การสอนด้วยการคิด (Teaching with Thinking) เป็นการสอนที่เน้นการเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning) โดยให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในงานที่ได้รับมอบหมายให้ช่วยกันคิด ทำให้นักเรียนได้ศึกษาหาความรู้ซึ่งกันและกันตลอดจนมีความชำนาญในการคิดมากขึ้น
ที่มา https://www.o2blog.com/upload/tonyfour/upload-9ibsM01.jpg
ที่มา วารสารคณิตศาสตร์ ฉบับเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ.1(1) : 7-12 ; 12 สิงหาคม, 2547.
กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์
ช่วงชั้นที่ 2
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
เรื่อง จำนวนเฉพาะ
จำนวนนับที่มากกว่า 1 จะมีตัวประกอบอย่างน้อย 2 ตัวขึ้นไป
ดังนั้น จำนวนที่มีตัวประกอบเพียง 2 ตัว คือ 1 และตัวของมันเอง เรียกว่า จำนวนเฉพาะ
ตัวอย่าง
ตัวประกอบของ 2 ได้แก่ 1 และ 2
ตัวประกอบของ 3 ได้แก่ 1 และ 3
ตัวประกอบของ 5 ได้แก่ 1 และ 5
ตัวประกอบของ 7 ได้แก่ 1 และ 7
จะเห็นว่า 2,3,5และ7 ต่างก็มีตัวประกอบเพียง 2 ตัว คือ 1 และตัวของมันเอง ดังนั้น 2,3,5และ7 จึงเป็นจำนวนเฉพาะ
ลักษณะของจำนวนเฉพาะ
1. จำนวนเฉพาะหมายถึง จำนวนนับที่ไม่สามารถแยกเป็นจำนวนอื่นคูณกัน หรือไม่มี เลขจำนวนอื่นหารได้ลงตัว
2. เลข 1 ไม่จัดว่าเป็นจำนวนเฉพาะ
3. จำนวนเฉพาะที่เป็นเลข คู่ มีเพียงจำนวนเดียวคือเลข 2
4. เลข 5 เป็นจำนวนเฉพาะ ส่วนเลขหลายหลักที่เขียนลงท้ายด้วย 5 จะไม่เป็นจำนวนเฉพาะ
ตัวประกอบเฉพาะ
ตัวประกอบเฉพาะ หมายถึง ตัวประกอบที่เป็นจำนวนเฉพาะ
พิจารณา ตัวประกอบของ 42
ตัวประกอบของ 42 ได้แก่ 1,2,3,6,7,14,21,42
ตัวประกอบที่เป็นจำนวนเฉพาะได้แก่ 2,3,7
จะเห็นว่า 2 , 3 , 7 เป็นตัวประกอบของ 42 และเป็นจำนวนเฉพาะด้วย
เราเรียก 2 , 3 , 7 ว่า ตัวประกอบเฉพาะของ 42
ประเด็นคำถาม
1.จำนวนตั้งแต่ 1 – 30 มีจำนวนใดบ้างที่เป็นจำนวนเฉพาะ
2.จำนวนเฉพาะตั้งแต่ 1 – 30 มีผลบวกรวมกันได้เท่าไร
3.จำนวนเฉพาะที่ มี 2 หลักจำนวนใดมีค่ามากที่สุด
4.จำนวนเฉพาะที่ มี 2 หลักจำนวนใดมีค่าน้อยที่สุด
5.จำนวนเฉพาะใดบ้างที่เป็นจำนวนคู่
การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
สาระการเรียนรู้ภาษาไทย(การอ่าน)
สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
อ้างอิงแหล่งที่มา
สิริพร ทิพย์คง. “ทักษะการคิด,” วารสารคณิตศาสตร์ ฉบับเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ.1(1) : 7-12 ; 12 สิงหาคม, 2547.
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2178