โครงงานการสูญเปล่าของขยะในโรงเรียน (ตอน 2)


742 ผู้ชม


ขยะเหล่านั้นมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนสร้างปัญหาให้แก่สังคมมากมาย เช่น ส่งกลิ่นเหม็น เป็นพิษต่อร่างกาย ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม   

                                                                                         บทที่  3
                                                         วิธีการดำเนินงาน
            1.ประชุมสมาชิกในกลุ่ม  เพื่อกำหนดแนวทางการทำงาน  ได้ตกลงกำหนดการทำงานไว้  2  ระยะ  คือระยะแรกจะสำรวจการแยกขยะของนักเรียนแต่ละห้องและระยะที่สองจะสำรวจการสูญเปล่าของขยะในแต่ละวัน
            2.เริ่มสำรวจเรื่องการแยกขยะของแต่ละห้องเรียน  ดังนี้
               (1) สมาชิกในกลุ่มทุกคนออกสำรวจห้องเรียนแต่ละห้องว่าแยกขยะหรือไม่ได้แยก  แล้วบันทึกลงในแบบบันทึก  โดยสำรวจห้องเรียนทั้งหมดจำนวน  18  ห้อง  สำรวจห้องละ  3 ครั้ง
               (2) นำผลจำนวนห้องที่แยกขยะและไม่แยกขยะที่บันทึกไว้จากการสำรวจแต่ละครั้งมาประเมินผลเป็นค่าร้อยละ
               (3)  นำผลประเมินทั้ง  3  ครั้งมาสรุปผลค่าเฉลี่ยการแยกขยะของนักเรียนแต่ละห้องในโรงเรียนอนุบาลสรรคบุรี
รวมระยะเวลาการเก็บรวบรวมข้อมูล  6 วัน
           3. ดำเนินการสำรวจเรื่องการสูญเปล่าของขยะในโรงเรียนในแต่ละวัน
               (1) ให้สมาชิกในกลุ่ม2  คน  ไปสัมภาษณ์และเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประเภทของขยะที่ขายได้และราคาของขยะแต่ละประเภท  โดยสำรวจจากนายเดชา  คงแจ๋ว  213  ซอย  4  ถนนหน้าพระลาน  ตำบลแพรกศรีราชา  อำเภอสรรคบุรี  จังหวัดชัยนาท  แล้วบันทึกข้อมูลไว้
               (2) สมาชิกในกลุ่มทุกคนช่วยกันเก็บรวบรวมขยะจากห้องเรียน  ห้องที่แยกขยะแห้งและขยะเปียกไว้  โดยเก็บรวบรวมขยะจากห้องเรียนจำนวน  18  ห้องเรียน
