มองพลังงาน ผ่านเลนส์


770 ผู้ชม


ตัดสินไปเรียบร้อยแล้วสำหรับโครงการประกวดภาพถ่าย "มองพลัง งานผ่านเลนส์ ทางเลือกเชื้อเพลิงอนาคต" "Think Future Energy Photography Contest"   

มองพลังงาน ผ่านเลนส์

มองพลังงาน ผ่านเลนส์

 
หัวข้อข่าว

ตัดสินไปเรียบร้อยแล้วสำหรับโครงการประกวดภาพถ่าย "มองพลัง งานผ่านเลนส์ ทางเลือกเชื้อเพลิงอนาคต"

"Think Future Energy Photography Contest"

รายละเอียดข่าว

  จัดขึ้นเป็นปีแรก แต่มีประชาชนทั่วประเทศส่งผลงานเข้าร่วมประกวดกว่า 1,000 ภาพ มีภาพถ่ายผ่านเกณฑ์ของการมองพลังงาน ผ่านเลนส์ประกวดกว่า 800 ภาพ  คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากสาขาต่างๆ คัดเลือกภาพที่ควรเข้ารอบให้เหลือเพียง 100 ภาพหลังจากผ่านการถกเถียง พินิจพิเคราะห์ กลั่นกรองกันอย่างละเอียดในทุกหลักเกณฑ์แล้ว มีเพียง 26 ภาพที่ถูกคัดเลือกให้ได้รับรางวัล  ส่วนใครจะคว้ารางวัลที่ 1 ได้รางวัลที่ 2 หรือรับรางวัลชมเชย คงต้องขออุบไว้ก่อน และรู้พร้อมๆ กันในงานประกาศรางวัลภาพถ่าย ที่กระทรวงพลังงานจัดขึ้นในวันที่ 6 ต.ค. ที่หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพ แต่ถ้าอดใจไม่ไหวอยากยลโฉมภาพถ่ายสวยๆ สามารถไปชมก่อนได้ที่งาน "พลังงาน กู้วิกฤตไทย" จัดถึงวันที่ 4 ต.ค.นี้ ที่รอยัลพารากอนฮอลล์ ชั้น 5 ศูนย์การค้าสยามพารากอน ใจกลางกรุง   โดยกระทรวงพลังงานขนรูปถ่ายที่เข้ารอบ 100 ภาพ มาจัดแสดงในงานนี้ 
 
   สำหรับแนวคิดในการจัดประกวด นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ กระ ทรวงพลังงานหนึ่งในผู้ดำเนินการโครงการ กล่าวว่า การจัดประกวดภาพถ่ายครั้งนี้เป็น การเปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป บอกเล่าแนวความคิดเกี่ยวกับการใช้พลังงานทดแทนอย่างถูกต้องและรู้คุณค่า มีเงินรางวัลรวมกว่า 400,000 บาท  นอกจากนี้ ยังเป็นการเปิดรับฟังความเห็นจากประชาชนในด้านพลังงาน เพราะภาพ ถ่ายสามารถบอกเล่าแนวคิดของประชาชนเกี่ยวกับพลัง งานในอนาคตว่าประชาชนคิดถึงอะไร ที่ต้องเป็น "ภาพถ่าย" เพราะเห็นว่าในสมัยนี้ทุกคนมีกล้องติดตัว เมื่อเจออะไรที่ประทับใจมักควักออกมาถ่ายกันทันที  ง่ายกว่าการจัดประกวดวาดภาพที่คิดไว้แต่แรก เพราะภาพวาดต้องใช้ฝีมือและจินตนาการที่สูงมาก ต้องเป็นคนที่วาดรูปเป็นเท่านั้นที่จะร่วมประกวดได้ กระทรวงพลังงานไม่ผิดหวังที่จัดประกวดภาพถ่าย เพราะทำให้กระทรวงรู้ถึงมุมมองที่หลากหลาย เกี่ยวกับพลังงานในอนาคตจากบุคคลหลากหลายอายุ และหลากหลายอาชีพ
    "คณะทำงานรู้สึกพอใจกับผลงานที่ออกมา บางมุมในเรื่องพลังงาน ทางกระทรวงเองยังไม่ทราบหรือเคยเห็นมาก่อน เช่น ที่บางปู ที่เกาะล้าน หรือในเรื่องนิวเคลียร์เอง แม้ไทยยังไม่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ก็ถูกสะท้อนผ่านภาพของเด็กที่นั่งอ่านหนังสือเกี่ยวกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ทำให้เห็นว่าคนไทยสนใจเรื่องนิว เคลียร์" นายสราวุธกล่าว ส่วนใหญ่ผลงานภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวด 80 เปอร์เซ็นต์ เป็นเรื่องของพลังงานธรรมชาติ อาทิ น้ำ แสงอาทิตย์ ขยะ ลม ส่วนอีก 20 เปอร์เซ็นต์ เป็นแท่นผลิตปิโตรเลียม โรงกลั่น น้ำมัน ตรงนี้จะทำให้ทราบว่า ประชาชนกับกระทรวงพลังงานมีความเข้าใจที่ตรงกันในเรื่องของการพัฒนาพลังงานในอนาคต ที่มุ่งเน้นในเรื่องพลังงานทด แทน

