อยากรู้เหลือเกินว่า "หนังต้องห้าม" ที่ "ห้ามไม่ให้ไปดู" จะมี "คนอยากดู" เหมือน "ห้ามเอาไว้" หรือเปล่า? ถ้า ผลลัพธ์ ออกมา "ตรงกันข้าม"...ผู้คนหลามไหลไปดูกันมืดฟ้า จะ "ตัดสิน" กันยังไง?
หนังต้องห้าม "ผู้หญิง 5 บาป 2"
จากข่าว "หนังต้องห้าม" ที่ "ห้ามไม่ให้ไปดู" จะมี "คนอยากดู" เหมือน "ห้ามเอาไว้" หรือเปล่า? ถ้า ผลลัพธ์ ออกมา "ตรงกันข้าม"...ผู้คนหลามไหลไปดูกันมืดฟ้า จะ "ตัดสิน" กันยังไง?
"ผู้หญิง 5 บาป 2" เป็นหนังไทยเรื่องแรกในประวัติศาสตร์ที่ผ่าน "กองเซ็นเซอร์ภาพยนตร์" เพราะเป็นภาพยนตร์เรื่องเดียวที่ห้ามคนดูที่ "อายุไม่ถึง 20 ปี เข้าชมในโรงภาพยนตร์ โดยเด็ดขาด" เรตติ้ง "ฉ.20" ซึ่งเป็นครั้งแรกของวงการหนังไทย
สรุป "ยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ" นี่แหล่ะธรรมชาติของคน เมื่อดูแล้วอาจจะเกิด 2 อาการนี้ก็ได้ควรระวังตัวด้วยละกัน
1. แรงขับทางเพศ (Sex Drive)
2. ล่วงละเมิดทางเพศ (Sexual Abuse)
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง การให้เหตุผล
1.ระบบทางคณิตศาสตร์
อนิยาม คือ ข้อความที่ไม่ต้องให้ความหมาย หรือ คำจำกัดความ
บทนิยาม คือ ข้อความที่ให้ความหมาย หรือคำจำกัดความไว้อย่างชัดเจน เพื่อทุกคนทราบความหมายที่ถูกต้องเข้าใจตรงกัน
สัจพจน์ คือ ข้อความที่ทุกคนยอมรับว่าข้อความนั้นเป็นจริงโดยไม่ต้องพิสูจน์
ทฤษฎีบท คือ ข้อความที่ยอมรับว่าเป็นจริง ได้มีการพิสูจน์โดยอาศัย อนิยาม บทนิยาม สัจพจน์ และวิธีทางอย่างมีเหตุมีผล
2. การให้เหตุผล
มนุษย์เราให้เหตุผลสนับสนุนความเชื่อและเพื่อหาความจริงหรือข้ออสรุปในเรื่องที่ต้องการศึกษา
2.1 การให้เหตุผลแบบอุปนัย ( Inductive Reasoning ) เป็นการให้เหตุผลโดยยึดความจริงส่วนย่อยที่พบเห็นไปสู่ความจริงส่วนใหญ่
ตัวอย่าง มนุษย์สังเกตพบว่า : ทุก ๆวันดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตอ. และตกทางทิศตต.
จึงสรุปว่า : ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตอ. และตกทางทิศตต.เสมอ
การให้เหตุผลแบบอุปนัย หมายถึง วิธีการสรุปในการค้นคว้าความจริงจากการสังเกตหรือทดลองหลายครั้งจากกรณีย่อยๆแล้วนำมาสรุปเป็นความรู้แบบทั่วไป
อย่างไรก็ดีการหาข้อสรุปหรือความจริงโดยใช้วิธีการให้เหตุผลแบบอุปนัยนั้น ไม่จำเป็นต้องถูกต้องทุกครั้ง เนื่องจากเป็นการสรุปผลจากหลักฐานข้อเท็จจริงที่มีอยู่
ดังนั้น ข้อสรุปจะเชื่อถือได้มากหรือน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูล หลักฐานและข้อเท็จจริงที่นำมาอ้าง
1. จำนวนข้อมูล หลักฐานหรือข้อเท็จจริงที่นำมาเป็นข้อสังเกตหรือข้ออ้างอิงมีมากพอกับการสรุปความหรือไม่
2. ข้อมูลหลักฐาน หรือข้อเท็จจริงเป็นตัวแทนที่ดีในการให้ข้อสรุปหรือไม่
3. ข้อสรุปที่ต้องการมีความซับซ้อนมากน้อยเพียงใด
2.2 การให้เหตุผลแบบนิรนัย (Deductive Reasoning )
