เตือน..!..ใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานๆ เสี่ยงเกิดโรค CVS


650 ผู้ชม


ทำให้สายตาสั้น-กระทบกล้ามเนื้อและข้อกระดูก กลุ่มเสียงอายุเกิน 40 ปีขึ้นไป...   

        ใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานๆ เสี่ยงเกิดโรค CVS (Computer Vision Syndrome)ทำให้สายตาสั้น-กระทบกล้ามเนื้อและข้อกระดูก กลุ่มเสียงอายุเกิน 40 ปีขึ้นไป...

       การป้องกันปัญหาทางสายตาจากการใช้คอมพิวเตอร์ แนะนำว่าควรกระพริบตาบ่อยๆ พักสายตาเป็นเวลา 25 นาที พัก 5 นาที หรือ 30 นาที พัก 10 นาทีถ้าหากจำเป็นอย่างน้อย 25 นาที ควรพัก 1 ครั้งหรือใช้วิธีมองวิวนอกหน้าต่าง มุมห้อง หรือไปเดินเล่น

        การนอนหลับพักสายตาบนโต๊ะทำงานหลังอาหารเที่ยงประมาณ 15 นาทีจะเป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุดในเวลาทำงาน และควรใส่แว่นสายตาที่เหมาะสมแว่นที่แนะนำให้ใช้ ควรใช้แว่นตาชั้นเดียวชนิดใช้เลนส์เคลือบสารป้องกันการสะท้อนของแสงและป้องกันรังสีคลื่นแม่เหล็กด้วย

         วางคอมพิวเตอร์ให้ห่างจากตาประมาณ 20-26 นิ้ว วางคีย์บอร์ดและเม้าท์ให้อยู่ต่ำกว่าศอก แสงไฟไม่ควรส่องจากด้านหลังและที่สำคัญไม่ควรส่องเข้าหาจอคอมพิวเตอร์การปรับคอมพิวเตอร์ควรปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้มีความสว่างเท่ากับความสว่างของห้อง ปรับความถี่ของคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับ 70-80 เฮิร์ตหรือปรับให้สูงสุดเท่าที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ยังรู้สึกสบายตาการใช้ตัวหนังสือควรใช้ตัวหนังสือสีดำบนพื้นสีขาว ใช้แผ่นกรองแสงและดูแลหน้าจอคอมพิวเตอร์ไม่ให้มีฝุ่นเกาะติด เพื่อทำให้การมองเห็นชัดเจน

ที่มา: ข่าวการศึกษา ไทยรัฐออนไลน์

เนื้อหาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

เรื่อง  อัตราส่วน 
1. สาระสำคัญ
 1) อัตราส่วนเป็นการเปรียบเทียบปริมาณตั้งแต่สองปริมาณขึ้นไป
  เช่น  ปริมาณ a และปริมาณ b
   สัญลักษณ์ a : b อ่านว่า a ต่อ b
 2) อัตราเป็นข้อความที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสองปริมาณ
2. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
 1) ใช้ความรู้เกี่ยวกับอัตราส่วนแก้ปัญหาได้
 2) ตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้

สถานการณ์เกี่ยวกับอัตราส่วน เช่น

  (1) มัณทนาต้องการผสมสีเขียวโดยใช้สีเหลือง 2 ส่วน สีฟ้า 4 ส่วน ดังนั้น มัณทนาใช้สีเหลืองต่อสีฟ้า เป็น 2 ต่อ 4 เขียนแทนอัตราส่วน 2 ต่อ 4 ด้วย 2 : 4 ซึ่งอ่านว่า สองต่อสี่
  (2) สมศรีชงกาแฟโดยใช้กาแฟ 2 ช้อน และใช้น้ำตาล 5 ช้อน ดังนั้น สมศรีใช้กาแฟต่อน้ำตาลเป็นอัตราส่วน 2 : 5

การเขียนอัตราส่วนแสดงการเปรียบเทียบ หรือแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสองปริมาณ ทำได้ดังนี้
  (1) ถ้าปริมาณสองปริมาณมีหน่วยเหมือนกัน จะเขียนอัตราส่วนโดยไม่มีหน่วยกำกับ เช่น     ป้ายนิเทศมีความกว้าง 80 เซนติเมตร ความยาว 120 เซนติเมตร เขียนแสดงอัตราส่วนได้เป็น ป้ายนิเทศมีความกว้างต่อความยาวเท่ากับ 80 : 120
  (2) ถ้าปริมาณสองปริมาณมีหน่วยต่างกัน จะเขียนข้อความแสดงอัตราส่วนโดยมีหน่วยกำกับ    เช่น แอปเปิ้ล 3 ผล ราคา 35 บาท เขียนแสดงอัตราส่วนได้เป็น จำนวนแอปเปิ้ลเป็นผลต่อราคาเป็นบาท เท่ากับ 3 : 35

 ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน

1  อัตราส่วนสามารถสลับที่กันได้หรือไม่ เพราะเหตุใด (ไม่ได้ เพราะมีค่าไม่เท่ากัน จะทำให้ค่าของอัตราส่วนเปลี่ยนไป)

กิจกรรมเสนอแนะ
เตือน..!..ใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานๆ เสี่ยงเกิดโรค CVS

    
การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ

1   พลศึกษาและสุขศึกษา        สาระการเสริมสร้างสุขภาพ สมรรถภาพ และการป้องกันโรค
2   วิทยาศาสตร์                       สาระชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
3   ภาษาต่างประเทศ              CVS (Computer Vision Syndrome)
4   ภาษาไทย                          สาระการอ่าน
5    การงาน                              การดำรงชีวิตและครอบครัว

อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล

1  ข่าว :  https://www.thairath.co.th/content/edu/80453
2   เนื้อหา:  คู่มือครู(2544) การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.)
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2346

อัพเดทล่าสุด