หนี้นอกระบบแก้ไขอย่างฉลาดด้วยคณิตศาสตร์


735 ผู้ชม


โดยรัฐบาลตั้งเป้าว่าจะทำการช่วยเหลือเท่าที่ทำได้และจะแยกประเภทและที่มา ของหนี้นอกระบบ ไม่ได้มีเจตนาช่วยเหลือหนี้ที่เกิดขึ้นจากการบริโภคที่ฟุ่มเฟือย แต่จะมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับหนี้ที่มาจากการดำรงชีวิตจริง   

                       หนี้นอกระบบแก้ไขอย่างฉลาดด้วยคณิตศาสตร์
โดยรัฐบาลตั้งเป้าว่าจะทำการช่วยเหลือเท่าที่ทำได้และจะแยกประเภทและที่มา ของหนี้นอกระบบ ไม่ได้มีเจตนาช่วยเหลือหนี้ที่เกิดขึ้นจากการบริโภคที่ฟุ่มเฟือย แต่จะมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับหนี้ที่มาจากการดำรงชีวิตจริง
วิธีแก้ไขที่ดีที่สุดยึดพระราชดำรัสของในหลวงดำรงชีวิตอย่างพอเพียง  รู้จักประมาณ  อดออม  ขยัน  ช่วยเหลือตนเอง

ออมสินพร้อมแก้หนี้นอกระบบให้กู้รายละแสนหนี้นอกระบบ

         ที่มา คมชัดลึก :ธนาคารออมสินพร้อมขึ้นทะเบียนแก้หนี้นอกระบบ เล็งคัดแยกกลุ่มประชาชน ผู้ประกอบการรายย่อย โชห่วย หลังมีลูกหนี้แห่ขอกู้รายละ 1 แสนบาท แต่ต้องเจรจากับเจ้าหนี้เอง

นายเลอศักดิ์ จุลเทศ ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวถึงนโยบายการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบว่า ขณะนี้ยังไม่ได้รับนโยบาย
จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แต่เบื้องต้นธนาคารได้ให้ความช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อนอยู่แล้วทั้งการขาด
สภาพคล่องและการเป็นหนี้นอกระบบ
 โดยที่ผ่านมามีประชาชนเข้ามาขอกู้เงินอัตราดอกเบี้ยต่ำไปชำระหนี้นอกระบบมากขึ้น เฉพาะช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีจำนวน 12 ราย ให้กู้รายละ 1 แสนบาท 
คิดอัตราดอกเบี้ยเท่าธนาคารประชาชน ซึ่งอยู่ในระดับ 0.5% ต่อเดือน ถือว่าต่ำมากหากเทียบกับการกู้เงินนอกระบบที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงถึง 20-30% ต่อเดือน
ส่งผลให้สินเชื่อโดยรวมของธนาคารในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ พุ่งขึ้นไปกว่า 2.5 แสนล้านบาทแล้ว โดยมีรายย่อยกู้เพิ่มจาก 1.6 ล้านรายเป็น 1.8 ล้านราย
 ทั้งนี้ หากจะให้ออมสินเข้ามาแก้ไขหนี้นอกระบบก็พร้อมจะดำเนินการรับลงทะเบียนได้ทันที เพราะออมสินมีสาขาทั่วประเทศกว่า 600 สาขา
 แต่การช่วยเหลือคงต้องมีการคัดแยกว่าเป็นกลุ่มไหน มีหนี้สินจากสาเหตุใด และใครเป็นเจ้าหนี้ หากเป็นกลุ่มเกษตรกรก็เป็นหน้าที่ของธนาคารเพื่อการเกษตร
และสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) จะเป็นผู้ดูแล แต่หากเป็นผู้ประกอบการรายย่อย โชห่วย ที่มีหนี้สินจากการประกอบอาชีพ และเพื่อการดำรงชีพธนาคารก็
จะยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ“หากช่วยเหลือคงไม่สามารถช่วยได้ทุกรายต้องดูว่าเป็นกลุ่มไหน และมีหนี้สินจากการประกอบอาชีพจริง 
เพื่อคัดเลือกกลุ่มที่มีหนี้สินจากการพนันหรือทำอาชีพไม่สุจริต และการเจรจากับเจ้าหนี้คงเป็นหน้าที่ของลูกหนี้เอง 
เพราะหากเจ้าหน้าที่แบงก์เข้าไปเจรจาคงไม่เหมาะสมนัก เพราะธนาคารไม่ทราบว่าเป็นเจ้าหนี้เป็นใครซึ่งอาจเป็นกลุ่มผู้มีอิทธิพล” นายเลอศักดิ์ กล่าว
ส่วนผลการดำเนินการงานในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา แม้จะปล่อยสินเชื่อแล้วกว่า 2.52 แสนล้านบาท เกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ 
ธนาคารก็พร้อมจะขยายสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะธนาคารประชาชนและสินเชื่อห้องแถว โดยไม่ต้องกังวลเรื่องปัญหาหนี้เสีย 
เพราะปัจจุบันลดลงเหลือเพียง 3% หรือ 1.9 หมื่นล้านบาท ขณะที่ผลกำไร 8 เดือนสูงถึง 9.8 พันล้านบาท

