ภัยพิบัติจากพายุลูกแรกคือพายุกิสนาและพายุลูกที่สองคือพายุป้าหม่า คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วกว่า 300 ราย


766 ผู้ชม


อินโดผงะหมู่บ้านฝังหมู่แขกงานวิวาห์ 400ศพ! นาทีดินไหว ยอดตายพุ่ง1,300 แผ่นดินไหว 7.6 ริกเตอร์ และภัยพิบัติจาก พายุป้าหม่าขึ้นฝั่งที่ทางเหนือของฟิลิปปินส์แล้ว คร่าชี้วิต ไปแล้ว 1 และพายุกิสนาขึ้นฝั่งเวียดนามจ่อเข้าไทยพรุ่งนี้เตือน18จว.ระวังฝนตกน้ำท่วมหนัก   

ภัยพิบัติจากพายุลูกแรกคือพายุกิสนาและพายุลูกที่สองคือพายุป้าหม่า คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วกว่า 300 ราย

ภัยพิบัติจากพายุลูกแรกคือพายุกิสนาและพายุลูกที่สองคือพายุป้าหม่า คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วกว่า 300 ราย

หัวข้อข่าว

อินโดผงะหมู่บ้านฝังหมู่แขกงานวิวาห์ 400ศพ! นาทีดินไหว ยอดตายพุ่ง1,300 แผ่นดินไหว 7.6 ริกเตอร์ และภัยพิบัติจาก พายุป้าหม่าขึ้นฝั่งที่ทางเหนือของฟิลิปปินส์แล้ว คร่าชี้วิต ไปแล้ว 1 และพายุกิสนาขึ้นฝั่งเวียดนามจ่อเข้าไทยพรุ่งนี้เตือน18จว.ระวังฝนตกน้ำท่วมหนัก พายุกิสนา คร่าผู้คนในฟิลิปปินส์ไปแล้วกว่า 300 ราย

รายละเอียดของข่าว :

 เมื่อวันที่ 3 ต.ค. เอเอฟพีรายงานว่า ยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุแผ่นดินไหวในอินโดนีเซีย ที่เมืองปาดัง จังหวัดสุมาตราตะวันตก ระดับรุนแรงขนาด 7.6 ริกเตอร์ มีแนวโน้มจะเพิ่มเป็นสองเท่า หลังจากพบว่าเขตที่อยู่อาศัยในชนบท บริเวณภูเขาเกิดเหตุดินโคลนถล่มบ้านเรือนที่มีชาวบ้านมากกว่า 600 ราย ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่เดินทางไปร่วมพิธีแต่งงานของหนุ่มสาวคู่หนึ่ง  ศูนย์วิกฤตภัยพิบัติ กระทรวงสาธารณสุขแจ้งว่า หมู่บ้านดังกล่าวมีชื่อว่า ปูเลาไอยา ช่วงเกิดเหตุแผ่นดินไหวในวันพุธที่ 30 ก.ย. มีแขกเหรื่อไปร่วมงานแต่งงานในหมู่บ้านนี้กว่า 400 คน ทำให้ถูกฝังหมู่อยู่ในที่เกิดเหตุ พร้อมกับเหยื่ออื่นๆ ในอีก 3 หมู่บ้านของเขตปาดัง ปาริมัน การกู้ภัยในพื้นที่ดังกล่าวยังเข้าไม่ถึง เนื่องจากถนนเข้าหมู่บ้านพังเสียหาย หากนับรวมจำนวนผู้เสียชีวิตที่พบศพตอนนี้ 715 ราย จะทำให้ยอดผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์นี้พุ่งเป็น 1,300 รายภัยพิบัติจากพายุลูกแรกคือพายุกิสนาและพายุลูกที่สองคือพายุป้าหม่า คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วกว่า 300 ราย

