อัตราส่วน ตอนที่ 2 อัตราส่วนที่เท่ากัน คืออัตราส่วนที่มีจำนวนที่หนึ่งและจำนวนที่สองของอัตราส่วนนั้นเท่ากัน โดยนำเสนอสูตรดึงสารพิษที่ผิว โดยการบรรยายของอ.สุทธิวัสส์ คำภา เรื่อง กินเป็นลืมป่วย ตอน .....ล้างสารพิษในร่างกาย
การหาอัตราส่วนที่เท่ากัน ตอนที่ 1 ได้พูดถึงความหมายของอัตราส่วนซึ่งในตอนนี้ก็ได้ทบทวนรูปทั่วไปของอัตราส่วนเพื่อกันลืม
สูตรดึงสารพิษที่ผิว
สูตร 1 ดินสอพอง ครึ่งกิโลกรัม ขมิ้นชันผง 1 ช้อนชา ไพลผง 2 ช้อนชา ทานาคา 3 ช้อนชา ( ผสมเสร็จแล้วแบ่งมาใช้ ) สูตรนี้ใช้พอกตัวเพื่อดูดหินปูนและสารพิษออกมา แล้วบำรุงผิวไปพร้อมกันด้วย ใช้พอกหน้า หรือตามแขนขาให้ทั่วตัว ขมิ้นชันจะช่วยขับไล่ไรฝุ่น
สูตร 2 ดินสอพอง ครึ่งกิโลกรัม ขมิ้นชันผง 1 ช้อนชา ไพลผง 2 ช้อนชา ใช้ขิงสดคั้นเอามาแต่น้ำผสมลงไปแล้วพอกตัว ช่วยให้เลือดไหลเวียนดี
สูตร 3 ดินสอพอง ครึ่งกิโลกรัม ขมิ้นชันผง 1 ช้อนชา ไพลผง 2 ช้อนชา น้ำมะขามเปียกหรือน้ำมะเฟือง คั้นเอาแต่น้ำผสมลงไป ช่วยขับไล่ไรฝุ่นและบำรุงผิว
เนื้อหาสาระ อัตราส่วน
ระดับช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
อัตราส่วน ตอนที่ 2 อัตราส่วนที่เท่ากัน
ทบทวนรูปทั่วไปของอัตราส่วน สัญลักษณ์ a : b อ่านว่า เอ ต่อ บี เรียก a ว่าจำนวนแรก หรือ จำนวนที่หนึ่ง เรียก b ว่าจำนวนหลัง หรือ จำนวนที่สอง
อัตราส่วนที่เท่ากัน หมายถึง อัตราส่วนสองอัตราส่วนที่จำนวนที่หนึ่งและจำนวนที่สองเท่ากัน
การหาอัตราส่วนที่เท่ากันมี 2 กรณี คือ การคูณ และ การหาร
กรณีที่ 1 การหาอัตราส่วนที่เท่ากับอัตราสวนที่กำหนดให้ โดยการคูณด้วยจำนวนนับที่เท่ากันทั้งจำนวนที่หนึ่งและจำนวนที่สอง
ตัวอย่างที่ 1 จงหาอัตราส่วนที่เท่ากับอัตราส่วน 4 : 5 มาอีก 5 อัตราส่วน
วิธีทำ 4 : 5 = 4 x 2 : 5 x 2 = 4 x 3 : 5 x 3 = 4 x 4 : 5 x 4 = 4 x 5 : 5 x 5
4 : 5 = 8 : 10 = 12 : 15 = 16 : 20 = 20 : 25
ตัวอย่างที่ 2 จงเติมอัตราส่วนที่เท่ากับอัตราส่วนที่กำหนดให้มาอีก 3 จำนวน
1). 2 : 3 , 4 : 6 , 8 : 12 , 16 : 24
2). 3 : 5 , 9 : 15 , 12 : 20 , 15 : 25
3). 5 : 1 , 10 : 2 , 15 : 3 , 20 : 4
วิธีทำ 1). 2 : 3 , 4 : 6 , 8 : 12 , 16 : 24
สังเกตว่า อัตราส่วนชุดที่สอง สามและสี่จะเพิ่มจากอัตราส่วนก่อนหน้านั้น 2 เท่า
ดังนั้น อัตราส่วนอีก 3 จำนวน คือ 16 x 2 : 24 x 2 = 32 x 2 = 48 x 2 = 64 x 2 = 96 x 2
ตอบ 2 : 3 , 4 : 6 , 8 : 12 , 16 : 24 , 32 : 64 , 64 : 96 , 128 : 192
2). 3 : 5 , 9 : 15 , 12 : 20 , 15 : 25
สังเกตว่าอัตราส่วนชุดที่สอง สาม และสี่จะเพิ่มจากอัตราส่วนชุดแรก3เท่า4เท่าและ 5เท่า ตามลำดับ
ดังนั้น อัตราส่วนอีก 3 จำนวน คือ 3 x 6 : 5 x 6 = 3 x 7 : 5 x 7 = 3 x 8 : 5 x 8
ตอบ 3 : 5 , 9 : 15 , 12 : 20 , 15 : 25 , 18 : 30 , 21 : 35 , 24 : 40