ธนาคารออมสินช่วยปลดหนี้นอกระบบ

1.คุณสมบัติของผู้กู้
1.1 มีอายุครบ 20 ปี บริบูรณ์แต่เมื่อรวมระยะเวลาผ่อนชำระหนี้จะต้องไม่เกิน 65 ปี ในกรณีที่ผู้ขอกู้อายุเกิน 65 ปี จะต้องมีผู้กู้ร่วมที่มีอายุครบ 20 ปี บริฐูรณ์ และเมื่อรวมระยะเวลาผ่อนชำระหนี้ต้องไม่เกิน 65 ปี
1.2 มีอาชีพอื่นๆ ที่ไม่ใช่ภาคเกษตร โดยประกอบอาชีพหรือทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน
1.3 เป็นผู้มีถิ่นที่อยู่แน่นอนสามารถติดต่อได้
1.4 มีสถานที่ประกอบอาชีพแน่นอน อยู่ในพื้นที่เดียวกับธนาคารออมสินสาขาที่ติดต่อ
1.5 เป็นผู้ที่ได้จดทะเบียนคนจน และผ่านการเจรจาปรับหนี้โดยศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะปัญหาความยากจนแห่งชาติ (ศตจ.) ระดับพื้นที่แล้ว
1.6 มีบัญชีเงินฝากกับธนาคารออมสิน

2. วัตถุประสงค์การขอกู้
เพื่อชำระหนี้นอกระบบซึ่งเป็นหนี้ที่ถูกกฎหมาย และเป็นหนี้อันเกิดจากการดำเนินธุรกิจ และหรือการอุปโภคบริโภค

3. จำนวนเงินให้กู้
ไม่เกินรายละ 100,000 บาท ยกเว้นในกรณีที่จำนวนเงินให้กู้ในส่วนที่เกิน 100,000 บาทเป็นค่าเบี้ยประกันชีวิตเพื่อประกันสินเชื่อสามารถให้กู้ได้

4. ระยะเวลากู้   ไม่เกิน 5 ปี

5. วิธีการชำระคืนเงินกู้
ชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นงวดรายเดือน

6. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้และค่าธรรมเนียมในกรณีผิดนัดชำระหนี้
เป็นไปตามที่ธนาคารประกาศกำหนด ณ วันที่ออกคำสั่งนี้ คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อเดือน และค่าธรรมเนียมในกรณีผิดนัดชำระหนี้ต่องวดๆละ 50 บาท

