การเลือกใช้สถิติสำหรับงานวิจัย


643 ผู้ชม


ในปัจจุบันบุคลากรทางการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นครู ศึกษานิเทศก์ หรือผู้ที่ต้องการประเมินเลื่อนระดับให้สูงขึ้น ต่างมีความกังวลใจในเรื่องการจัดทำผลงาน เท่าที่สืบค้นข้อมูลจากผู้ตรวจผลงาน พบว่า ส่วนใหญ่เลือกใช้สถิติไม่ถูกต้อง ไม่คำนึงถึงเงื่อนไขในการเลือกใช้ .....   
ในปัจจุบันบุคลากรทางการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นครู ศึกษานิเทศก์ หรือผู้ที่ต้องการประเมินเลื่อนระดับให้สูงขึ้น ต่างมีความกังวลใจในเรื่องการจัดทำผลงาน  เท่าที่สืบค้นข้อมูลจากผู้ตรวจผลงาน พบว่า ส่วนใหญ่เลือกใช้สถิติไม่ถูกต้อง ไม่คำนึงถึงเงื่อนไขในการเลือกใช้

                 ดังนั้นการใช้สถิติจึงมีความเกี่ยวข้องกับงานวิจัยเกือบทุกขั้นตอน โดยเริ่มตั้งแต่การใช้เทคนิคในการเลือกกลุ่มตัวอย่างจากประชากรทั้งหมด การใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งในขั้นตอนนี้ก็ต้องใช้ค่าสถิติเพื่ออธิบายคุณลักษณะของข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง

                 สถิติที่ใช้ทดสอบสมมุติฐาน   มี  2  ประเภท  คือ

                        2.1      สถิติพาราเมตริก  (Parametric  Statistical  Test)   การใช้สถิตินี้ข้อมูลจะต้องมีลักษณะ เป็นการแจกแจงปกติ   ข้อมูลได้จากการสุ่ม  เป็นข้อมูลอยู่ในระดับ  Interval   Scale  และ  Ratio Scale  ได้แก่  t-test z-test          F-test

                        2.2      สถิตินอนพาราเมตริก  (Non - Parametric  Statistical  Test)  โดยใช้ข้อมูลเป็นชนิดต่อเนื่อง  จะเป็นการแจกแจงแบบใดก็ได้  ลักษณะข้อมูลอยู่ในระดับมาตรานามบัญญัติ  (nominal  Scale) และมาตราเรียงลำดับ (Ordinal  Scale)   ได้แก่  (Chi - square test,  Sign - test,  Mediam  test  และ  Mann - Whitney  U  test    เป็นต้น

              สรุป  ง่าย ๆ ต้องจดจำ การใช้  t-test  กลุ่มตัวอย่างต้องมาจากการสุ่ม  มีการแจกแจงแบบปกติ  แต่ส่วนใหญ่ งานวิจัยที่พบ เลือกใช้ข้อมูลกับกลุ่มประชากร หรือใช้วิจัยจากกลุ่มนักเรียนทั้งหมดที่สอน จึงมีผลให้ผู้อ่านผลงาน โดยเฉพาะกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์

ตรวจผลงานแล้วไม่อนุมัติ ( เนื่องจากยึดเงื่อนไขในการใช้สถิติ ตรงเป็นไม้บรรทัด )….

ส่วนกลุ่มสาระอื่น ๆ ไม่ได้ยึดเงื่อนไขมากนัก จึงมีผลให้ผลการประเมิน อยู่ในขั้นปรับปรุงขึ้นไป

……………………………………………………..

*ครูชำนาญการ โรงเรียนนาเยียศึกษา  รัชมังคลาภิเษก สพท.อุบลราชธานี เขต  4

( วทม.สถิติประยุกต์ )

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2116

อัพเดทล่าสุด