3). 5 : 1 , 10 : 2 , 15 : 3 , 20 : 4
สังเกตว่า อัตราส่วนชุดที่สอง สาม และสาม จะเพิ่มจากอัตราส่วนชุดแรก 2 เท่า 3 เท่า และ 4 เท่า ตามลำดับ
ดังนั้น อัตราส่วนอีก 3 จำนวน คือ 5 x 5 : 1 x 5 = 5 x 6 : 1 x 6 = 5 x 7 : 1 x 7
ตอบ 5 : 1 , 10 : 2 , 15 : 3 , 20 : 4 , 25 : 5 , 30 : 6 , 35 : 7
กรณีที่ 2 การหาอัตราส่วนที่เท่ากับอัตราสวนที่กำหนดให้ โดยการหารด้วยจำนวนนับที่เท่ากันทั้งจำนวนที่หนึ่งและจำนวนที่สอง
ตัวอย่างที่ 3 จงเขียนอัตราส่วนต่อไปนี้ในรูปอัตราส่วนอย่างต่ำ โดยการหาร
1). 2 : 8 นำ 2 มาหารทั้งสองจำนวน ได้ 1 : 4
2). 3 : 9 นำ 3 มาหารทั้งสองจำนวน ได้ 1 : 3
3). 4 : 12 นำ 4 มาหารทั้งสองจำนวน ได้ 1 : 3
4). 9 : 21 นำ 3 มาหารทั้งสองจำนวน ได้ 3 : 7
5). 6 : 8 นำ 2 มาหารทั้งสองจำนวน ได้ 3 : 4
6). 7 : 21 นำ 7 มาหารทั้งสองจำนวน ได้ 1 : 3
7). 6 : 15 นำ 3 มาหารทั้งสองจำนวน ได้ 2 : 5
8). 4 : 24 นำ 4 มาหารทั้งสองจำนวน ได้ 1 : 6
9). 9 : 33 นำ 3 มาหารทั้งสองจำนวน ได้ 3 : 11
10). 12 : 66 นำ 3 มาหารทั้งสองจำนวน ได้ 2 : 11
แบบฝึกทักษะ
1. จงเขียนอัตราส่วนที่เท่ากับอัตราส่วนต่อไปนี้มาอีก 3 อัตราส่วน โดยใช้หลักการคูณ
1). 1 : 3
2). 2 : 3
3). 4 : 7
4). 5 : 2
5). 3 : 11
2. จงเติมอัตราส่วนที่เท่ากับอัตราส่วนที่กำหนดให้มาอีก 3 จำนวน
1). 2 : 5 , 6 : 15 , 18 : 45
2). 4 : 3 , 8 : 6 , 12 : 9
3). 5 : 7 , 10 : 14 , 20: 28
4). 7 : 2 , 21 : 6 , 28 : 8
5). 9 : 11 , 18 : 22 , 27 : 33
3. จงเขียนอัตราส่วนต่อไปนี้ในรูปอัตราส่วนอย่างต่ำ
1). 5 : 25
2). 7 : 28
3). 24 : 36
4). 12 : 81
5). 9 : 84
6). 10 : 30
7). 8 : 44
8). 40 : 100
9). 2a : 3a
10). 8a : 96a
4. สูตรดึงสารพิษที่ผิวสูตร 1 มีอัตราส่วนของส่วนผสม ดินสอพอง ครึ่งกิโลกรัม ขมิ้นชันผง 1 ช้อนชา ไพลผง 2 ช้อนชา ทานาคา 3 ช้อนชา จงเขียนอัตราส่วนที่เท่ากับอัตราส่วนดังกล่าวมาอีก 3 อัตราส่วน
บูรณาการกับกลุ่มสาระอื่น
- วิทยาศาสตร์ สวนพฤกษศาสตร์
- ภาษาไทย อักษรย่อหน่วยการตวง
- สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม แหล่งสมุนไพรในประเทศไทย
- สุขศึกษาและพลศึกษา การดูแลรักษาสุขภาพผิวที่ถูกสุขลักษณะ
- การงานอาชีพและเทคโนโลยี การปลูกสมุนไพรในชีวิตประจำวัน
- คณิตศาสตร์ การตวง
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
- https://www.sopon.ac.th/math/winai2/Index/P02.htm
- https://www.cmw.ac.th/elibrary/fileselibrary/Math/natchaporn003/P1sec2.html
- https://edltv.thai.net/index.php?mod=Courses&file=showcontent&cid=206&sid=208&lid=100007&lid_parent=100013
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2082