เป็นการนำความรู้พื้นฐาน ความเชื่อ ข้อตกลง กฏ บทนิยามซึ่งเป็นสิ่งที่รู้มาก่อนและยอมรับเป็นจริงเพื่อหาเหตุนำไปสู่ข้อสรุป
ตัวอย่าง
เหตุ 1) เด็กทุกคนชอบเล่นฟุตบอล
2) ฟุตบอลเป็นกีฬา
ผล เด็กทุกคนชอบเล่นกีฬา
สรุปว่า การให้เหตุผลแบบนิรนัยนั้น ผลหรือข้อสรุปถูกต้อง เมื่อ
1. ยอมรับเหตุเป็นจริงทุกข้อ
2. การสรุปผลสมเหตุสมผล
ความสมเหตุสมผล
มี 2 ส่วน คือ
1. เหตุ – สิ่งที่เรากำหนด / สมมติฐาน
2. ผล – ผลสรุป / ข้อสรุป
*ผลสรุป จะถูกต้อง เมื่อมีความสมเหตุสมผล
การตรวจสอบการสมเหตุสมผล
การตรวจสอบว่าข้อสรุปสมเหตุสมผลหรือไม่นั้นสามารถตรวจสอบได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อความที่กำหนดมาให้ วิธีหนึ่งคือ การวาดแผนภาพตามสมมติฐานที่เป็นไปได้ แล้วจึงพิจารญาว่าแผนภาพแต่ละกรณีแสดงผลสรุปตามที่สรุปไว้หรือไม่
ถ้าแผนภาพ สอดคล้องกับ ผลที่สรุปไว้ กล่าวว่า การให้เหตุผลนั้น สมเหตุสมผล ถ้าแผนภาพ ไม่สอดคล้องกับ ผลที่สรุปไว้ กล่าวว่า การให้เหตุผลนั้น ไม่สมเหตุสมผล(ไม่สอดคล้องเพียง 1 กรณี ก็ถือว่าไม่สมเหตุสมผล)
เรียกการตรวจสอบการสมเหตุสมผลแบบนี้ว่า การอ้างเหตุผลโดนการใช้ตรรกบทของตรรกศาสตร์
ตัวอย่าง
เหตุ 1. คนทุกคนที่กินปลาเป็นคนฉลาด
2. คนที่ฉลาดเรียนหนังสือเก่ง
ผล คนที่กินปลาเรียนหนังสือเก่ง
ตอบ จากแผนภาพ สอดคล้องกับผลสรุป ดังนั้น การให้เหตุผลนี้ สมเหตุสมผล
ตัวอย่าง
เหตุ 1. คนจีนบางคนนับถือศาสนาพุทธ
2. เหมยเป็นคนจีน
ผล เหมยไม่นับถือศาสนาพุทธ
ตอบ จากแผนภาพพบว่า กรณี 2 ไม่สอดคล้องผลสรุป ดังนั้นไม่สมเหตุสมผล
หมายเหตุ ในการแสดงผลสรุปไม่สมเหตุสมผล เราไม่จำเป็นต้องเขียนแผนภาพทั้งหมดทุกกรณี โดยอาจจะยกเฉพาะกรณีที่ แผนภาพไม่สอดคล้องกับผลสรุปเพียงกรณีเดียวก็พอ
ตัวอย่าง
เหตุ 1. เรือทุกลำลอยน้ำ
2. ถังน้ำพลาสติกลอยน้ำได้
ผล ถังน้ำพลาสติกเป็นเรือ >> สังเกตว่า แม้ว่าข้ออ้างหรือเหตุทั้งสองข้อจะเป็นจริง แต่การที่เราทราบ ว่า เรือทุกลำลอยน้ำได้ก็ไม่ได้หมายความว่าสิ่งอื่นๆ ที่ลอยน้ำได้จะต้องเป็นเรือเสมอไป ข้อสรุปในตัวอย่างข้างต้นจึงเป็นการสรุปที่ไม่สมเหตุสมผล
ตอบ สมเหตุมผล
ตัวอย่าง
เหตุ 1. แมวทุกตัวเป็นปลา
2. ต้นไม้ทุกต้นเป็นแมว
ผล ต้นไม้ทุกต้นเป็นปลา
>> สังเกตว่า ผลสรุปที่กล่าวมาว่า ต้นไม้ทุกต้นเป็นปลา นั้นสมเหตุสมผล แต่ไม่เป็นความจริงทางโลก
หมายเหตุ เมื่อยอมรับเหตุเป็นจริงตามสมมติฐานที่ตั้งไว้แล้ว ต่อให้ผลสรุปขัดแย้งกับความเป็นจริงทางโลก แต่หากเป็นจริงตามการให้เหตุผลนั้นแล้ว ก็ถือว่า การให้เหตุผลนั้นสมเหตุสมผล
สรุป การให้เหตุผลแบบอุปนัย
- โดยอ้างจากตัวอย่างหรือประสบการณ์ย่อยหลายๆตัวอย่าง แล้วสรุปเป็นความรู้ทั่วไป
- จากเหตุกาณ์เฉพาะที่เกิดขึ้นซ้ำๆหลายๆครั้ง
- โดนใช้การคาดคะเน
- จากประสบการณ์ของผู้สรุป
- สิ่งที่กำหนดให้ จะสนับสนุน ผลสรุป แต่จะไม่สามารถยืนยันข้อสรุปได้