 ส่วนภัยพิบัติจากพายุไต้ฝุ่นป้าหม่า พายุลูกที่สองต่อจากพายุกิสนาที่คร่าชีวิตผู้คนในฟิลิปปินส์ไปแล้วกว่า 300 ราย เบื้องต้นมีรายงานว่า พายุเคลื่อนตัวเบี่ยงไปทางเกาะไต้หวันแล้ว ทำให้ฟิลิปปินส์ไม่ถูกซัดถล่มอย่างจังแบบลูกแรก แต่ก็มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเติมอีกจำนวนหนึ่ง   พายุไต้ฝุ่นป้าหม่าพัดทำลายบ้านเรือนของชาวฟิลิปปินส์ รวมทั้งโค่นเสาไฟฟ้า หลังขึ้นฝั่งที่ทางเหนือของประเทศในช่วงประมาณเที่ยงวันที่ผ่านมา นำมาซึ่งความเสียหายเพิ่มเติมให้กับประเทศที่ประสบปัญหาอุทกภัยครั้งใหญ่อยู่ก่อนหน้าแล้ว แต่ยังโชคดีที่แนวพายุไม่ได้พัดถล่มกรุงมะนิลา ที่ประชาชนหลายล้านกำลังเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมใหญ่จากพิษของพายุกิสนา ที่พัดเข้ามาเมื่อสุดสัปดาห์ก่อน และคร่าชีวิตผู้คนไปเกือบ 300 คน     พายุไต้ฝุ่นป้าหม่ามีความเร็วลมใกล้จุดศูนย์กลาง 175 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หลังเคยมีความเร็วสูงสุด 210 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขึ้นฝั่งที่จังหวัดคากายัน บนเกาะลูซอน ห่างจากกรุงมะนิลาราว 400 กิโลเมตร เจ้าหน้าที่ในพื้นที่รายงานว่า กระแสลมแรงจัดมาก จนไม่มีใครสามารถออกไปด้านนอกได้ แรงลมทำให้ต้นไม้ใหญ่โค่นหลายต้น ทั้งนี้คากายันเป็นพื้นที่ชนบท มีเมืองเล็กๆตั้งอยู่ตามแนวชายฝั่ง มีประชากรประมาณ 1 ล้านคน จุดที่ได้รับความเสียหายหนักที่สุดก็คือเมืองตูเกกาเรา เมืองศูนย์กลางของจังหวัด ที่มีประชากร 130,000 คน ขณะที่จังหวัดอื่นๆ บนเกาะลูซอน ก็เจอกับลมพัดแรงและฝนตกหนัก แต่ยังไม่มีรายงานการเสียชีวิต เพราะก่อนพายุจะเข้า มีการอพยพผู้คนในพื้นที่เสี่ยงทั่วเขตทางเหนือของเกาะลูซอน ออกมาก่อนแล้ว   ล่าสุดพายุไต้ฝุ่นป้าหม่าพัดกระหน่ำภาคเหนือของฟิลิปปินส์แล้วในวันนี้ ส่งผลให้ต้นไม้หักโค่น กระแสไฟฟ้าและการติดต่อทางโทรศัพท์ถูกตัดขาด อิทธิพลของพายุซึ่งทำให้เกิดฝนตกหนัก อาจยิ่งสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนในกรุงมะนิลาหลายล้านคนที่ได้รับผลกระทบจากพายุกิสนา