7. หลักประกันในการกู้เงิน
สามารถใช้หลักประกันประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือ หลายประเภทรวมกันได้ดังนี้
7.1 กรณีใช้บุคคลค้ำประกัน
7.1.1 วงเงินให้กู้ไม่เกิน 30,000 บาท ให้ใช้บุคคลซึ่งธนาคารให้ความเชื่อถือและมีรายได้จำนวน 1 คน ค้ำประกัน
7.1.2 วงเงินให้กู้เกิน 30,000 บาท ให้ใช้บุคคลซึ่งธนาคารให้ความเชื่อถือและมีรายได้จำนวน 2 คน ค้ำประกัน หรือใช้ข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ จำนวน 1 คน ค้ำประกัน
7.1.3 บุคคลที่ธนาคารให้ความเชื่อถือและมีรายได้จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
- เป็นบุคคลที่มีอายุครบ 20 ปี บริบูรณ์ และเมื่อรวมอายุผู้ค้ำประกันกับระยะเวลากู้แล้วไม่เกิน 65 ปี
- มีถิ่นที่อยู่ และรายได้แน่นอน
- ค้ำประกันผู้กู้ได้ไม่เกิน 2 คน
7.2 กรณีใช้หลักทรัพย์ประเภทอื่นที่เป็นของตนเอง หรือผู้อื่นที่ยินยอมค้ำประกัน
7.2.1 สมุดฝากเงินออมสิน และหรือสลากออมสินพิเศษ ให้กู้ได้ 100 % ของมูลค่าโดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
- เป็นของสาขาที่ให้กู้เงิน และ
- มอบให้ธนาคารยึดถือ พร้อมทั้งโอนสิทธิการถอนไว้ให้ธนาคาร
7.2.2 หลักประกันอื่นตามที่ธนาคารเห็นสมควร

8. ค่าธรรมเนียม
8.1 ยกเว้นค่าธรรมเนียม การประเมินราคาหลักทรัพย์ และค่าธรรมเนียมการขอสินเชื่อ
8.2 ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตรวจสภาพหลักประกันตามประกาศของธนาคาร
8.3 ในกรณีที่ผู้กู้ผิดนัดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรให้คิดค่าธรรมเนียมการค้างชำระต่องวดๆ ละ 50 บาททุกวงเงินที่ค้างชำระ

9. เงื่อนไขอื่นๆ 
9.1 ผู้กู้ต้องทำประกันชีวิตเพื่อประกันสินเชื่อกับบริษัทที่ธนาคารกำหนด สำหรับผู้กู้ตั้งแต่ 30,000 บาท ขึ้นไป
9.2 หลังจากได้รับเงินกู้ธนาคารแล้ว ต้องมีการฝากเงินกับธนาคารสม่ำเสมอทุกเดือน

จาก  ออมสินพร้อมแก้หนี้นอกระบบให้กู้รายละแสนน   กระทรวงการคลัง

นื้อหา         คณิตศาสตร์  การคิดดอกเบี้ย  ร้อยละ  อัตราดอกเบี้ย
บูรณาการ    สังคมศึกษา  ความซื่อสัตย์ในการเป็นจริงกู้เท่าจำนวนหนี้ไม่สร้างหลักฐานเท็จ
                   การประกอบอาชีพ

โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์  
 นางแดงเป็นหนี้นอกระบบจำนวน  80,000   บาท   ต้องการกู้เงินจากศูนย์อำนวยการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน  จากธนาคารออมสิน
โดยคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ  12 บาท /ปี  อยากทราบว่า
              1.  นางแดงต้องเสียดอกเบี้ยในเวลา  5  ปีเป็นจำนวนเงินเท่าใด
              2.  นางแดงต้องเงินกับธนาคารออมสินเดือนละเท่าไร

