สูตรบำรุงเยื่อหุ้มหัวใจ " กินเป็น ลืมป่วย " กับเรื่องของอัตราส่วนต่อเนื่อง


835 ผู้ชม


อัตราส่วน ตอนที่ 3 อัตราส่วนต่อเนื่อง เป็นการหาอัตราส่วนที่เท่ากันอีกแบบหนึ่งจากอัตราส่วนหลายๆอัตราส่วนที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน นำเสนอสูตรบำรุงเยื่อหุ้มหัวใจ โดยการบรรยายของอ.สุทธิวัสส์ คำภา เรื่อง กินเป็นลืมป่วย ตอน .....ล้างสารพิษในร่างกาย   

ลูตรบำรุงเยื่อหุ้มหัวใจ  กินเป็น  ลืมป่วย กับ  การหาอัตราส่วนต่อเนื่อง
อัตราส่วน ตอนที่ 3 อัตราส่วนต่อเนื่อง นำเสนอสูตรบำรุงเยื่อหุ้มหัวใจ โดยการบรรยายของอ.สุทธิวัสส์  คำภา เรื่อง กินเป็นลืมป่วย ตอน .....ล้างสารพิษในร่างกาย
กินเป็น  ลืมป่วย ตอน .........ล้างสารพิษในร่างกาย.........
บรรยายโดย อ.สุทธิวัสส์  คำภา     เรียบเรียงโดย  นิพนธ์  วีระธรรมานนท์
  หมูเนื้อแดงไม่ติดมัน 80    กรัม  เห็ดหูหนูดำ  60    กรัม พุทราจีน ( แห้ง )  10    ลูก ขิงสด   8    แผ่น
วิธีทำ ทุกอย่างล้างน้ำให้สะอาดนำมาใส่หม้อ  บีบหรือหั่นพุทราจีนให้แตก  เติมน้ำเปล่า 8 ถ้วย  เคี่ยวไฟอ่อนๆ  จนเหลือน้ำประมาณ  2  ถ้วย  ใช้กินแต่น้ำก่อนอาหารเช้า  ประมาณ 30-45  วัน  จะช่วยลดคอเลสเตอรอล  ป้องกันเส้นเลือดตีบตันและบำรุงไต   คนอายุ  40  ขึ้นหรือไม่ได้เป็นโรคนี้ควรกินเพื่อป้องกันไว้สัปดาห์ละ 2 ครั้ง
เนื้อหาสาระ  อัตราส่วน
ระดับช่วงชั้นที่ 3
   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
อัตราส่วน ตอนที่ 3 อัตราส่วนต่อเนื่อง
ทบทวนรูปทั่วไปของอัตราส่วน   สัญลักษณ์ a : b อ่านว่า เอ ต่อ บี  เรียก a ว่าจำนวนแรก หรือ จำนวนที่หนึ่ง เรียก b ว่าจำนวนหลัง หรือ จำนวนที่สอง และ a : b เขียนในรูปเศษส่วนได้เป็น  อัตราส่วนที่เท่ากัน หมายถึง อัตราส่วนสองอัตราส่วนที่จำนวนที่หนึ่งและจำนวนที่สองเท่ากัน  ถ้ามีอัตราส่วนที่เกี่ยวข้องกันมากกว่าสองอัตราส่วนขึ้นไปเราเรียกว่า อัตราส่วนต่อเนื่อง  พิจารณาอัตราส่วนต่อไปนี้ อายุของหงส์ฟ้า ต่อ อายุของเงาะ เป็น 2 ต่อ 3  อายุของหงส์ฟ้า ต่ออายุของมานพ เป็น 3 ต่อ 4  จะได้ว่าอัตราส่วนของอายุหงส์ฟ้า : เงาะ : มานพ  คือ 2 : 3 : 4 เราเรียกอัตราส่วนอายุของหงส์ฟ้าต่ออายุของเงาะต่ออายุของมานพ ว่าเป็นอัตราส่วนต่อเนื่อง โดยมีอายุของเงาะเป็นตัวเชื่อมเพราะจะมีคำว่าอายุของเงาะปรากฎอยู่ทั้งสองอัตราส่วน  จะเขียนอัตราส่วนต่อเนื่องเช่นนี้ได้ก็ต่อเมื่อตัวเชื่อมอัตราส่วนนั้นเท่ากัน ถ้าตัวเชื่อมอัตราส่วนไม่เท่ากันต้องทำให้เท่ากันก่อนโดยการหาตัวคูณร่วมน้อยแล้วทำให้อัตราส่วนเหล่านั้นเท่ากันโดยการคูณ 
ตัวอย่างที่ 1 จงหาอัตราส่วนต่อเนื่องต่อไปนี้ 1). A : B =  2 : 3  และ B : c = 3 : 4  จงหา A : B : C     2). D : E = 3 : 5 และ  F : E = 7 : 5 จงหา D : E : F    3).  G : H = 3 : 4 และ H : I = 6 : 8 จงหา G : H : I