               (3)  นำขยะที่เก็บรวมได้มาแยกออกเป็นประเภทได้ขยะที่สามารถขายได้ 6 ประเภท ได้แก่ กระดาษทั่วไป กรดาษสมุด กระดาษแข็ง ขวดน้ำพลาสติก (ขวดขาวขุ่น) พลาสติกเพ็ต (ขวดใส) และพลาสติกรวม (ขวดนม)
               (4)  นำขยะแต่ละประเภทมาชั่งน้ำหนัก แล้วคิดออกมาเป็นเงินจะได้ จำนวนเงินค่าขยะจากที่รวบรวมมาจำนวน  9 ห้อง
               (5)  หาจำนวนเงินขยะในโรงเรียนอนุบาลสรรคบุรีทั้งหมดจำนวน 18 ห้องเป็นเงินที่คิดว่าควรจะขายได้ในแต่ละวัน
               (6)   หาจำนวนเงินของขยะในโรงเรียนอนุบาลสรรคบุรีที่สูญเปล่าไปจากกาทิ้งขยะในเวลา 1 ปี โดยคิดจากจำนวนวันที่เปิดเรียนประมาณ 10 เดือนหรือประมาณ 200 วัน
               (7)  หาค่าเฉลี่ยจำนวนเงินที่สูญเปล่าจากการทิ้งขยะของโรงเรียน 1 คนในเวลา 1 ปี
               (8)  หาจำนวนเงินของขยะที่สูญเปล่าจากการทิ้งขยะของนักเรียนทั้งหมดที่สังกัดโรงเรียนอนุบาลสรรคบุรี ของนักเรียนในปีการศึกษา 2552
                   รวมระยะเวลาการเก็บรวบรวมข้อมูล  5  วัน
           4   รณณรงค์การแยกขยะ  โดยจัดทำป้ายเชิญชวนการแยกขยะติดตามห้องเรียนและตาม
จุดต่างๆ  เช่น  บริเวณโรงอาหาร  บริเวณจุดทิ้งขยะของโรงเรียนระยะเวลา  5  วัน
           5.   สมาชิกในกลุ่มออกสำรวจการแยกขยะใหม่อีกครั้งหลังรณรงค์  1  อาทิตย์ดังนี้
               (1) สำรวจห้องเรียนแต่ละห้องจำนวน 18  ห้อง  ว่าแยกขยะหรือไม่ได้แยก   ได้สำรวจ 3  ครั้ง  บันทึกผลในแบบบันทึก
               (2)  นำผลบันทึกแต่ละครั้งไปประเมินผลหาค่าคิดเป็นร้อยละ
               (3)   สรุปผลหาค่าเฉลี่ยการแยกขยะหลังการรณรงค์
                              รวมระยะเวลา  6  วัน
         6. นำผลการประเมินของการแยกขยะก่อนและหลังรณรงค์มาเปรียบเทียบกัน
         7.  เพื่อมิให้ขยะที่ยังมีประโยชน์ต้องสูญเปล่าไปโดยเปล่าประโยชน์  และลดมลพิษในการเผาไหม้  ดังนั้นกลุ่มผู้จัดทำจึงได้รวมกลุ่มกับนักเรียนในห้องอีก  2  คนเก็บรวบรวมขยะ
ในส่วนที่สามารถขายได้มารวบรวมไว้แล้วนำไปขาย
รวมระยะเวลาดำเนินการ  4   สิงหาคม    2552  ถึง  19  กันยายน  2552