ทักษะการคิด
            นางแดงกู้เงินจากธนาคารออมสิน  100  บาท  เสียดอกเบี้ย            12    บาท/ปี
            นางแดงกู้เงินจากธนาคารออมสิน  80,000  บาท  
            เสียดอกเบี้ย    12    ×80,000  ÷ 100    บาท 
           นางแดงเสียดอกเบี้ยในเวลา  1  ปี  จำนวน   9,600  บาท
      ปีที่  1  เสียดอกเบี้ย                9,600  บาท
            นางแดงเสียดอกเบี้ยเดือนละ  9,600  ÷  12  =  800  บาท
             นางแดงส่งเงินต้น  80,000  บาท  ในเวลา  5 ปี  
             ต้องส่งเดือนละ    
80,000  ÷  60  = 1334 บาท/เดือน 
            ส่งเดือนละประมาณ  1350  บาท 
            นางแดงต้องส่งเงินกับธนาคารออมสินเดือนละ  1350  +  800 =  2160  บาท
     ปีที่  2  ส่งเงินต้นไปในปีที่  2  จำนวน  16,200  บาท
              จะเหลือเงินต้น  80,000  -  16200  = 63800  บาท
              เสียดอกเบี้ย                63,800  ×12 ÷   100  =  7656  บาท  
             เสียดอกเบี้ยเดือนละ  638  บาท
             ส่งเดือนละ  1350 + 638  =  1988  บาท
    ปีที่  3  ส่งเงินต้นไปในปีที่  3  จำนวน  16,200  บาท
             จะเหลือเงินต้น  63,800  -  16200  = 47,600  บาท
              เสียดอกเบี้ย                47,600 ×12  ÷ 100  =  5712  บาท 
              เสียดอกเบี้ยเดือนละ  476  บาท
              ส่งเดือนละ  1350 +  476  =  1826  บาท
     ปีที่  4  ส่งเงินต้นไปในปีที่  4  จำนวน  16,200  บาท
              จะเหลือเงินต้น  47,600  -  16200  = 31,400  บาท
              เสียดอกเบี้ย                31,400 ×12 ÷   100  =  3768   บาท 
             เสียดอกเบี้ยเดือนละ  314   บาท
             ส่งเดือนละ  1350 +  314  =  1664 บาท
     ปีที่  5  ส่งเงินต้นไปในปีที่  5  จำนวน  16,200  บาท
              จะเหลือเงินต้น  31,400  -  16200  =  15,200  บาท
             เสียดอกเบี้ย                15,200 ×12 ÷   100   =  1824   บาท  
              เสียดอกเบี้ยเดือนละ  152   บาท
              ส่งเดือนละ  1350 +  152  =  1502  บาท
               ในเวลา 5  ปี  นางแดงต้องเสียดอกเบี้ยวมทั้งหมด  

                 9600  + 7656 + 5712 + 3768 + 1824  = 28,560  บาท
       นางแดงต้องส่งเงินทั้งหมดในเวลา  5  ปี
       
ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย   80,000  +  28, 560 = 108,560  บาท
 เป็นวิธีคิดทางหนึ่งไม่ทราบธนาคารจะคิดอย่างนี้หรือไม่แต่ก็คงไม่แตกต่างกันมากเท่าไรนะค่ะ

ประเด็นคำถาม   
      นางแดงเป็นหนี้นอกระบบจำนวน  100,000  บาท  ต้องการกู้เงินจำนวน 100,000  บาทกับะนาคารออมสินในเวลา  5 ปี  เสียดอกเบี้ยร้อยละ  1บาท
ต้องเสียดอกเบี้ยทั้งหมดเป็นจำนวนเงินเท่าไร  ในปีแรกต้องเสียดอกเบี้ยเท่าไร  และต้องส่งเงินต้นเดือนละเท่าไร  
ในปีแรกต้องส่งเงินทั้งต้นและดอกเบี้ยเดือนละเท่าไร

จัดทำโดย
            นางบุญส่งใหญ่โต  ครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนอนุบาลสรรคบุรี  
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยนาท


         ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1793

อัพเดทล่าสุด