อัตราส่วนการผลักดันร่างพ.ร.บ.เงินเดือนเงินวิทยะฐานะครู(ฉบับร่างนะคะ)


528 ผู้ชม


อัตราส่วนของจำนวนในการผลักดันร่างพ.ร.บ.เงินเดือนเงินวิทยะฐานะครู   

อัตราส่วน (Ratio)ตอนที่ 1 ความหมายของอัตราส่วน
ศธ.เมินเสียงค้านยืนร่างพร.บ.เงินเดือนกลับครม.

นายชินวรณ์  บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) เปิดเผยความคืบหน้าการผลักดันร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)เงินเดือน เงินวิทยะฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ...ที่ยกร่างขึ้นใหม่ว่า จากการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทาการศึกษา (ก.ค.ศ.) โดยเสนอปรับอัตราเงินเดือน เปรียบเทียบบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูง
ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแนบท้าย พระราชกฤษฎีกาการปรับเงินเดือนข้าราชการครูและบคุลากรทางการศึกษา(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันกับร่างบัญชีเงินเดือนข้าราชการครูฯฉบับใหม่ ซึ่งปรากฎผลดังนี้ ครูผู้ช่วยใช้อัตราเงินเดือนเดิม คือ อัตราขั้นต่ำชั่วคราว 7,940 บาท ขั้นต่ำอัตรา 8,700 บาท ขั้นสูงอัตรา 16,840 บาท ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (คศ.1) ขั้นต่ำชั่วคราว อัตราเดิม 7,940 บาท อัตราใหม่ 8,130 บาท ขั้นต่ำยังใช้อัตราเดิม คือ 11,930 บาท ขั้นสูงอัตราเดิม 27,500  บาท อัตราใหม่ 29,700 บาท เพิ่มขึ้น 8 % คศ.2 ชำนาญการ ขั้นต่ำชั่วคราว ยังคงใช้อัตราเดิม 12,530 บาท ขั้นต่ำยังคงใช้อัตราเดิม คือ 15,410 บาท ขั้นสูงอัตราเดิม 33,540บาท อัตราใหม่ 36,020 บาท เพิ่มขึ้น 7.39 % คศ.3 ชำนาญการพิเศษ ขั้นต่ำชั่วคราวยังใช้อัตราเดิม คือ 12,530 บาท ขั้นต่ำใช้อัตราเดิม คือ 18,910 บาท ขั้นสูงอัตาราเดิม 33,540 บาท อัตราใหม่ 50,550  บาท เพิ่มขึ้น 6.33 % คศ. 4 เชี่ยวชาญ ขั้นต่ำยังใช้อัตราเดิม คือ 23,230 บาท ขั้นสูงอัตราเดิม 50,550 บาท อัตราใหม่ 59,770 บาท เพิ่มขึ้น 18.9 % คศ.5 เชี่ยวชาญพิเศษ ขั้นต่ำใช้อัตราเดิม คือ 28,550 บาท ขั้นสูงอัตราเดิม 64,340 บาท อัตราใหม่ 66,480 บาท เพิ่มขึ้น 3.32 %
ขอบคุณที่มาข่าว
https://www.kroobannok.com/30386
https://www.thairath.co.th/content/edu/73730 ไทยรัฐออนไลน์
https://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1269854362&grpid=&catid=04 มติชนออนไลน์
เนื้อหาสาระ  อัตราส่วน
ระดับช่วงชั้นที่ 3   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
อัตราส่วน ตอนที่ 1 ความหมายของอัตราส่วน

อัตราส่วน 
น. เกณฑ์เปรียบเทียบปริมาณของของอย่างเดียวกันหรือต่างกัน เพื่อจะได้ทราบว่าปริมาณแรกเป็นเศษส่วนเท่าใดของปริมาณหลัง เช่น อัตราส่วนของครู 1 คน ต่อนักเรียน 25 คน อัตราส่วนของนักเรียนชาย 2 คน ต่อ นักเรียนหญิง 8 คน หรือ อัตราส่วนความกว้างของด้านยาว ต่อ ความยาวของรูปสี่เหลี่ยม เป็นต้น
รูปทั่วไปของอัตราส่วน   สัญลักษณ์ a : b อ่านว่า เอ ต่อ บี  เรียก a ว่าจำนวนแรก หรือ จำนวนที่หนึ่ง เรียก b ว่าจำนวนหลัง หรือ จำนวนที่สอง และ a : b เขียนในรูปเศษส่วนได้เป็น 
  