 พายุกิสนาขึ้นฝั่งเวียดนามจ่อเข้าไทยพรุ่งนี้เตือน18จว.ระวังฝนตกน้ำท่วมหนัก

วันนี้(29กันยายน) กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเตือนภัย"พายุ กิสนา" ฉบับที่ 4 (155/2552) 
พายุไต้ฝุ่น “กิสนา ” (KETSANA) บริเวณทะเลจีนใต้ เมื่อเวลา 04.00 น.วันนี้(29 ก.ย.52) มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 220 กิโลเมตร ทางทิศตะวันออกของเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม หรือที่ละติจูด 16.0 องศาเหนือ ลองจิจูด 109.8 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกด้วยความเร็ว ประมาณ 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามในวันนี้(29 ก.ย.52) และจะเคลื่อนตัวผ่านประเทศลาวเข้าสู่ประเทศไทยบริเวณแนวจังหวัดมุกดาหาร ในวันที่ 30 กันยายน 2552 นี้     
ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกเพิ่มมากขึ้น โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากได้ในหลายพื้นที่ โดยจะเริ่มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกในวันนี้ (29 ก.ย.52) ส่วนภาคอื่นๆจะได้รับผลกระทบในระยะต่อไป จึงขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ลุ่มของจังหวัดหนองคาย นครพนม สกลนคร มุกดาหาร อำนาจเจริญ กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา จันทบุรี ตราด ระนอง และพังงา ระมัดระวังสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากที่จะเกิดขึ้นได้ในระยะนี้   อนึ่ง มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรงทำให้ คลื่นลมในทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือในระยะนี้

เพิ่มเติมจากข่าว : 3 ตค. 2552 14:56 น.ภัยพิบัติจากพายุลูกแรกคือพายุกิสนาและพายุลูกที่สองคือพายุป้าหม่า คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วกว่า 300 ราย 

แม้จะเป็นข่าวดีของฟิลิปปินส์ที่พายุไต้ฝุ่นป้าหม่าเปลี่ยนทิศเคลื่อนตัวมุ่งไปทางเหนือสุดของเกาะลูซอน ไม่พัดผ่านพื้นที่ที่มีคนอาศัยอยู่หนาแน่นและเพิ่งเจอกับพายุกฤษณาพัดถล่มจนทำให้เกิดน้ำท่วมครั้งรุนแรงที่สุดในรอบ 40 ปีเมื่อวันเสาร์ที่แล้ว แต่กลับกลายเป็นข่าวร้ายของไต้หวันที่เพิ่งถูกพายุไต้ฝุ่นมรกตพัดถล่มทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 700 รายไปเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เพราะพายุลูกนี้กำลังเคลื่อนตัวมุ่งหน้าขึ้นฝั่งบริเวณเดียวกับพายุมรกต คือทางใต้ของเกาะไต้หวัน และคาดว่าทำให้มีลมแรงและฝนตกหนักทั่วไต้หวันในช่วงสุดสัปดาห์นี้ .  

