บันทึกการปรับราคาทองประจำวัน ... กับ สถิติ


722 ผู้ชม


ช่วงเวลา ทองคำแท่ง ทองรูปพรรณ Gold spot Bath/USD ปรับขึ้น-ลง   

บันทึกการปรับราคาทองประจำวัน วันพุธที่ 26 พฤษภาคม 2553  
บันทึกการปรับราคาทองประจำวัน ... กับ สถิติ

ช่วงเวลา                    ทองคำแท่ง                  ทองรูปพรรณ    Gold spot Bath/USD ปรับขึ้น-ลง 
ครั้งที่     เวลา        รับซื้อ      ขายออก      รับซื้อ           ขายออก     Gold      บาท/us     ปรับขึ้น/ลง
   4     16:30:00    18550    18650      18282.96        19050      1212.00     32.53          50 
   3     15:09:00    18500    18600      18237.48        19000      1208.50     32.53          50 
   2     11:25:00    18450    18550      18176.84        18950      1206.00     32.50          50 
   1      09:27:00   18400    18500      18131.36       18900      1203.00     32.55        150 
  
ที่มา: สมาคมค้าทองคำ 
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ข้อมูล หมายถึงข้อเท็จจริงซึ่งอยู่ในรูปของจำนวน ข่าวสาร ข้อความ หรือความคิดเห็น อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างเพื่อใช้เป็นฐานของการศึกษาหรือหาข้อสรุปในเรื่องราวที่สนใจจำแนกข้อมูลที่มีคุณลักษณะอย่างเดียวกันไว้เป็นประเภทเดียวกัน เป็น 2 ประเภท  คือ
1.  ข้อมูลเชิงคุณภาพ  หมายถึง ข้อมูลที่ไม่สามารถเปรียบเทียบเชิงปริมาณบันทึกการปรับราคาทองประจำวัน ... กับ สถิติ เช่น 
มากกว่า น้อยกว่าได้ ซึ่งได้แก่ ข้อมูลที่แสดงฐานะ สถานภาพ คุณสมบัติ ตัวอย่างของข้อมูลประเภทนี้ ได้แก่ ชื่อของพนักงานในบริษัท เพศ วัน เดือน ปี ชนิดของสินค้า เป็นต้น  ถึงแม้ว่าข้อมูลประเภทนี้จะกำหนดด้วยตัวเลขก็ไม่สามารถที่จะเปรียบเทียบกับเชิงปริมาณได้เช่น หมายเลขโทรศัพท์ บ้านเลขที่ หรือการกำหนดตัวเลขแทนข้อมูลบางอย่าง เช่น 1 แทนเพศชาย  และ 2 แทนเพศหญิง แต่ไม่อาจกล่าวได้ว่า 2 มีค่ามากกว่า 1 ตัวเลขทั้งสองเป็นแต่เพียงแสดงว่าแตกต่างกัน  เท่านั้น การวิเคราะห์ข้อมูลข้อมูลเบื้องต้นจะกระทำได้ด้วยการเปรียบเทียบจำนวนความถี่ของข้อมูล หรือการเปรียบเทียบ    ปริมาณของค่าสัมพัทธ์  ทั้งนี้เนื่องจากข้อมูลประเภทนี้ไม่สามารถบวก ลบ คูณ หรือหารกันได้
2.  ข้อมูลเชิงปริมาณ หมายถึง ข้อมูลที่แสดงปริมาณ หรือขนาดที่สามารถเปรียบเทียบกันได้ในลักษณะมากกว่าหรือน้อยกว่าเป็นจำนวนเท่าไร ข้อมูลประเภทนี้มักเป็นข้อมูลที่แสดง    ค่าเป็นตัวเลข เช่น จำนวนนักศึกษาในวิทยาลัยต่าง ๆ อายุการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้า อุณหภูมิของร่างกายของคนป่วยหลังจากการผ่าตัด เป็นต้น
ข้อสังเกตสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพและข้อมูลเชิงปริมาณ จะพบว่า ข้อมูลบางอย่างมีลักษณะคล้ายบันทึกการปรับราคาทองประจำวัน ... กับ สถิติกันมากแต่จัดอยู่คนละประเภท ลองพิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้ จากการสำรวจความรู้สึกของลูกค้าที่เข้ามารับบริการของโรงแรม  โดยใช้แบบสอบถามเป็นคำถามปลายปิด  เชตของกระทงคำถามกลุ่มหนึ่งให้ผู้ตอบเลือกคำตอบได้ 2 ประการคือ “พอใจ” กับ “ไม่พอใจ”  เซตของกระทงคำถามอีกกลุ่มหนึ่งกำหนดลำดับของความรู้สึกเรียงจากมากไปหาน้อยดังนี้ “พอใจมาก” “พอใจ” “ไม่ค่อยพอใจ” และ “ไม่พอใจเลย”  จากตัวอย่างที่ยกมา ข้อมูลจากกระทงคำถามทั้งสองกลุ่มมีลักษณะคล้ายกันมาก คือเป็นระดับความรู้สึกของผู้ตอบที่มีต่อบริการของโรงแรม แต่จะเห็นว่ามี ข้อแตกต่างกันที่  คำตอบ ในกลุ่มแรกจะแสดงถึงความแตกต่างของความรู้สึก ส่วนคำตอบในกลุ่มที่สองจะแสดงน้ำหนักของความรู้สึกซึ่งเปรียบเทียบกันในลักษณะมาก - น้อยได้   ดังนั้นข้อมูลจากคำถามกลุ่มแรกจึงจัดเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ และข้อมูลจากคำถามในกลุ่มที่สองเป็นข้อมูล  เชิงปริมาณ  นอกจากนี้ถ้าพิจารณาจากความแตกต่างของค่าของตัวเลขที่ได้จากการวัดค่าของข้อมูลยังสามารถจำแนกได้เป็น 2 อย่าง  คือ