 


                                                   บทที่  4
                                             ผลการดำเนินการ
ตารางแสดงจำนวนห้องการแยกขยะ
ครั้งที่สำรวจ จำนวนห้องที่แยกขยะ จำนวนห้องที่ไม่แยกขยะ ห้องแยกขยะคิดเป็นร้อยละ ห้องไม่แยกขยะคิดเป็นร้อยละ
1                             5              13 5 x 100  ÷ 18 =27.77              13 x 100  ÷ 18   =72.22

2                             8              10 8 x 100  ÷ 18  = 44.45              10x 100  ÷ 18   =55.55

3                             9               9              9 x 100  ÷ 18  = 50.00            9 x 100  ÷ 18  =  50.00                                        =50.00

จำนวนห้องที่แยกขยะคิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ  =    27.77 + 44.45 + 50  ÷ 3  =  40.74
จำนวนห้องที่ไม่แยกขยะคิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ  =  72.22 +55.55 +50 ÷ 3   = 59.25

 


                         ตารางแสดงประเภทและราคาของขยะ
 ประเภทของขยะ                        ราคา(บาท/กก.)
กระดาษทั่วไป                             1.50
กระดาษสมุด                             3.00โครงงานการสูญเปล่าของขยะในโรงเรียน (ตอน 2)
กระดาษแข็ง                             2.
ขวดน้ำโพลาลิส ( ขวดน้ำขาวขุ่น)             8.00
พลาสติกเพ็ต  (ขวดน้ำใส )              2.00
พลาสติกรวม ( เช่น ขวดนม )              4.00
ขวดสปอนเซอร์                            2.00
แก้วขาว ( ขวดเล็กใส )              0.60
แก้วสี  (ขวดเล็กสีน้ำตาล)              0.50
เหล็กบาง                                          1.50
เหล็กย่อย                                          2.00
เหล็กหล่อ                                          4.00
เหล็กหนา                                          3.00
ทองแดงเส้นเล็ก                           40.00
ทองแดงเส้นหนา                           45.00
อะลูมิเนียมหนา                           27.00
อะลูมิเนียมบาง                           35.00
ท่อพีวีซีสีฟ้า                            4.00
สายยางอ่อนใส                            7.00
สายยางเขียว                            3.00
รองเท้ายาง                            5.00
รองเท้าบูต                                          6.00
กระป๋องเบียร์                           24.00
ฝาขวด                                          10.00โครงงานการสูญเปล่าของขยะในโรงเรียน (ตอน 2)
มุ้งลวด                                          5.00
หม้อแบต เตอรี่                            4.00
ผ้าเบรก  กระทะ                           18.00

                                      ตารางแสดงรายการขยะกับจำนวนเงิน
รายการขยะ น้ำหนัก (กรัม) น้ำหนัก ราคา  (บาท/กก.) จำนวนเงิน (บาท)
กระดาษทั่วไป 2440                 2.44 1.50                    3.66
การดาษสมุด 450                 4.50 3.00                    13.50
กระดาษแข็ง 280                  0.28 2.50                    0.7
ขวดน้ำโพลาลิส 320                  3.20 8.00                    25.6
พลาสติกเพ็ต 190                  0.19 2.00                    0.38
พลาสติกรวม 90                  0.09 4.00                    0.36
            รวม   44.20  บาท
หมายเหตุ  เป็นจำนวนขยะที่ได้จากจำนวนห้องเรียน  9  ห้อง
ขยะจากห้องเรียนจำนวน  9  ห้อง  จะขายได้เป็นเงิน  44.20        บาท
ขยะจากห้องเรียนจำนวน  18  ห้อง  จะขายได้เป็นเงิน   =  39.78  บาท
ดังนั้น  ขยะในโรงเรียนจำนวน  18  ห้อง  ถ้านำไปขายจะได้เป็นเงินวันละ 39.78  บาท
แสดงว่าการทิ้งขยะในโรงเรียนอนุบาลสรรคบุรีทำให้เกิดการสูญเปล่าวันละ 39.78  บาท
เวลา  1  วัน  เกิดการสูญเปล่าเป็นเงิน    39.78  บาท
เวลา  200  วัน  เกิดการสูญเปล่าเป็นเงิน   39.78x200  =  7956  บาท
ดังนั้น  โรงเรียนอนุบาลสรรคบุรีจะเกิดการสูญเปล่าจากการทิ้งขยะเป็นเงิน   7956  บาท/ปี
คิดเวลา  1  ปี  เท่ากับเวลาที่มาเรียนประมาณ           200      วัน
               โรงเรียนอนุบาลสรรคบุรีมีนักเรียน   579  คน
นักเรียน  579  คน  ทิ้งขยะทำให้สูญเปล่าคิดเป็นเงินปีละ    =  13.74 x 579 = 7956  บาท 
               แสดงว่าถ้านักเรียนทิ้งขยะจะทำให้เกิดการสูญเปล่าคนละ  13.74  บาท

 


                                                 ตารางแสดงจำนวนเงินที่สูญเปล่า
จำนวนนักเรียน  (คน) จำนวนเงินที่สูญเปล่า  (บาท/ปี)
          1                        13.74
          579
โรงเรียนอนุบาลสรรคบุรี 579 x  13.74  =  7956
  รวม 7956 บาท/ปี
ตารางการแยกขยะหลังรณรงค์
ครั้งที่สำรวจ จำนวนห้องที่แยกขยะ จำนวนห้องที่ไม่แยกขยะ ห้องแยกขยะคิดเป็นร้อยละ ห้องไม่แยกขยะคิดเป็นร้อยละ
1                               11                 7                  11 x 100  ÷ 18  =61.11           7   x 100  ÷ 18 =38.89

