สารสกัดฟองน้ำ...ก้าวล้ำโรคมะเร็ง


1,211 ผู้ชม


นักวิทยาศาสตร์ค้นพบคุณสมบัติพิเศษของฟองน้ำ และสามารถสกัดสารต้านมะเร็งจากฟองน้ำได้   

สกัดสารต้านมะเร็ง...จากฟองน้ำ

สารสกัดฟองน้ำ...ก้าวล้ำโรคมะเร็ง

                                          ภาพ ดาวเปราะหนามเล็กอาศัยฟองน้ำทะเลเป็นที่อยู่อาศัย
         ( https://www.biotec.or.th/brt/index.php/2009-06-23-04-27-44/235-marine-sponge-sumaitt )

        ฟองน้ำทะเล นอกจากจะเป็นสัตว์ที่มีคุณประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตใต้ผืนน้ำ ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ไทยยังพบสารสกัดที่เป็นประโยชน์ในฟองน้ำทะเลออกมาได้แล้วในรูปของสารต้านมะเร็ง ดร.พูนศักดิ์ พลอยประดิษฐ์ และคณะผู้วิจัยห้องปฏิบัติการเภสัชเคมี สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ได้ทำการศึกษาเรื่องสารในกลุ่มลาเมลลาริน ซึ่งเป็นสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากทะเล ที่พบได้ใน เพรียง และ ฟองน้ำบางชนิด งานวิจัยนี้เป็นตัวอย่างที่มุ่งเน้นการพัฒนากระบวนการสังเคราะห์สารที่ แสดงฤทธิ์ต้านมะเร็งที่ดี แต่มีปริมาณน้อยในธรรมชาติ ทั้งนี้การศึกษาการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเคมีของสารดังกล่าว เพื่อให้ได้สารที่มีคุณสมบัติทางเภสัชวิทยา รวมทั้งคุณสมบัติอื่น ๆ ที่เหมาะสมจำเป็นต้องใช้กระบวน การสังเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพ 
(ที่มาของข่าว : 
 เดลินิวส์ออนไลน์ วันอาทิตย์ ที่ 16 พฤษภาคม 2553 เวลา 0:00 น)


ความรู้เพิ่มเติม

สารสกัดฟองน้ำ...ก้าวล้ำโรคมะเร็ง

                                                                ภาพปะการังแก้ว

                   (ที่มา : )

       ฟองน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกเดียวในไฟลัมพอริเฟอรา (Porifera มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน - porus หมายถึง รู และ ferre หมายถึง พยุงหรือค้ำเอาไว้) เป็นสัตว์หลายเซลล์ที่มีวิวัฒนาการต่ำสุด มีรูปร่างคล้ายแจกันที่มีรูพรุนเล็ก ๆ ทั่วตัวซึ่งเป็นช่องทางให้น้ำผ่านเข้าไปในลำตัว มีเซลล์เรียงกันเป็นสองชั้นแต่ยังไม่มีเส้นประสาทและกล้ามเนื้อที่แท้จริง ไม่มีอวัยวะและทางเดินอาหาร ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในน้ำทะเล มีบางชนิดเท่านั้นที่อาศัยอยู่ในน้ำจืด ตัวอ่อนของฟองน้ำนั้นมีเซลล์ที่สามารถว่ายได้น้ำได้ เรียกระยะนี้ว่า แอมพิบลาสทูลา (Amphiblastula) โดยจะว่ายน้ำไปเกาะตามก้อนหิน เมื่อเจริญเติบโตแล้วจะกลายเป็นฟองน้ำที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ ฟองน้ำในปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 5,000 สายพันธุ์ มักพบในเขตน้ำลึกกลางมหาสมุทรลึกประมาณ 8,500 เมตร (https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9F%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3)


        สุเมตต์ ปุจฉาการ นักวิชาการด้านหน่วยสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในทะเล งานวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลฝ่ายวิจัย สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลมหาวิทยาลัยบูรพา ให้ข้อมูลเรื่องของฟองน้ำทะเลไว้ในเว็บไซต์ไบโอเทค ว่า จัดอยู่ในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ถือกำเนิดมาเมื่อ 600 ล้านปีมาแล้ว เชื่อกันว่าฟองน้ำทะเลถือกำเนิดมาจากบรรพบุรุษสัตว์เซลล์เดียวพวกโพรโทซัว ในอดีตเคยครอบครองอาณาจักรพื้นท้องทะเลควบคู่กับปะการัง คาดการณ์ว่าในโลกนี้มีฟองน้ำ 15,000 ชนิด   
    