ในการเปรียบเทียบสิ่งของสองสิ่ง เรามักเปรียบเทียบสิ่งของที่มีหน่วยเดียวกัน เช่น เปรียบเทียบความยาวฟุตกับฟุต หน่วยวัดนิ้วกับนิ้ว  ระยะทางกิโลเมตรกับกิโลเมตร เป็นต้น แต่ถ้าสิ่งของสองสิ่งนั้นมีหน่วยต่างกันจะต้องเปลี่ยนให้เป็นหน่วยเดียวกัน แล้วจึงจะนำมาเปรียบเทียบกัน ดังนี้
ตัวอย่างที่ 1 ตู้ไปรษณีย์ตู้หนึ่งมีความกว้าง 21 นิ้ว  ยาว 3 ฟุต   และสูง  6 ฟุต 9 นิ้ว  จงหาอัตราส่วนของ 1). ความกว้าง ต่อ ความยาว  2). ความกว้าง ต่อ ความสูง 3). ความยาว ต่อ ความสูง
วิธีทำ     เปลี่ยนหน่วยความกว้างควายาวและความสูงให้เป็นหน่วยเดียวกันก่อน คือ   จากมาตราส่วนการวัด  12 นิ้ว เท่ากับ 1 ฟุต
            ตู้มีความกว้าง      21  นิ้ว
            ตู้มีความยาว          3 ฟุต  จะได้  3 x 12  =  36  นิ้ว
            ตู้มีความสูง          6 ฟุต  9 นิ้ว  จะได้  ( 6 x 12 ) + 9 = 81  นิ้ว
ดังนั้น 1). อัตราส่วนความกว้าง ต่อ ความยาว   คือ 21 : 36  
         2). อัตราส่วนความกว้าง ต่อ ความสูง    คือ 21 : 81 
         3). อัตราส่วนความยาว ต่อ ความสูง     คือ  36 : 81
ตัวอย่างที่ 2 ห้องประชุมห้องหนึ่งมีความกว้าง  8 เมตร  ยาว 15  เมตร และสูง 12 เมตร จงหาอัตราส่วนของ 1). ความกว้าง ต่อ ความยาว  2). ความกว้าง ต่อ ความสูง 3). ความยาว ต่อ ความสูง 
วิธีทำ  1). อัตราส่วนความกว้าง ต่อ ความยาว   คือ   8 : 15 
          2). อัตราส่วนความกว้าง ต่อ ความสูง    คือ   8 : 12
          3). อัตราส่วนความยาว ต่อ ความสูง      คือ 15 : 12
ตัวอย่างที่ 3 เด็กหญิงปานเดือน มีอายุ  11  ปี 3 เดือน  เด็กหญิงจันทร์ฉายมีอายุ 10 ปี 5 เดือน และเด็กชายวายุ มีอายุ 9 ปี 7 เดือน จงหาอัตราส่วนของ1). อายุเด็กหญิงปานเดือน
 ต่อ อายุเด็กหญิงจันทร์ฉาย 2). อายุเด็กหญิงจันทร์ฉายต่อ อายุเด็กชายภูผา 3). อายุเด็กหญิงปานเดือน ต่อ อายุเด็กชายวายุ 4). อายุเด็กหญิงปานเดือน ต่อ อายุเด็กชายภูผา ต่อ อายุเด็กหญิงจันทร์ฉาย
วิธีทำ  เปลี่ยนหน่วยให้เป็นหน่วยเดียวกันก่อน คือ จาก 12 เดือน เท่ากับ 1 ปี
 เด็กหญิงปานเดือน อายุ  11 ปี  3 เดือน   จะได้  ( 11 x 12 ) + 3 = 135  เดือน
 เด็กหญิงจันทร์ฉาย อายุ 10 ปี  5 เดือน    จะได้  ( 10 x 12 ) + 5 = 125  เดือน
 เด็กชายวายุ อายุ  9  ปี 7 เดือน             จะได้  (   9 x 12 ) + 7 = 115  เดือน
 1). อัตราส่วนของอายุเด็กหญิงจันทร์ฉาย ต่อ อายุเด็กหญิงปานเดือน   คือ 125 : 135
 2). อัตราส่วนของอายุเด็กหญิงปานเดือน ต่อ อายุเด็กชายวายุ           คือ 135 : 115
 3). อัตราส่วนของอายุเด็กหญิงจันทร์ฉาย ต่อ อายุเด็กชายวายุ           คือ 125 : 115
 4). อัตราส่วนของอายุเด็กหญิงจันทร์ฉาย ต่อ อายุเด็กชายวายุ ต่อ อายุเด็กหญิงปานเดือน คือ 125 : 125 : 135

แบบฝึกทักษะ

1.จงเขียนอัตราส่วนเงินเดือนอัตราขั้นต่ำชั่วคราวของครูผู้ช่วย ต่อ อัตราขั้นต่ำ

2. จงเขียนอัตราส่วนเงินเดือนอัตราขั้นต่ำของครูผู้ช่วย ต่อ อัตราขั้นสูง

3. จงเขียนอัตราส่วนเงินเดือนขั้นต่ำชั่วคราวของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาคศ.1 อัตราเดิม ต่อ อัตราใหม่ 

4. จงเขียนอัตราส่วนเงินเดือนขั้นต่ำของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คศ.1 อัตราเดิม ต่อ อัตราใหม่  

5. จงเขียนอัตราส่วนเงินเดือนขั้นต่ำชั่วคราวของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คศ.2 ชำนาญการ อัตราเดิม ต่อ อัตราใหม่  
บูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
 - คณิตศาสตร์พื้นฐาน4  การนำเสนอข้อมูลแบบตาราง
 - ภาษาไทย อักษรย่อจากบทความ
 - สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  การเขียนอัตราส่วนของประชากร
 - สุขศึกษาและพลศึกษา   สุขภาพจิต " อยู่อย่างไรให้เป็นสุขใจ"
 - การงานอาชีพและเทคโนโลยี การสร้างโมเดลห้องและตู้ไปรษณีย์ตามตัวอย่าง
 
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

-https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99

https://www.scc.ac.th/student_web/2_47/project006/rate/lessonratio3.htm แบบทดสอบ

https://www.kanid.com/librarysc.php?cID=10 ศูนย์การเรียนรู้คณิตออนไลน์

https://www3.ipst.ac.th/index2.php สสวท.

 ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2081

อัพเดทล่าสุด