จัดรูปที่ดิน พลิกฟื้นผืนนา


613 ผู้ชม


"เกษตรกร" เป็นอาชีพหลักของคนไทย รายได้ส่วนใหญ่ของประเทศมาจากเกษตรกรรม ดังจะเห็นได้จากที่ไทยเราส่งออกผลผลิตทางด้านนี้เป็นลำดับต้นๆ ของโลก   

จัดรูปที่ดิน พลิกฟื้นผืนนา

จัดรูปที่ดิน พลิกฟื้นผืนนา

 
หัวข้อข่าว

"เกษตรกร" เป็นอาชีพหลักของคนไทย รายได้ส่วนใหญ่ของประเทศมาจากเกษตรกรรม ดังจะเห็นได้จากที่ไทยเราส่งออกผลผลิตทางด้านนี้เป็นลำดับต้นๆ ของโลก

รายละเอียดข่าว

  ปัญหาและอุปสรรคสำคัญของเกษตรกรที่ประ สบอยู่ในขณะนี้คือ การจัดสรรทรัพยากรน้ำ ที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ เกษตรกรบางพื้นที่ไม่สามารถทำนา ทำสวน และทำไร่ได้สะดวก เนื่องจากขาดแคลนน้ำ  เพื่อให้เกิดความสะดวกในการจัดการน้ำ รัฐบาลจึงอนุมัติจัดตั้งสำนักงานการจัดรูปที่ดิน เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนแหล่งน้ำให้เกษตรกร งานจัดรูปที่ดิน จึงเริ่มขึ้นครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ.2512 เป็นการสร้างแปลงตัวอย่างที่ ต.พักทัน อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี โดยอยู่บนเขตพื้นที่กรมชลประทาน เนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่

จากการติดตามผลของโครงการปรากฏว่า เกษตรกรได้ผลผลิตที่ดีเป็นที่น่าพอใจ จึงขยายการจัดรูปที่ดินเข้าพื้นที่ อ.จัดรูปที่ดิน พลิกฟื้นผืนนาสรรคบุรี จ.ชัยนาท เนื้อที่ประมาณ 100,000 ไร่ และขยายงานจัดรูปที่ดินไปยังภูมิภาคอื่น

ปัจจุบันโครงการจัดรูปที่ดินดำเนินการครอบคลุม 27 จังหวัด รวมพื้นที่ทั้งสิ้น 1.8 ล้านไร่ อยู่ในระหว่างดำเนินการ 4.4 ล้านไร่ คงเหลืออีก 2.6 ล้านไร่  

เร็วๆ นี้ สำนักงานจัดรูปที่ดิน จ.กาญจนบุรี ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าที่วัดถ้ำเสือ ต.ม่วงชุมชน อ. ท่าม่วง เป็นพื้นที่ต้นแบบของการจัดรูปที่ดินเมื่อปีพ.ศ.2522

เพิ่มเติมจากข่าว

ในอดีตผืนนาบริเวณนี้ขาดแคลนน้ำ และทำนาได้ปีละ 1 ครั้ง แต่เมื่อจัดรูปที่ดินผันน้ำจากเขื่อนวชิราลงกรณ์ พร้อมทั้งขุดคูทำเส้นทางน้ำ ทำถนนขนส่ง จัดรูปนาเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ปัจจุบันชาวนาที่นี่สามารถทำนาได้ปีละ 3 ครั้ง ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น และเมื่อมองลงมาจากวัดถ้ำเสือที่อยู่สูงกว่าพื้นนา จะเห็นความชุ่มชื้น และเป็นระเบียบในการจัดรูปที่นา  
ต่อจากนั้นเดินทางต่อไปยังแปลงจัดรูปที่ดินเกษตร กรบ้านดอนเขว้า ต.แสนตอ อ.ท่ามะกา เพื่อสัมผัสและพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับกลุ่มชาวนา ที่ประสบผลสำเร็จ

นายจรัญ ภูขาว ผอ.สำนักงานการจัดรูปที่ดินกลาง กรมชลประทาน กล่าวว่า การจัดรูปที่ดิน คือการพัฒนาที่ดินเกษตรกรรมให้มีความสมบูรณ์ทั่วทุกพื้นที่ เพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิต โดยรวบรวมที่ดินหลายๆ แปลงในบริเวณเดียวกันมาจัดวางผังจัดรูปที่ดินใหม่