      

สารสกัดฟองน้ำ...ก้าวล้ำโรคมะเร็ง

      ภาพเซลล์อะมีโบไซด์ (amoebocyte) หน้าที่ในการย่อยอาหารและลำเลียงอาหารให้แก่ฟองน้ำ
                                          (ที่มา : https://www.vcharkarn.com/vcafe/42796/1)

        ฟองน้ำทะเลเป็นสัตว์กินอาหารด้วยการกรอง โดยกรองน้ำผ่านตัวซึ่งสามารถกรองน้ำทะเลได้มากกว่าสิบเท่าของปริมาตรตัวเองภายในหนึ่งชั่วโมง และทำงานต่อเนื่องทั้งเวลากลางวันกลางคืน จึงเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการกรองน้ำทะเลให้ใสสะอาดขึ้น และยังเป็นแหล่งอาศัยให้กับสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ หลายชนิดเช่น กุ้ง หอย ปู และไส้เดือนทะเล

         นักวิชาการด้านหน่วยสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในทะเล งานวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลฝ่ายวิจัย กล่าวถึงประโยชน์ของฟองน้ำทะเลเพิ่มเติมว่าเป็นสัตว์ที่มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเครื่องสำอางและยาปัจจุบันฟองน้ำเป็นสัตว์ที่นักวิทยาศาสตร์กำลังให้ความสนใจมาก เนื่องจากเป็นสัตว์ที่เกาะติดอยู่กับที่แต่แทบจะไม่มีศัตรูมารบกวน  จึงสันนิษฐานว่าฟองน้ำน่าจะสร้างอาวุธทางเคมีที่ไม่พึงปรารถนากับสัตว์น้ำชนิดอื่น ๆ อาวุธทางเคมีเหล่านี้คือแหล่งสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติทะเล (Marine natural products) ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทั้งทางด้านการศึกษาวิจัย การแพทย์และเภสัช  นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ยังพบว่าฟองน้ำบางชนิดเลี้ยงแบคทีเรียไว้เป็นอาหารของตนเองในระบบท่อน้ำแล้วสร้างสารต้านจุลชีพขึ้นมาเพื่อป้องกันไม่ให้อาหารของตนถูกทำร้ายหรือถูกแก่งแย่งแข่งขันจากแบคทีเรียชนิดอื่นที่ไม่พึงประสงค์ ความสามารถนี้จึงถูกยกย่องว่าเป็น “นักเกษตรกรรมยุคแรกของโลก”


สาระการเรียนรู้
 นักเรียนจะนำความรู้ไปบูรณาการ เมื่อเรียนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นม.1- 6 
        มาตรฐาน 1.2  เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสาร สิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ 
        ตัวชี้วัด  ๑.   อธิบายกระบวนการการเกิดความหลากหลายทางชีวภาพ

 

ประเด็นนำการคิด
1. คุณสมบัติในข้อใดทำให้ปะการังเป็นสัตว์
2. อาวุธทางเคมี ในบทความนี้เกิดจากการส้งเกตพบปราฏฏการณ์ใด
3. ฟองน้ำมีกระบวนการกิน ย่อยอาหาร อย่างไร

 

กิจกรรมเสริมทักษะวิทยาศาสตร์
1. ดูวีดีทัศน์เกี่ยวกับฟองน้ำทะเล
2. ศึกษาการจัดหมวดหมู่(Taxonomy)ของฟองน้ำ
3. ศึกษาโครงการทางทะเล

 


บูรณาการผสานความรู้
1. นำความรู้ที่ได้จาการอ่านเรื่องนี้ ไปสื่อสารให้เพื่อนๆฟัง เพื่อฝึกทักษะการสื่อสาร
2. สามารถประยุกต์ความรู้ สำหรับผู้ที่สนใจสิ่งมีชีวิตทางทะเล

 


อ้างอิง
https://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm
         page=content&categoryID=522&contentID=65961
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9F%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%
        89%E0%B8%B3
https://www.biotec.or.th/brt/index.php/2009-06-23-04-27-44/235-marine-sponge-sumaitt
ภาพอคอนจาก  
    (https://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/science)

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2559

อัพเดทล่าสุด