              ทางการไต้หวันได้ประกาศเตือนภัยพายุในวันนี้ พร้อมกับเริ่มอพยพประชาชนจาก 6 หมู่บ้านที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงในเขตเกาสง ที่ได้รับความเสียหายหนักที่สุดจากพายุมรกตออกไปอยู่ในที่ปลอดภัย โดยครั้งนี้รัฐบาลไต้หวันที่ถูกประณามอย่างหนักจากความล่าช้าและขาดประสิทธิภาพในการรับมือกับพายุมรกตได้รีบสั่งการให้เตรียมแผนอพยพประชาชนตั้งแต่ต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา     ส่วนที่ฟิลิปปินส์มีรายงานว่าอิทธิพลของไต้ฝุ่นป้าหม่าทำให้เกิดกระแสลมแรง ทำให้เสาไฟฟ้าและต้นไม้ในจังหวัดคากายัน หักโค่นเป็นจำนวนมาก และทำให้ฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้าง คาดว่าพายุซึ่งขณะนี้ค่อย ๆ อ่อนกำลังลงเหลือความเร็วลม 175 กิโลเมตรต่อชั่วโมงจะพัดผ่านทางเหนือสุดของเกาะลูซอนในคืนวันนี้ 
พายุไต้ฝุ่นป้าหม่าอ่อนกำลังลงเล็กน้อยและเปลี่ยนทิศทางที่ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาของฟิลิปปินส์แถลงเช้านี้ว่า พายุไต้ฝุ่นป้าหม่าอ่อนกำลังลงเล็กน้อยและเปลี่ยนทิศทางขึ้นไปทางเหนือ มุ่งหน้าสู่ทะเลจีนใต้ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาของฟิลิปปินส์แถลงเช้านี้ว่า พายุไต้ฝุ่นป้าหม่าอ่อน กำลังลงเล็กน้อยเมื่อคืนนี้ โดยลดความเร็วลมสูงสุดจาก 230 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเมื่อวานนี้เหลือ 210 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเปลี่ยนทิศทางขึ้นไปทางเหนือภัยพิบัติจากพายุลูกแรกคือพายุกิสนาและพายุลูกที่สองคือพายุป้าหม่า คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วกว่า 300 ราย
พายุหมุนนาร์กิส (อังกฤษ: Cyclone Nargis) หรือพายุหมุนนาร์กิสอันมีความรุนแรงระดับสูง (อังกฤษ: Very Severe Cyclonic Storm Nargis) [ระดับความรุนแรง: 01B, กำหนดโดยศูนย์ความร่วมมือระหว่างกองทัพเรือและกองทัพอากาศแห่งสหรัฐอเมริกาเพื่อการเตือนภัยไต้ฝุ่น (Joint Typhoon Warning Center of US’s Navy and Air Forces)] เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงระดับสูง ซึ่งกระทำให้เกิดภาวะแผ่นดินถล่ม (landfall) และภาวะมหันตภัย (catastrophe hazard) ในประเทศพม่าเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2551 ส่งผลให้ชาวพม่าเสียชีวิตอย่างน้อยสองหมื่นสองพันคน และสูญหายอีกสี่หมื่นหนึ่งพันคน[1] ทั้งนี้ เมื่อ พ.ศ. 2549 พายุหมุนมาลา (อังกฤษ: Cyclone Mala) ก็ได้ก่อให้เกิดภาวะเช่นเดียวกันในประเทศพม่า
ประวัติพายุ
         พายุหมุนนี้ได้รับการขนานชื่อเป็นครั้งแรกในเหตุการณ์พายุหมุนมหาสมุทรอินเดียตอนเหนือ (อังกฤษ: North Indian Ocean Cyclone) เมื่อ พ.ศ. 2551 โดยพายุหมุนนาร์กิสเริ่มตั้งเค้าเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2551 ที่อ่าวเบงกอลตอนกลาง ในระยะเริ่มแรก พายุหมุนนาร์กิสเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเฉียงเหนือโดยช้า สภาพเกื้อหนุนในบริเวณดังกล่าวส่งผลให้พายุมีกำลังรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ดี บรรยากาศแห้งแล้งในวันที่ 29 เมษายน 2551 เป็นเหตุให้พายุอ่อนกำลังลง และเปลี่ยนทิศทางไปยังภาคตะวันออกของโลก ซึ่งพายุได้ทวีความรุนแรงโดยมีความเร็วลมสูงสุด (peak wind) อย่างน้อยหนึ่งร้อยหกสิบห้ากิโลเมตรต่อหนึ่งชั่วโมง และต่อมาศูนย์ความร่วมมือระหว่างกองทัพเรือและกองทัพอากาศแห่งสหรัฐอเมริกาเพื่อการเตือนภัยไต้ฝุ่นแถลงว่า ความเร็วลมสูงสุดของพายุหมุนนี้จะทวีเป็นสองร้อยสิบห้ากิโลเมตรต่อหนึ่งชั่วโมง ขณะนี้ หลังจากที่พายุหมุนนาร์กิสขึ้นฝั่งที่เขตอิรวดี ประเทศพม่า โดยมีกำลังลมใกล้เคียงกับความเร็วลมสูงสุด และพัดผ่านนครย่างกุ้งแล้ว ก็ได้อ่อนตัวลงตามลำดับและสลายตัวไป ณ บริเวณชายแดนไทยกับพม่า

