เมื่อแม่เหล็กรักษาโรคได้


599 ผู้ชม


การรักษาโรคซึมเศร้า ซึ่งรักษาด้วยยาไม่หาย ที่ได้ผลและไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงด้วยการใช้แม่เหล็กกระตุ้น   

       

เมื่อแม่เหล็กรักษาโรคได้

        การรักษาโรคซึมเศร้าโดยการใช้แม่เหล็กกระตุ้น เป็นการรักษาโรคซึมเศร้า ซึ่งรักษาด้วยยาไม่หาย ที่ได้ผล  และไม่ก่อให้เกิดอาการข้างเคียง
         มหาวิทยาลัยแพทย์สหรัฐฯ ได้ทดลองรักษาคนไข้ด้วยสนามแม่เหล็ก โดยทดลองกับคนไข้ 190 ราย ให้คนไข้ครึ่งหนึ่งสวมหมวกกันน็อกติดแม่เหล็กวันละ 37 นาที เป็นเวลา 3 อาทิตย์ ส่วนที่เหลือให้สวมหมวกที่ไม่มีแม่เหล็ก
        จากการติดตามผลการทดลอง ได้พบว่า คนไข้กลุ่มที่สวมหมวกแม่เหล็ก พากันทุเลาจากอาการป่วยลงได้ร้อยละ 14 
ในขณะที่ของอีกกลุ่มหนึ่ง มีเพียงร้อยละ 5 เท่านั้น  โดยดร.มาร์ค ยอร์จ หัวหน้าคณะวิจัยกล่าวว่า "ผลการศึกษาส่อว่า การใช้แม่เหล็กกระตุ้นเป็นการรักษาโรคซึมเศร้า ซึ่งรักษาด้วยยาไม่หาย ที่ได้ผล โดยที่ไม่ก่อให้เกิดอาการข้างเคียงอื่นๆ"
สนใจอ่านข่าวเพิ่ม  https://www.thairath.co.th/content/life/81875

กลุ่มสาระการเรียนรู้  คณิตศาสตร์
ช่วงชั้นที่ 3

ร้อยละ  
ร้อยละ หรือ เปอร์เซ็นต์  เป็นอัตราส่วนแสดงการเปรียบเทียบปริมาณใดปริมาณหนึ่งต่อ 100 
ร้อยละ 30 หรือ 30%  เขียนแทนด้วย 30 : 100 
รอยละ 8 หรือ 8% เขียนแทนด้วย 8 : 100
การเขียนอัตราส่วนใดในรูปร้อยละ  เป็นการเขียนอัตรส่วนนั้นให้อยู่ในรูปที่มีจำนวนหลังเป็น 100 เช่น
 5 : 10 = 50 : 100 = 50 %
 2 : 25 = 8 : 100 = 8 %
 1 : 4 = 25 : 100 = 25 %
 0.25 = 0.25 : 1 = 25 : 100 = 25 %
 0.075 = 0.075 : 1 = 7.5 : 100 = 7.5 % 
การเขียนร้อยละใดในรูปอัตราส่วน เป็นการเขียนอัตราส่วนที่มีตัวหลังเป็น 100 เช่น
 22 %  = 22 : 100 = 11 : 50
 0.5 % = 0.5 : 100 = 5 : 1000 = 1 : 200
 3 % = 3 : 100
 25.75 % = 25.75 : 100 = 2575 : 10000  = 103 : 400
 120 % = 120 : 100 = 12 : 10 = 6 : 5

คำถามชวนคิด
1.  นักเรียน 120 คน สอบวิชาคณิตศาสตร์ มีนักเรียนสอบผ่าน  80 คน  คิดเป็นร้อยละเท่าไร
2.  นักเรียน 120 คน สอบวิชาคณิตศาสตร์ มีนักเรียนสอบผ่านคิดเป็น  80  % ของจำนวนนักเรียนที่เข้าสอบ 
      นักเรียนสอบผ่านมีกี่คน
กิจกรรมเสนอแนะ
นักเรียนหาค่าร้อยละของข้อมูลต่างๆ

บูรณาการสู่ความเป็นเลิศ
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล/ภาพประกอบ
https://www.thairath.co.th/content/life/81875

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2458

อัพเดทล่าสุด