โดยจัดระบบชลประทาน การระบายน้ำ สร้างถนนเส้นทางลำเลียงผลผลิต วางแผนการผลิต และการจำหน่ายผลิตผลการเกษตร ปรับระดับพื้นที่ดินให้สม่ำ เสมอ ปรับเปลี่ยนแปลงรูปแบบพื้นที่ทำนาที่บิดเบี้ยวให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ให้สะดวกต่อการเพาะปลูก

สำหรับแนวทางในการดำเนินการจัดรูปที่ดิน หากเกษตร กรมีความประสงค์ที่ต้องการจะเข้าโครงการจัดรูปที่ดิน เจ้าหน้าที่จะลงพื้นที่สำรวจการถือครองสิทธิที่ดินของเกษตรกร รวมถึงสำรวจแหล่งน้ำต้นทุน ว่ามีเพียงพอต่อการส่งน้ำในฤดูแล้งหรือไม่ หากมีเพียงพอก็จะตั้งโครงการขึ้นมาศึกษา โดยนำที่ดินมาวางแปลงจัดรูปจัดเส้นทางการผันน้ำ คูน้ำ ถนน แปลงเพาะปลูกใหม่ เพื่อให้เหมาะสมต่อการทำเกษตรกรรม

แต่ทั้งนี้เกษตรกรต้องยอมเสียสละที่ดิน สำหรับใช้ในการก่อสร้างสิ่งสาธารณะที่ใช้ประโยชน์ไม่เกิน 7 เปอร์เซ็นต์ และหากเข้าร่วมโครงการ จะต้องอยู่ภายใต้การตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ เพื่อไม่ให้มีการเปลี่ยนมือผู้ถือครองที่ดินให้กับหน่วยงานเอกชน ส่วนขั้นตอนในการดำเนินการจัดรูปที่ดินต้องใช้เวลาทั้งสิ้น 5 ปี

ด้าน นายณภัทร นิยมธรรม หัวหน้าสำนักงานจัดรูปที่ดิน จ.กาญจนบุรี เปิดเผยว่า กาญจนบุรีเริ่มจัดรูปที่ดินตั้งแต่ปีพ.ศ. 2522-2544 บนเนื้อที่ 111,955 ไร่ แบ่งเป็นครอบคลุมพื้นที่ อ.ท่าม่วง 22,683 ไร่, อ.ท่ามะกา 53,053 ไร่, อ.พนมทวน 26,744 ไร่, และ อ.ห้วยกระเจา 9,475 ไร่ โดยแยกเป็นปลูกข้าว อ้อย พืชสวน ข้าวโพดฝักอ่อน เลี้ยงสัตว์น้ำ และอื่นๆ

เมื่อเปรียบเทียบผลผลิตก่อนและหลังการจัดรูปที่ดิน พบว่าเดิมเกษตรกรทำนาปีได้ประมาณ 40-50 ก.ก.ต่อไร่ และไม่สามารถปลูกนาปรังได้ เมื่อจัดรูปที่ดินแล้ว เกษตรกรสามารถทำนาปีได้ผลผลิต 80-90 ก.ก.ต่อไร่ สามารถทำนาปรังผลผลิตได้ 80-100 ก.ก.ต่อไร่ ส่วน ผลผลิตพืชส่วนไร่นาก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก

"จะเห็นว่าเมื่อมีการจัดรูปที่ดิน เกษตรกรจะได้รับผลประโยชน์อย่างเต็มที่ แปลงนาได้รับน้ำโดยตรง สามารถระบายน้ำได้ตามความต้องการ โดยไม่ต้องผ่านแปลงนาผู้อื่น ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังลดต้นทุนการขนส่ง เพราะพ่อค้าสามารถเข้ามารับซื้อผลผลิตได้โดยตรง"

นายปรีชา สมรูป อายุ 50 ปี ชาวนาบ้านหนองพลับ ต.แสนตอ อ.ท่ามะกา กล่าวว่า ปัจจุบันมีที่นาทำกิน 40 ไร่ แต่ก่อนที่จะมีการจัดรูปที่ดิน ชาวนาทำนาได้ปีละครั้งเดียว เพราะไม่มีน้ำเพียงพอต่อการทำนาปรัง ทำให้ไม่มีรายได้เพียงพอต่อการเลี้ยงครอบ ครัว จึงตัดสิน ใจเข้าไปทำงานในเมืองหลายปี