ผลกระทบจากพายุหมุนนาร์กิส อ่าวเบงกอลฝั่งตะวันตก

ภาวะฝนตกจากพายุหมุนนาร์กิส ตรวจวัดโดยคณะตรวจวัดปริมาณฝนตกในเขตร้อนแห่งองค์การนาซา (Tropical Rainfall Measuring Mission)
                พายุหมุนนาร์กิสได้ก่อให้เกิดภาวะฝนตกหนัก (heavy rainfall) ในประเทศศรีลังกา ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำท่วม (flood) และภาวะดินถล่ม (landslide) ระหว่างตำบลกว่าสิบตำบลในศรีลังกา โดยตำบลรัตนปุระ (Ratnapura) และตำบลเคกัลเล (Kegalle) ได้รับผลกระทบมากที่สุด กว่าสามพันครอบครัวในตำบลดังกล่าวบ้านแตกสาแหรกขาด บ้านเรือนหลายพันหลังจมน้ำ อีกยี่สิบเอ็ดหลังถูกทำลายไปโดยอำนาจแห่งพายุ ชาวศรีลังกาสี่พันห้าร้อยคนกลายเป็นผู้ไร้บ้าน[2] และกว่าสามหมื่นห้าพันคนถูกทอดทิ้งอยู่บนเกาะ ซึ่งในจำนวนคนบนเกาะนี้ หนังสือพิมพ์อุบาลี (Upali Newspaper) แห่งบังคลาเทศรายงานว่า ได้รับบาดเจ็บสาหัสสามราย และถึงแก่ความตายอีกสองรายภัยพิบัติจากพายุลูกแรกคือพายุกิสนาและพายุลูกที่สองคือพายุป้าหม่า คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วกว่า 300 ราย
            กรมอุตุนิยมวิทยาแห่งสาธารณรัฐอินเดียออกประกาศเตือนชาวประมงให้งดออกทะเลในระหว่างที่พายุหมุนนาร์กิสพัดผ่านดินแดน โดยได้พยากรณ์ว่าพายุรุนแรงจะเคลื่อนผ่านชายฝั่งรัฐทมิฬนาฑูและรัฐอานธรประเทศ[4] นอกจากนี้ อิทธิพลของพายุหมุนดังกล่าวได้กระทำให้อุณหภูมิในอินเดียลดลง หลังจากที่ได้สูงขึ้นอย่างรุนแรงเพราะคลื่นความร้อน
รัฐบาลบังคลาเทศได้ออกประกาศให้บรรดาเกษตรกรเร่งเก็บเกี่ยวพืชผลให้สิ้นก่อนพายุจะเคลื่อนตัวถึงประเทศตน ซึ่งในขณะนั้นบังคลาเทศก็ประสบภาวะอาหารขาดแคลนมาแต่ปีก่อนเพราะพายุหมุนสิทร์ (Cyclone Sidr) อยู่แล้ว รัฐบาลจึงเกรงว่าพายุหมุนนาร์กิสจะกระทำให้สถานการณ์ย่ำแย่ลงอีกเขตอิรวดีซึ่งได้รับผลกระทบมากที่สุด   หลังจากที่พม่าเผชิญกับพายุหมุนนาร์กิสแล้ว ทางการพม่ารายงานว่า อัตราการตายในประเทศมีประมาณห้าหมื่นคน และผู้คนพลัดหลงประมาณสี่หมื่นหนึ่งพันคน สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่าผู้คนในพม่ากว่าสองล้านถึงสามล้านคนกลายเป็นผู้ไร้บ้าน เมื่อเทียบกับเหตุการณ์คลื่นสึนามิถล่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ.ศ. 2547 แล้ว ถือว่าเหตุการณ์พายุนาร์กิสนี้เป็นพิบัติภัยที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติพม่า    นายแอนดริว เคิร์กวูด (Andrew Kirkwood) ผู้อำนวยการองค์กรการกุศลแห่งสหราชอาณาจักรเพื่อการพิทักษ์เยาวชน (British charity Save The Children) แถลงว่า ตนกำลังพิเคราะห์จำนวนผู้เสียชีวิตห้าหมื่นรายและผู้ไร้บ้านอีกกว่าหลายล้านราย โดยเห็นว่าเป็นความรุนแรงที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ชาติพม่า ซึ่งจำนวนดังกล่าวอาจมากกว่าจำนวนผู้เสียหายในเหตุการณ์สึนามิที่ประเทศศรีลังกาว่าหลายเท่าตัว  ในการนี้ รัฐบาลทหารพม่าได้ประกาศให้เขตย่างกุ้ง เขตอิรวดี เขตหงสาวดี ตลอดจนรัฐมอญ และรัฐกะเหรี่ยงเป็นเขตประสบพิบัติภัย (disaster area)