"รูปที่ส่งเข้าประกวดสวยๆ และมีแนวคิดดีๆ หลายรูป คณะกรรมการหารือกันว่า ผลงานที่ชนะเลิศต้องสื่อให้เห็นถึงพลังงานในอนาคตที่ชัดเจน ต้องเป็นภาพที่กระทรวงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ ได้ เพราะรูปภาพที่ส่งเข้าประกวดครั้งนี้ถือเป็นลิขสิทธิ์ของกระทรวง"

เพิ่มเติมจากข่าว

นอกจากนี้ กระทรวงพลังงานเตรียมนำผลงานที่เข้ารอบทั้ง 100 ภาพไปจัดทำเป็นไดอารี่ปฏิทินของกระทรวง ที่จะแจกจ่ายในช่วงปีใหม่  พร้อมทั้งนำทั้ง 100 ภาพไปขยายใหญ่ใส่กรอบ ติดโชว์ไว้ที่ศูนย์รวมหน่วยงานด้านพลังงานของชาติ (เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์) ที่จะเปิดใช้ภายในปีพ.ศ.2552 นี้  ส่วนภาพที่เหลือทั้งหมดจะถูกนำไปเก็บที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ  จากความสำเร็จที่เกิดขึ้นในปีนี้ กระทรวงเตรียมสานต่อโครงการประกวดภาพถ่ายในปีหน้าและปีต่อๆ ไป แต่จะตั้งโจทย์ในการประกวดให้แคบลงมา เพราะมีเสียงบ่นๆ มาว่าปีนี้โจทย์ในการร่วมส่งภาพประกวดยากเกินไป

ดังนั้น การประกวดในครั้งต่อๆ ไปจะหยิบยกมาเพียงพลังงานตัวใดตัวหนึ่งมองพลังงาน ผ่านเลนส์ระหว่าง พลังงานทดแทน พลังงานไฟฟ้า พลัง งานจากน้ำ น้ำมัน หรือก๊าซธรรมชาติ

ใครที่พลาดการประกวดในปีนี้ คว้ากล้องออกมาเก็บภาพพลังงานที่น่าสนใจไว้ตั้งแต่วันนี้ได้เลย

เผื่อมีโอกาสคว้ารางวัลจากกระทรวงพลังงานในครั้งหน้า

เนื้อหาสาระคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง

 - วิธีการคิดเป็นร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์

-เกณฑ์ในการตัดสิน/ประกวด

-จำนวนและตัวเลข

ประเด็นคำถามในห้องเรียน

1) ถ้าผลงานภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวดมีจำนวนทั้งสิ้น  800 ภาพ ผลงานที่เป็นเรื่องของพลังงานธรรมชาติจะมีกี่ภาพ

2) ถ้าผลงานทั้งหมดมี 2000 ภาพ ผลงานที่เป็นเรื่องแท่นผลิตปิโตรเลียม โรงกลั่น น้ำมันจะมีกี่ภาพ

3) ถ้าผลงานทั้งหมดมี 1000 ภาพ ร้อยละ 40 ของผลงานทั้งหมดจะมีอยู้จำนวนเท่าใด

กิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้

ผลงานภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวด 80 เปอร์เซ็นต์ เป็นเรื่องของพลังงานธรรมชาติ อาทิ น้ำ แสงอาทิตย์ ขยะ ลม

ส่วนอีก 20 เปอร์เซ็นต์ เป็นแท่นผลิตปิโตรเลียม โรงกลั่น น้ำมัน

ตรงนี้จะทำให้ทราบว่า ประชาชนกับกระทรวงพลังงานมีความเข้าใจที่ตรงกันในเรื่องของการพัฒนาพลังงานในอนาคต

ที่มุ่งเน้นในเรื่องพลังงานทด แทน

บูรณาการกับกลุ่มสาระอื่น

วิทยาศาสตร์  พลังงาน

ศิลปศึกษา

อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล  : ข่าวสดรายวัน (มาสุทธิ ตั้งภควัตกุล)

parrot.
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1650

อัพเดทล่าสุด