- ย่อย >> ใหญ่ คือ การนำข้อค้นพบจากตัวอย่างหลาย ๆ ตัวอย่างมาสรุปเป็นความรู้ทั่วไป กฎ สูตร หรือหลักการ
สรุป การให้เหตุผลแบบนิรนัย
- โดยอ้างเหตุผลจากความรู้พื้นฐานชุดหนึ่งที่ยอมรับกันมาก่อน
- เมื่อเหตุ (ข้อสมมติ) เป็นจริง แล้วทำให้เกิดผลสรุป
- สิ่งที่กำหนดให้ (เหตุ) สามารถยืนยัน ผลสรุปได้
- ถ้าเหตุนั้นทำให้เกิดผลสรุปได้ = การให้เหตุผลดังกล่าวสมเหตุสมผล
- ถ้าเหตุทำให้เกิดผลสรุปไม่ได้ = การให้เหตุผลดังกล่าวไม่สมเหตุสมผล
- ใหญ่ >> ย่อย คือการนำความรู้ทั่วไป กฎ สูตร หรือหลักการมาใช้ในการหาคำตอบหรืออธิบายหรือให้เหตุผลกับกรณีเฉพาะอันหนึ่ง
คำถามในห้องเรียน
1. นักเรียนมีความคิดเห็นอย่างไรกับ คำว่า"หน้งต้องห้าม" พร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบ
2. การให้เหตุผลแบบอุปนัยและการให้เหตุผลแบบนิรนัยเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
กิจกรรมเสนอแนะ
1. ถ้า นักเรียนมีอายุ 20 ปีนักเรียนคิดว่าจะไปดุหนังเรื่องนี้หรือไม่เพราะเหตุใด
2 กองเชนเซอร์ มีเรตติ้งกี่ชนิดอะไรบ้างพร้อมหาสัญลักษณ์ประกอบการอธิบาย
การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว
มาตรฐาน ง 1.1 เข้าใจการทำงาน มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะการจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกัน และทักษะการแสวงหาความรู้ มีคุณธรรมและลักษณะนิสัยในการทำงาน มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
สาระที่ 2 ชีวิตและครอบครัว
มาตรฐาน พ 2.1 เข้าใจและเห็นคุณค่าตนเอง ครอบครัว เพศศึกษา และมีทักษะในการดำเนินชีวิต
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
สาระที่ 3 การฟัง การดู และการพูด
มาตรฐาน ท 3.1 สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิด และความรู้สึกในโอกาสต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์
ที่มาของข้อมูล https://siamclassview.edu.chula.ac.th/cudsmaths47/view.php?Page=1248417307576477&msite=cudsmaths47
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ www.pkc.ac.th/patana/webm4.1/resoning.doc
ที่มาของภาพ https://t3.gstatic.com/images?q=tbn:Buvzxc4ZmnOgRM:https://www.pantip.com/cafe/chalermthai/topic/A9100090/A9100090-12.jpg
ที่มาของภาพ https://t2.gstatic.com/images?q=tbn:7wA-7nSclcYxtM:https://gossipstar.xn--12clb7djf6d3a8gh1a6l.com/images2/26760_0.jpg
ที่มาของภาพ https://t3.gstatic.com/images?q=tbn:5BVLenYEqexxhM:https://mon6sq.blu.livefilestore.com/y1mvhnuZs0MgSaCVEY9Q8XyPOXvtU-j8D0ES8jNjRQxGzN9euM8V1OqcyGiOXBKrJw1sht8_2CZKa2ipLzJs3npTUqQnWaTzYuHFbfutNwKwWVMl6Z9ZrmyTWyqVSpFq8rjze1XkZ2VxLJZttfLAMGrYw/17079_103944419627186_100000348852648_98730_5940783_n.jpg
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2550