2                               12                 6                 12x 100  ÷ 18  =66.66       6   x 100  ÷ 18 =33.33 

3                               13                 5                 13 x 100  ÷ 18 =72.22            5  x 100  ÷ 18  =27.77 

จำนวนห้องที่แยกขยะคิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ  =61.11+ 66.66+72.22 ÷3   =  66.67  
จำนวนห้องที่ไม่แยกขยะคิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ  = 38.89 +33.33 +27.77  = 33.33

 

                                                     บทที่  5
                             สรุปผลการดำเนินการ/อภิปรายผลการดำเนินการ
 ผู้จัดทำโครงงานการสูญเปล่าของขยะของโรงเรียนอนุบาลสรรคบุรี  ได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยปรากฏผลดังต่อไปนี้ 
                         1  .จำนวนห้องเรียนที่แยกขยะก่อนการรณรงค์เฉลี่ยร้อยละ  40.74  และจำนวนห้องเรียนที่แยกขยะหลังรณรงค์เฉลี่ยร้อยละ  67.67
                         2. จำนวนเงินที่สูญเปล่าจากการทิ้งขยะในโรงเรียนอนุบาลสรรคบุรีเป็นจำนวนเงิน 39.78   บาท/วัน    และคิดเป็นจำนวนเงิน   7956   บาทต่อปี
                         3.   เพื่อสร้างจิตสำนึกและรณรงค์ให้กลุ่มเป้าหมายได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการรักษาความสะอาดโรงเรียนอนุบาลสรรคบุรี  เพื่อให้ความรู้เพิ่มเติมแก่กลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับ ขยะ ประเภทของขยะและวิธีการในการแยกขยะ   เสริมสร้างลักษณะนิสัยที่ดีในการแยกขยะก่อนทิ้งให้แก่กลุ่มเป้าหมาย   เสริมสร้างให้กลุ่มเป้าหมายได้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการนำขยะที่ทำ การแยกแล้วมาประดิษฐ์เป็นสิ่งของเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยต่าง ๆ

อภิปรายผล
           1.การสูญเปล่าของขยะในโรงเรียนอนุบาลสรรคบุรี  น่าจะมีจำนวนเงินมากกว่าที่ได้คิดไว้  เนื่องจากผู้จัดทำไม่ได้รวมถึงขยะที่สูญเปล่าจากจุดต่างๆ  
เช่นจากถังขยะบริเวณโรงอาหาร  และถังขยะตามบริเวณรอบๆ โรงเรียน
           2. ขยะบางส่วนที่ขายไม่ได้  เช่น แก้วน้ำใส่น้ำผลไม้  หรือเครื่องดื่มก็สามารถนำมาทำให้เกิดประโยชน์ด้านอื่นได้  เช่น  ใช้ประดิษฐ์ในงานประดิษฐ์
งานฝีมือ

ประโยชน์ของโครงงาน
                 1. กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประเภทของขยะ และวิธีการแยกขยะ
ที่ถูกต้อง
                2. กลุ่มเป้าหมายสามารถแยกขยะแต่ละประเภทที่ไม่ใช้แล้วทิ้งได้ ....และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริงในชีวิตประจำวัน
                3. กลุ่มเป้าหมายสามารถนำขยะที่ไม่ใช้แล้วมากทำให้เกิดประโยชน์ โดยการนำมากประดิษฐ์เป็นสิ่งของต่าง ๆ ...เพื่อนำกลับมากใช้ประโยชน์
ใหม่ได้
                4. กลุ่มเป้าหมายตระหนักถึงความสำคัญในการกรักษาความสะอาด และความสำคัญของสิ่งแวดล้อมได้

จัดทำโดย  นางบุญส่ง   ใหญ่โต  ครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนอนุบาลสรรคบุรี 

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1833

อัพเดทล่าสุด