กระทั่งเมื่อปีพ.ศ.2546 เริ่มการจัดรูปที่ดิน มีการผันน้ำเข้านาครอบคลุมทุกพื้นที่ จึงตัดสินใจหันกลับมายึดอาชีพทำนาเหมือนเดิม ทุกวันนี้สามารถทำนาได้ปีละ 2 ครั้ง และมีน้ำเพียงพอต่อการทำนาปรัง ตลอดทั้งปีสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ประมาณ 20 ถังต่อ 1 ไร่ หักค่าเช่า ค่าใช้จ่ายในการบำรุงที่นา และผลผลิต ยังมีเงินเหลือเก็บไว้ใช้จ่ายในอนาคตอีก

"ปัจจุบันนี้ ผมมีรถไถนา รถเกี่ยวข้าว และรถบรรทุกเป็นของตัวเอง สามารถไปรับจ้างเก็บเกี่ยวข้าวเพื่อเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่ง หลังจากที่จัดรูปที่ดินทำให้นามีน้ำที่อุดมสมบูรณ์ ทุกวันนี้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นมาก หากเป็นไปได้อยากให้ทุกฝ่ายเข้าไปจัดรูปที่ดินในพื้นที่นาที่กันดาร แห้งแล้ง เพื่อที่ชีวิตของคนทำนาในหลายพื้นที่จะได้ดีขึ้นกว่าเดิม"

การจัดรูปที่ดินมีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาทางด้านเกษตรกรรมของประเทศ หากขยับขยายโครงการเข้าไปในภูมิภาคที่ประสบภัยแล้ง เชื่อว่าเกษตรกรไทยจะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

เนื้อหาสาระคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง

พื้นที่และหน่วยการวัดความยาว

   1  ไร่   เท่ากับ  4  งาน

  1  งาน เท่ากับ 100  ตารางวา

 1  ตารางวา  เท่ากับ  4 ตารางเมตร

 1  วา   เท่ากับ 2  เมตร

ประเด็นคำถามในห้องเรียน

 1)   พื้นที่ 1.8 ล้านไร่ คิดเป็นกี่งาน

 2) พื้นที่ อำเภอท่าม่วง 22,683 ไร่  คิดเป็นกี่ตารางเมตร

3) เดิมเกษตรกรทำนาได้ปีละ 50 กิโลกรัมต่อไร่ ถ้าเกษตรกรอำเภอท่ามะกา มีพื้นที่ 53,053 ไร่  ใน 1 ปีจะได้ข้าวเท่าใด

4) ถ้าเกษตรกรทำนาปีได้ผลผลิต 80 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรอำเภอพนมทวนมีพื้นที่ 26,744 ไร่ จะผลิตข้าวได้กี่กิโลกรัม ต่อไป

กิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้

-โครงการจัดรูปที่ดินดำเนินการครอบคลุม 27 จังหวัด รวมพื้นที่ทั้งสิ้น 1.8 ล้านไร่ อยู่ในระหว่างดำเนินการ 4.4 ล้านไร่ คงเหลืออีก 2.6 ล้านไร่  

-กาญจนบุรีเริ่มจัดรูปที่ดินตั้งแต่ปีพ.ศ. 2522-2544 บนเนื้อที่ 111,955 ไร่ แบ่งเป็นครอบคลุมพื้นที่ อ.ท่าม่วง 22,683 ไร่, อ.ท่ามะกา 53,053 ไร่, อ.พนมทวน 26,744 ไร่, และ อ.ห้วยกระเจา 9,475 ไร่ โดยแยกเป็นปลูกข้าว อ้อย พืชสวน ข้าวโพดฝักอ่อน เลี้ยงสัตว์น้ำ และอื่นๆ

-เดิมเกษตรกรทำนาปีได้ประมาณ 40-50 ก.ก.ต่อไร่ และไม่สามารถปลูกนาปรังได้ เมื่อจัดรูปที่ดินแล้ว เกษตรกรสามารถทำนาปีได้ผลผลิต 80-90 ก.ก.ต่อไร่ สามารถทำนาปรังผลผลิตได้ 80-100 ก.ก.ต่อไร่

บูรณาการกับกลุ่มสาระอื่น

สังคมศึกษา

ภาษาไทย

ศิลปะศึกษา

เกษตรและอุตสาหกรรม

อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล : ข่าวสดรายวัน (นุเทพ สารภิรมย์)

parrot.

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1651

อัพเดทล่าสุด