โปรดระวัง.......โรคลมแดด...????


663 ผู้ชม


โรคลมแดด เป็นอาการที่เกิดจากการได้รับความร้อนมากเกิน กระทรวงสาธารณสุขจะเร่งประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนประชาชน ให้รู้จักวิธีการป้องกัน   

              นายจุรินทร์ กล่าวว่าเตือนพี่น้องประชาชน และขอแนะนำการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันไม่ให้ป่วยหรือเสียชีวิตจากโรคลมแดด ได้แก่ 1.ให้หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดที่ร้อนจัด พยายามอยู่ในที่ร่มโดยเฉพาะเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว 2.ให้ดื่มน้ำมากๆ 3.หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายกลางแจ้ง 4.หากร้อนจัดแล้วเหงื่อไม่ออกให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว เพื่อระบายความร้อนในตัวออกมา และเป็นการลดความร้อนออกจากร่างกาย 5.หากมีอาการของโรคลมแดด คืออาการกระหายน้ำ ตัวร้อนแต่ไม่มีเหงื่อออก หายใจถี่ ปากคอแห้งและอาจวิงเวียนศีรษะ ขอให้รีบไปพบแพทย์ 
              
ด้านนพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า โรคลมแดด เป็นอาการที่เกิดจากการได้รับความร้อนมากเกิน อาจจะเกิดขึ้นในผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงก็ได้ จัดเป็นความผิดปกติที่มีความรุนแรงมากที่สุด ทำให้สมองไม่ทำงาน ไม่สามารถควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ เช่น ระบบประสาทส่วนกลาง การทำงานของตับและไต รวมทั้งสูญเสียความสามารถในการควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย ทำให้อุณหภูมิของร่างกายเพิ่มสูงขึ้นผิดปกติเกิน 40 องศาเซลเซียส ถือเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องให้การรักษาอย่างรีบด่วน เนื่องจากมีโอกาสเสียชีวิต17 - 70เปอร์เซ็นต์ 
              
โรคดังกล่าวยังเป็นเรื่องใหม่ของคนไทย ดังนั้นในการป้องกันประชาชนไม่ให้ป่วยและเสียชีวิตจากโรคดังกล่าว กระทรวงสาธารณสุขจะเร่งประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนประชาชน ให้รู้จักวิธีการป้องกัน โดยมอบหมายให้กรมควบคุมโรคออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข และแจ้งไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อใช้เป็นข้อมูลเผยแพร่ประชาชนแนวทางเดียวกันทั่วประเทศ
               
นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า ในการป้องกันอันตรายในช่วงที่สภาพอากาศร้อน ที่สำคัญที่สุดคือ ประชาชนจะต้องต้องดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ โดยควรดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว หรือ 2 ลิตรต่อวัน หากทำงานกลางแดดควรสลับมาทำงานในที่ร่มเป็นครั้งคราว เนื่องจากผู้ที่ดื่มน้ำไม่เพียงพอจะไม่สามารถปรับตัวให้สู้กับอากาศร้อนได้ เพราะน้ำเป็นตัวควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย โดยปกติร่างกายจะพยายามปรับอุณหภูมิของร่างกายให้อยู่ที่ 37 องศาเซลเซียส ในการสังเกตว่าร่างกายได้รับน้ำเหมาะสมหรือไม่ สามารถสังเกตง่ายๆ จากสีของปัสสาวะ ถ้าปัสสาวะมีสีเหลืองจางๆ แสดงว่าได้รับน้ำเพียงพอ แต่ถ้าปัสสาวะสีเหลืองเข้มและปัสสาวะออกน้อย แสดงว่าได้รับน้ำไม่เพียงพอ จะต้องดื่มน้ำให้มากๆ  ในปี 2552 มีรายงานผู้ป่วยโรคลมแดดใช้สิทธิบัตรทองเข้ารักษาในโรงพยาบาล 32 ราย และมีทหารเข้ารักษาที่รพ.พระมงกุฎเกล้าฯ 8 นายเสียชีวิต 3 นาย ในปี 2553 ป่วยแล้ว 5 นาย
             

ที่มาของภาพ 
                  https://www.bangkokbiznews.com/home/media/2010/05/11/images/news_img_114661_1.jpg

แหล่งข่าง/อ้างอิง http://www.bangkokbiznews.com

โรคลมแดด หรือที่การแพทย์เรียกว่า ฮีต สโตรก (Heat stroke) 
เป็นภาวะวิกฤตของร่างกายที่ไม่สามารถควบคุมความร้อนได้ 
โปรดระวัง.......โรคลมแดด...????