วิธีทำ         1). A : B =  2 : 3  และ  B : c = 3 : 4   ตัวเชื่อมคือ  B ในข้อนี้ B ทั้งสองอัตราส่วนเท่ากัน  ดังนั้น A : B : C  เท่ากับ  2 : 3  : 4  
                2). D : E =  3 : 5  และ  F : E = 7 : 5    ตัวเชื่อมคือ  E  ในข้อนี้ E ทั้งสองอัตราส่วนเท่ากัน  ดังนั้น D : E : F  เท่ากับ  3 : 5  : 7 
                3). G : H = 3 : 4  และ  H : I = 6 : 8     ตัวเชื่อมคือ H   ซึ่งในข้อนี้ H ทั้งสองอัตราส่วน คือ 4 และ 6 หาตัวคูณร่วมน้อยของสองจำนวนนี้ได้ 12 ต้องหาจำนวนมาคูณให้ H เท่ากับ 12
                     ดังนี้   G : H    และ  H : I  
                              3 : 4      ,     6 : 8         
                     จะได้  3 x 3 : 4 x 3  , 6 x 2 : 8 x 2   ดังนั้น     G : H : I    เท่ากับ   9  : 12 : 16 
ตัวอย่างที่ 2 อัตราส่วนการมีเงินของ ยอแสง ต่อ ศักดิ์ระพี เป็น 2 : 3 อัตราส่วนการมีเงินของศักดิ์ระพี ต่อ นพดล เป็น 6 : 1 จงหาอัตราส่วนการมีเงินของ ยอแสง ต่อ ศักดิ์ระพี ต่อ นพดล
วิธีทำ         อัตราส่วนการมีเงินของ ยอแสง ต่อ ศักดิ์ระพี เป็น 2 : 3 
                อัตราส่วนการมีเงินของศักดิ์ระพี ต่อ นพดล   เป๋น 6 : 1 
                ตัวเชื่อม คือ ศักดิ์ระพี ซึ่งในข้อนี้ไม่เท่ากัน  ต้องหาตัวคูณร่วมน้อยของ 3 และ  6 ได้  6 ต้อง หาจำนวนมาคูณ เพื่อให้จำนวนเงินของศักดิ์ระพีทั้งสองชุดเป็น 6  
                ดังนี้              ยอแสง : ศักดิ์ระพี  ,  ศักดิ์ระพี : นพดล 
                                       2     :    3        ,     6       :    1      นำ 2 มาคูณจำนวนเงินของยอแสงและศักดิ์ระพีเพื่อให้ตัวเชื่อม เป็น 6
                จะได้             2 x 2   :   3 x 2   ,     6 x 1  :   1 x 1  ดังนั้น   อัตราส่วนการมีเงินของ ยอแสง ต่อ ศักดิ์ระพี ต่อ นพดล  เท่ากับ    4   :    6   :   1
ตัวอย่างที่ 3 อัตราส่วนการอ่านหนังสือในแต่ละวันของ นัฐหล่อ ต่อ ณัฐเท่ห์ เป็น 2 : 5 อัตราส่วนการอ่านหนังสือของณัฐเท่ห์ ต่อ ส้มจิ๊ด  เป็น 3 : 2 จงหาอัตราส่วนการอ่านหนังสือของณัฐหล่อ ต่อ ณัฐเท่ห์ ต่อ ส้มจิ๊ด
วิธีทำ         อัตราส่วนการอ่านหนังสือของนัฐหล่อ ต่อ ณัฐเท่ห์ เป็น 2 : 5 
                อัตราส่วนการอ่านหนังสือของณัฐเท่ห์ ต่อ ส้มจิ๊ด  เป็น  3 : 2
                ตัวเชื่อม คือ ณัฐเท่ห์ ซึ่งในข้อนี้ไม่เท่ากัน  ต้องหาตัวคูณร่วมน้อยของ 5 และ  3  ได้  15 ต้อง หาจำนวนมาคูณ เพื่อให้จำนวนหน้าในการอ่านหนังสือของณัฐเท่ห์ทั้งสองชุดเป็น 15  
                ดังนี้              ณัฐหล่อ : ณัฐเท่ห์  ,  ณัฐเท่ห์  : ส้มจิ๊ด 