                  นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่า อาคารถูกทำลายหลายแสนหลังในเมืองลบุตร (Labutta) เขตอิรวดี สำหรับจำนวนดังกล่าว สำนักข่าวแห่งพม่ารายงานว่า ร้อยละเจ็ดสิบห้าของอาคารพังทลาย ร้อยละยี่สิบหลังคาถูกซัดหายไป และที่เหลือยังอยู่รอดปลอดภัย   เป็นที่คาดกันว่า พายุหมุนนาร์กิสครั้งนี้อาจส่งผลกระทบรุนแรงที่สุดในบรรดาเหตุการณ์ที่เกิดจากพายุหมุนด้วยกันเองนับแต่คราที่บังคลาเทศถูกพายุหมุนถล่มใน พ.ศ. 2534 ซึ่งปรากฏคนตายถึงหนึ่งแสนสามหมื่นแปดพันคน และอีกหนึ่งหมื่นคนเป็นอย่างน้อยถึงแก่ความตายที่ดินแดนสามเหลี่ยมในเมืองโพคัล (Bogale)   ทูตต่างประเทศประจำนครย่างกุ้งนายหนึ่งให้สัมภาษณ์แก่สำนักข่าวรอยเตอส์ซึ่งขอให้พรรณนาเหตุการณ์พายุหมุนนาร์กิสถล่มพม่าว่า รอบกายของตนนั้นดูประหนึ่งซากที่หลงเหลือจากภาวะสงคราม ปฏิกูลที่ทะลักนองทั่วนครทำให้เกิดภาวะน้ำเน่าท่วม (waste flood) ซึ่งส่งผลให้นาข้าวเสียหายหลายแห่ง เจ้าหน้าที่จากสหประชาชาติรายหนึ่งใหสัมภาษณ์เกี่ยวกับสถานการณ์ดังกล่าว่า ถือเป็นเหตุการณ์ที่ย่ำแย่เหตุการณ์หนึ่ง บ้านเรือนเกือบทั้งปวงพังพินาศ ประชาชนต่างอกสั่นขวัญผวา เจ้าหน้าที่จากสหประชาชาติอีกรายหนึ่งให้สัมภาษณ์ว่า ดินดอนสามเหลี่ยม (delta) แห่งลุ่มน้ำอิรวดีได้รับผลกระทบหนักมาก ไม่แต่เพราะลมและฝน แต่ยังเพราะความกำเริบของพายุอีกด้วย  หนังสือพิมพ์ “เดลีเทเลกราฟ” (Daily Telegraph) แห่งสหราชอาณาจักร รายงานว่า ราคาอาหารในประเทศพม่าอาจได้รับผลกระทบเพราะเหตุการณ์พายุครั้งนี้ด้วย    หนังสือพิมพ์ไทยรัฐรายงานว่า ชาวพม่าจำนวนมากโกรธแค้นรัฐบาลที่ไม่มีการเตือนภัยที่ดีพอ และสมาคมเพื่อการช่วยเหลือนักโทษการเมืองซึ่งอยู่ในกรุงเทพมหานครรายงานว่า เจ้่าหน้าที่พม่ายิงประหารนักโทษแห่งเรือนจำอินเส่งในขณะที่ฉวยจังหวะจลาจลจากพายุเตรียมหลบหนี ปรากฏนักโทษตายสามสิบหกคน และบาดเจ็บอีกประมาณเจ็ดสิบคน อย่างไรก็ดี ทางการพม่าปฏิเสธรายงานทั้งสอง   นอกจากนี้ นายวรเดช วีระเวคิน รองอธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ แถลงเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2551 โดยอ้างถึงรายงานของนายบรรสาน บุนนาค เอกอัครราชทูตไทยประจำนครย่างกุ้ง ว่าสภาพแวดล้อมในนครได้รับความเสียหายหนัก ห้างร้านส่วนใหญ่ปิดกิจการ เครื่องอุปโภคบริโภคมีฝืดเคืองและราคายังสูงขึ้นสองถึงสามเท่าตัว โดยรวมแล้วความเป็นอยู่ของผู้คนในนครค่อนข้างกันดาร