             โรคลมแดดเกิดจากการได้รับความร้อนมากเกิน ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลัง หรือเล่นกีฬาในภาวะอากาศร้อนจัด
เป็นเวลานาน อาจเกิดขึ้นได้แม้ผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง เป็นความผิดปกติที่รุนแรงมากที่สุด ทำให้สมองไม่ทำงาน 
ไม่สามารถควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ เช่น ระบบประสาทส่วนกลาง การทำงานของตับและไต 
รวมทั้งสูญเสียความสามารถในการควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย ทำให้อุณหภูมิของร่างกายเพิ่มสูงขึ้นผิดปกติ
เกิน 40 องศาเซลเซียส ถือเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องให้การรักษาอย่างรีบด่วน เนื่องจากมีโอกาสเสียชีวิต 17-70 เปอร์เซ็นต์ 
อาการสำคัญ ได้แก่ ตัวร้อนจัด เพ้อ หรือหมดสติ ชีพจรเต้นเร็ว ความดันเลือดลดลง ช็อก ผิวหนังแห้งและร้อน 
ระดับความรู้สึกตัวลดลง การทำงานของอวัยวะต่างๆ ล้มเหลว กระสับกระส่าย เอะอะ ก้าวร้าว หมดสติ เกร็ง ชัก 
โดยกลไกการทำงานของร่างกายหลังจากที่ได้รับความร้อน จะมีการปรับตัวโดยส่งน้ำหรือเลือดไปเลี้ยงอวัยวะภายใน 
เช่น สมอง ตับ และกล้ามเนื้อ เป็นต้น ทำให้ผิวหนังขาดเลือดและน้ำไปหล่อเลี้ยง จึงไม่สามารถระบายความร้อน
ออกจากร่างกายได้ ทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น ตัวร้อนจัดขึ้นเรื่อยๆ 
สัญญาณสำคัญของโรคนี้คือ ไม่มีเหงื่อออก 
ตัวร้อนจัดขึ้นเรื่อยๆ ผู้ที่เป็นจะกระหายน้ำมาก ปวดศีรษะ มึนงง วิงเวียน คลื่นไส้ หายใจเร็ว อาเจียน 
ต่างจากการเพลียแดดหรือเป็นลมแดดทั่วไปที่จะพบมีเหงื่อออกด้วย เมื่อเกิดอาการดังกล่าวจะต้องหยุดพักทันที 
ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาทันท่วงที จะทำให้เสียชีวิตได้

ที่มาของภาพ https://www.arunsawat.com/board/index.php?topic=3745.0
ข้อมูลจาก ข่าวสด วันที่ 05 เมษายน พ.ศ. 2550
และบทความของ 
รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ใน /www.csip.org

กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
มาตรฐาน ค.2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด และคาดคะเนขนาดของสิ่งที่วัด

หน่วยการเรียนรู้ การชั่ง  ตวง  วัด

มาตราชั่ง  ตวง  วัด  ที่ควรรู้

              1 กุรุส = 12 โหล                         
              1 โหล = 12 ชิ้น
กระดาษ 1 รีม = 480 แผ่น
น้ำ 1 แกลลอน = 10 ปอนด์
น้ำ 1 ลูกบาศก์ฟุต หนัก = 62.3 ปอนด์
น้ำ 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร หนัก = 1 กรัม
น้ำ 1 ลิตร = 1 กิโลกรัม
   
มาตราตวงของไทย

 1 เกวียน = 2 บั้น (100 ถัง)
 1 บั้น = 50 ถัง
 1 ถัง = 20 ลิตร
 1 ลิตร = 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร
 1 แกลลอน = 45.6 ลิตร

ประเด็นคำถาม  1. สาเหตุของโรคลมแดดเกิดจากอะไร
                           2. ควรดื่มนำอย่างน้อยวันละเท่าไร
                           3. น้ำ 2 ลิตรเทียบเป็นกี่ลูกบาศก์เซนติเมตร
กิจกรรมเสนอแนะ  1. ทดลองการตวงน้ำ จากแบบฝึกหัดการตวง
                                 2. เปรียบเทียบการตวงจากมาตรา การตวง
การบูรณาการ
                           1. กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์
                           2. กลุ่มสาระสุขพละศึกษา
                         
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2460

อัพเดทล่าสุด