                                       2     :    5        ,     3       :    2      นำ 3 มาคูณจำนวนหน้าในการอ่านหนังสือของณัฐเท่ห์ในอัตราส่วนชุดที่หนึ่งและ นำ 5 มาคูณจำนวนหน้าในการอ่านหนังสือของณัฐเท่ห์ในอัตราส่วนชุดที่สองเพื่อให้ตัวเชื่อม เป็น 15
                จะได้             2 x 3   :   5 x 3   ,     3 x 5  :   2 x 5  ดังนั้น อัตราส่วนการอ่านหนังสือของณัฐหล่อ ต่อ ณัฐเท่ห์ ต่อ ส้มจิ๊ด   เท่ากับ     6   :    15   :   10
แบบฝึกทักษะ
1. จงหาอัตราส่วนต่อเนื่องต่อไปนี้ 1). A : B =  3 : 4  และ B : C  = 4 : 7  จงหา A : B : C     2).  D : E = 2 : 9  และ  F : E = 7 : 9  จงหา D : E : F    3).  G : H = 4 : 5 และ H : I = 10 : 1  จงหา G : H : I
2. ถ้าอัตราส่วนหมูเนื้อแดงไม่ติดมัน ต่อ เห็ดหูหนูดำ เป็น 8 : 9 และ อัตราส่วนของหมูเนื้อแดงไม่ติดมัน ต่อ พุทราจีน ( แห้ง ) เป็น 3 : 2  จงหาอัตราส่วนของหมูเนื้อแดงไม่ติดมัน ต่อ เห็ดหูหนูดำ ต่อ  พุทราจีน ( แห้ง )     
3. ถ้าอัตราส่วนการปลูกต้นไม้ในสวนของบ้านทัดดาว ดังนี้ปลูกต้นพุทราจีนต่อต้นมะม่วงเป็น 3 ต่อ 6 และ ปลูกต้นพุทราจีนต่อต้นมะพร้าว เป็น 8 ต่อ 2 จงหาอัตราส่วนการปลูกพุทราจีน ต่อ มะม่วง ต่อ มะพร้าว
4. เจ้าน้อยแบ่งเงินให้ วิทูร เจ้าแสงคำ และทัดดาว โดยให้อัตราส่วน ดังนี้ วิทูร ต่อ เจ้าแสงคำ เป็น 3 : 5 และ เจ้าแสงคำ ต่อ ทัดดาว เป็น  4 : 3 จงหา 1). อัตราส่วนจำนวนเงินของ วิทูร ต่อ เจ้าแสงคำ ต่อ ทัดดาว  2). อัตราส่วนจำนวนเงินของ วิทูร ต่อ ทัดดาว
5. อัตราส่วนน้ำหนักของจันทร์ฉาย ต่อ ปานเดือน เป็น 8 : 5 และอัตราส่วนน้ำหนักของ ปานเดือน ต่อ ดุจดาว เป็น 7 : 12 จงหา 1). อัตราส่วนน้ำหนักของจันทร์ฉายต่อปานเดือนต่อดุจดาว 2). อัตราส่วนน้ำหนักของปานเดือนต่อดุจดาว  
บูรณาการกับกลุ่มสาระอื่น
 - วิทยาศาสตร์           สวนพฤกษศาสตร์
 - ภาษาไทย กำหนดให้ไปอ่านหนังสือนอกเวลา " กินเป็น ลืมป่วย " 
 - สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  ค้นประวัติบุคคล 
 - สุขศึกษาและพลศึกษา            การดูแลรักษาสุขภาพหัวใจ
 - การงานอาชีพและเทคโนโลยี การปลูกสมุนไพรในชีวิตประจำวัน และนำเสนอผลงานการอ่านหนังสือ " กินเป็น ลืมป่วย "
 - คณิตศาสตร์           หน่วยการตวง
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม 

 https://www.sema.go.th/files/Content/Mat/k1/0001/Biomath/kanitsird/pansak/sec02p04.html
https://www.virusthailab.com/forum/viewtopic.php?f=52&t=9878
https://ednet.kku.ac.th/~sumcha/prem/ratiom01.htm
https://www.lks.ac.th/teacher_papaporn/yupdream/ratio3.html

 ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2083

อัพเดทล่าสุด