การบรรเทาทุกข์จากนานาชาติสู่พม่า
วันที่ 6 พฤษภาคม 2551 ผู้แทนของรัฐบาลทหารพม่าที่มลรัฐนิวยอร์กได้ร้องขอความช่วยเหลือจากสหประชาชาติอย่างเป็นทางการสำหรับความเสียหายจากพายุหมุนนาร์กิสในประเทศตน อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่ารัฐบาลทหารพม่า่แสดงท่าทีว่าไม่ยอมรับความช่วยเหลือจากนานาชาติ แต่ก็ได้แถลงว่า “มีความเต็มใจที่จะรับความสงเคราะห์จากนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาล” ปัญหาหนึ่งในกรณีนี้คือการที่พม่าไม่อนุมัติบัตรผ่านแดนให้แก่ชนต่างด้าวที่ตนขึ้นบัญชีดำไว้ ถึงแม้ว่าบุคคลเหล่านั้นประสงค์จะเดินทางเข้าไปในประเทศเพื่อให้ความช่วยเหลือก็ตามภัยพิบัติจากพายุลูกแรกคือพายุกิสนาและพายุลูกที่สองคือพายุป้าหม่า คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วกว่า 300 ราย

เนื้อหาสาระคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง

 -   การเขียนจำนวนที่มีค่ามาก ๆ ให้อยู่ในรูปสัญกรณ์ทางวิทยาศาสตร์

 - อัตราเร็ว / ความเร็วของลมแปรปรวน  

  -  ความสูงของคลื่น 

 -  ร้อยละของฝนฟ้าคะนองของพื้นที่ภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย

อาทิเช่น   พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้.

ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่ บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร และเพชรบูรณ์ ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึง
หนักมากหลายพื้นที่บริเวณจังหวัดหนองคาย นครพนม สกลนคร มุกดาหาร อำนาจเจริญ กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ และนครราชสีมา
ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี กาญจนบุรี และราชบุรี ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี และตราด ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร


ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี ลมตะวันตก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต ลมตะวันตก ความเร็ว 20-40 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม

ประเด็นคำถามในห้องเรียน

 จากข่าว 1) ภาคใดของไทย มีฝนฟ้าคะนอง คิดเป็นร้อยละของพื้นที่มากที่สุด

                2)ความเร็วลมแปรปรวน ภาคใดของไทย มีความเร็วโดยเฉลี่ยกิโลเมตรต่อชั่วโมง มากที่สุด

                3) ภาคใต้ ฝั่งตะวันตก ทะเลมีคลื่นสูงกี่เมตร

               4) ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ได้แก่จังหวัดใดบ้าง

กิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้

  - วิธีคิดเป็นร้อยละ    หรือ เปอร์เซ็นต์

                       จำนวน คูณ 100  หารด้วยจำนวนทั้งหมด

   -วิธีคิดความเร็วเฉลี่ยเป็นกิโลเมตรต่อชั่วโมง  , กิโลเมตรต่อนาที   , กิโลเมตรต่อวินาที

-หน่วยของความสูง  เป็นเมตร

-การเขียนจำนวนที่มีค่ามาก ๆ ให้อยู่ในรูปสัญกรณ์ทางวิทยาศาสตร์            

บูรณาการกับกลุ่มสาระอื่น

วิทยาศาสตร์    ความเร็วลม  แผ่นดินไหว 

สังคมศึกษา   พายุหมุน  พายุใต้ฝุ่น  และภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย

สุขศึกษา    โรคภัยที่มากับพายุ  การดูแลรักษาป้องกันตนจากอากาศแปรปรวน 

อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล : ข้อมูลอ้างอิงจากข่าวสดรายวัน

parrot.
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1647

อัพเดทล่าสุด