดือนใช้น้ำจำนวน  6000 ÷ 1000  =  6  หน่วย 
  คิดเป็นเงิน            6  × 5  =  30  บาท/เดือน
  ถ้าเป็นค่าน้ำในกรุงเทพ ฯจะเสียค่าน้ำต่อหน่วยแพงมาก หน่วยละ  17  บาท 
                      
=  6  × 17  = 102  บาท
       นี่เป็นเพียงการประมาณเท่านั้น  และเป็นการใช้น้ำเข้าห้องน้ำเท่านั้น  ยังไม่ได้รวมกับการอาบน้ำ  แปรงฟัน  ล้างหน้า  ดื่ม  ซักผ้า ฯลฯ
เราจะต้องเสียค่าน้ำเป็นจำนวนเท่าใด/เดือน  เพราะยิ่งใช้มากขึ้นเท่าใดค่าน้ำต่อหน่วยยิ่งแพงขึ้นเท่าตัว     
ประเด็นคำถาม
    1.  บ้านนาย  ข อยู่ในกรุงเทพฯ มีบ้านสามชั้นมีส้วมชักโครกจำนวน  4  ห้อง  มีสมาชิกอยู่กัน  6  บาท  เข้าห้องน้ำประมาณคนละ  5  ครั้ง/วัน
ในเวลา 1  เดือนเสียค่าน้ำเป็นจำนวนเงินเท่าใด  ( ค่าน้ำหน่วยละ  20  บาท )
  
ที่มา: กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

https://t3.gstatic.com/images

ผู้จัดทำ  นางบุญส่ง  ใหญ่โต  ครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนอนุบาลสรรคบุรี  สำนักวงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยนาท

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1642

อัพเดทล่าสุด