สถิติกับราคาน้ำมัน เกี่ยวข้องกันจริงหรือ


723 ผู้ชม


ผู้ค้าปรับลดราคาน้ำมันทุกชนิด 40 ส.ต./ล. มีผลพรุ่งนี้   

ผู้ค้าปรับลดราคาน้ำมันทุกชนิด 40 ส.ต./ล. มีผลพรุ่งนี้

        ราคาน้ำมันลดลงนิดหน่อย  แต่เวลาปรับขึ้นตั้งหลายรอบกี่บาทไม่ทราบ  เฮ่อ!  แต่ก็ยังดีที่ปรับลงบ้าง


     เมื่อวันที่ 12 พ.ค. 53 ผู้ค้าน้ำมันปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันทุกประเภท 40 สตางค์/ลิตร ยกเว้น E85 โดยให้มีผลตั้งแต่วันพรุ่งนี้ (13 พ.ค.53) เวลา 05.00 น. ตามราคาน้ำมันตลาดโลกที่ลดลง 
     ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล วันพรุ่งนี้ เป็นดังนี้ 
     น้ำมันเบนซิน ออกเทน 91 อยู่ที่ 36.44 บาท/ลิตร
     แก๊สโซฮอล์ 95 อยู่ที่ 32.64 บาท/ ลิตร 
     แก๊สโซฮอล์ 91 อยู่ที่ 31.14 บาท/ลิตร
     E20 อยู่ที่ 30.34 บาท/ลิตร 
     น้ำมันดีเซล อยู่ที่ 29.49 บาท/ลิตร 
     ไบโอดีเซล B5 อยู่ที่ 28.29  บาท/ลิตร

ที่มา  https://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRJM016WXpOalkzTnc9PQ==

รายวิชาคณิตศาสตร์  ช่วงชั้นที่  3  เรื่อง  การนำเสนอข้อมูลทางสถิติ

เนื้อหา

การนำเสนอข้อมูลสถิติ (Statistical Presentation)

    การนำเสนอข้อมูลสถิติแบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ ๆ คือ
1) การนำเสนอข้อมูลสถิติโดยปราศจากแบบแผน (Informal Presentation) 
     1.1 การนำเสนอข้อมูลสถิติเป็นบทความ  
     1.2 การนำเสนอข้อมูลสถิติเป็นบทความกึ่งตาราง

2) การนำเสนอข้อมูลสถิติโดยมีแบบแผน (Formal Presentation)  
       2.1  การเสนอข้อมูลสถิติด้วยตาราง  
       2.2 การเสนอข้อมูลสถิติด้วยกราฟและรูป 
 1.2.1 การนำเสนอข้อมูลสถิติด้วยตาราง (Tabular Presentation)         
 1.2.2  การนำเสนอข้อมูลสถิติด้วยกราฟและรูป (Graphic Presentation) 

เทคนิคการนำเสนอข้อมูลสถิติด้วยกราฟและรูป

1. เมื่อต้องการเสนอข้อมูลสถิติโดยข้อมูลที่จะนำเสนอนั้นมีเพียงชุดเดียว  
        1.1  แผนภูมิแท่งเชิงเดียว (Simple Bar Chart)

        1.2  ฮิสโตแกรม (Histogram)    
        ฮิสโตแกรมจะมีลักษณะเหมือนแผนภูมิแท่งทุกประการ ต่างกันเฉพาะตรงที่ฮิสโตแกรมนั้นแต่ละแท่งจะติดกัน

2.  เมื่อต้องการนำเสนอข้อมูลสถิติในเชิงเปรียบเทียบ  เมื่อต้องการนำเสนอในเชิงเปรียบเทียบข้อมูลตั้งแต่ 2 ชุดขึ้นไป  ควรนำเสนอข้อมูลด้วยกราฟดังนี้ 

        2.1แผนภูมิแท่งเชิงซ้อน (Multiple Bar Chart) ข้อมูลสถิติที่จะนำเสนอด้วยแผนภูมิแท่งต้องเป็นข้อมูลประเภทเดียวกันหน่วยของตัวเลขเป็นหน่วยเดียวกันและควรใช้เปรียบเทียบข้อมูลเพียง 2 ชุดเท่านั้น  ซึ่งอาจเป็นแผนภูมิในแนวตั้งหรือแนวนอน ก็ได้สิ่งที่สำคัญต้องมีกุญแจ (Key) อธิบายว่าแท่งใดหมายถึงข้อมูลชุดใดไว้ที่กรอบล่างของกราฟ ดูตัวอย่างจากรูปที่ 1.6    
        2.2  แผนภูมิเส้นหลายเส้น (Multiple Line Chart)  ถ้าต้องการเปรียบเทียบข้อมูลสถิติหลายประเภทพร้อมๆกันควรจะนำเสนอด้วยแผนภูมิเส้นซึ่งสามารถนำเสนอข้อมูลที่มีหน่วยเหมือนกันหรือมีหน่วยต่างกันได้ดูรูปที่1.7

3.เมื่อต้องการนำเสนอข้อมูลสถิติในเชิงส่วนประกอบ  การนำเสนอข้อมูลในเชิงส่วนประกอบมีวิธีเสนอได้ 2 แบบ คือ        

        3.1 แผนภูมิวงกลม (Pie Chart) 
        3.2 แผนภูมิแท่งเชิงประกอบ(Component Bar Chart)  
แผนภูมิแท่งเชิงประกอบเหมาะจะนำไปใช้เสนอข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ วิธีทำคือเมื่อคิดองค์ประกอบต่างๆเป็นร้อยละของทั้งหมดแล้วจะให้ความสูงของแผนภูมิแท่ง แทนองค์ประกอบทั้งหมดความสูงขององค์ประกอบแต่ละส่วนเป็นไปตามสัดส่วนขององค์ประกอบนั้นๆจะเรียงลำดับองค์ประกอบที่มีความสำคัญมากให้อยู่ข้างล่าง

4.การนำเสนอข้อมูลสถิติด้วยแผนภูมิภาพ (Pictograph) การนำเสนอข้อมูลสถิติด้วยวิธีนี้จึงเป็นการเสนอสถิติที่เข้าใจง่ายที่สุด                                          
5.การเสนอข้อมูลสถิติด้วยแผนที่สถิติ  เป็นการนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิศาสตร์หรือสถานที่ เช่นสถิติเกี่ยวกับความหนาแน่นของประชากรตามภูมิภาคต่างๆ  สถิติจำนวนผู้ป่วยเป็นไข้ทรพิษที่ระบาดในประเทศบังกลาเทศ  เป็นต้น  

  ที่มา  https://301math.exteen.com/20080116/entry-4

ประเด็นคำถาม

       1.  ราคาน้ำมันเกี่ยวข้องกับสถิติอย่างไร

       2. นักเรียนจะนำเสนอข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับราคาน้ำมันในรูปแบบใดจึงจะเหมาะสม

กิจกรรมเสนอแนะ

       ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มอภิปรายเกี่ยวกับราคาน้ำมันตลาดโลกในปัจจุบัน  โดยศึกษาข้อมูลราคาน้ำมันย้อนหลัง  6  เดือน

การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น

      กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา  และวัฒนธรรม

      กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2457

อัพเดทล่าสุด