1. ข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง
  เป็นข้อมูลที่แสดงค่าด้วยจำนวนจำกัด เช่น จำนวนสินค้า  มีตำหนิ จำนวนเงินค่าใช้จ่ายประจำบันทึกการปรับราคาทองประจำวัน ... กับ สถิติเดือนของนักศึกษา ข้อสังเกตง่าย ๆ สำหรับข้อมูลประเภทนี้คือ สามารถบอกค่าที่ถัดจากค่าของข้อมูลนั้นได้ทั้งทางมากกว่าหรือน้อยกว่า

2. ข้อมูลแบบต่อเนื่อง
  เป็นข้อมูลที่แสดงค่าด้วยจำนวนต่อเนื่องมักเป็นข้อมูลที่ได้จากการวัดด้วยมาตรวัดต่าง ๆ เช่น ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร อุณหภูมิ เวลา เป็นต้น  ซึ่งการกำหนดค่าของข้อมูลที่ถูกต้อง จะต้องกำหนดเป็นช่วง เนื่องจากไม่สามารถกำหนดค่าของข้อมูลเป็นค่าหนึ่ง ค่าใดได้  แต่ในทางปฏิบัติมักจะกำหนดเป็นค่าเดียวโดยอนุโลมเพื่อความสะดวกในการนำไปใช้แหล่งข้อมูล หมายถึงแหล่งที่ได้จัดเก็บข้อมูลไว้ด้วยเหตุผลเพื่อเผยแพร่ หรือการวิเคราะห์วิจัย หรือเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานของการตัดสินใจในการทำกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง  ซึ่งแบ่งกว้าง ๆ ได้ 2 อย่าง  คือ
1.  แหล่งปฐมภูมิ (primary source) เป็นแหล่งข้อมูลที่จัดเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง ตามระเบียบวิธีของการจัดเก็บข้อมูลแบบปฐมภูมิ เช่น การสร้างแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ หรืออื่น ๆ  เพื่อให้ได้ข้อมูลตรงกับจุดประสงค์ของผู้ที่ศึกษา  ข้อมูลที่ได้นี้เรียกว่า ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data) เช่น การตรวจเลือดหญิงบริการในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อหาจำนวนหญิงบริการที่ติดเชื้อ  HIV การวิเคราะห์หาสารหนักที่ตกค้างในน้ำดื่มเพื่อประเมินคุณภาพน้ำดื่ม เป็นต้น  ข้อดีของข้อมูลปฐมภูมิ คือ ได้ข้อมูลที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรงตามจุดประสงค์ของการศึกษาครั้งนั้น  ส่วนข้อเสียคือ ต้องใช้เวลาและงบประมาณในการจัดเก็บค่อนข้างมาก

2.  แหล่งทุติยภูมิ (secondary source
) เป็นแหล่งข้อมูลที่ไม่ได้จัดเก็บข้อมูลครั้งแรกเองข้อมูลที่รวบรวมจะได้มาจากบันทึกการปรับราคาทองประจำวัน ... กับ สถิติข้อมูลที่ผ่านการรวบรวมและจัดระบบไว้ก่อนแล้ว จึงไม่ได้จัดเก็บตามจุดประสงค์ของการศึกษาโดยตรง เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประวัติด้านการป้องกันโรคติดต่อของนักเรียน โดยวิธีรวบรวมจากทะเบียนประวัติของนักเรียนที่โรงเรียนบันทึกไว้  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดถือว่าเป็นแหล่งทุติยภูมิ  ส่วนข้อมูลที่รวบรวมมาเรียกว่า ข้อมูลทุติยภูมิ  ซึ่งถ้าข้อมูลที่จัดเก็บสอดคล้องกับจุดประสงค์ของการศึกษาจะทำให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายจำนวนมาก


คำถามในห้องเรียน 
1. บันทึกการปรับราคาทองประจำวัน วันพุธที่ 26 พฤษภาคม 2553  เป็นข้อมูลแบบใดและเป็นข้อมูลต่อเนื่องหรือไม่เพราะเหตุใด

กิจกรรมเสนอแนะ

1. ถ้าให้นักเรียนหาข้อมูลจากแหล่งปฐมภูมิและแหล่งทุติยภูมิภายในโรงเรียน นักเรียนคิดว่าจะหาข้อมูลจากที่ไกนพร้อมยกเหตุผลประกอบ
ที่มาของข้อมูล https://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1274866849&grpid=&catid=05
ที่มาของภาพ https://t1.gstatic.com/images?q=tbn:MRipRDPn1Sp_kM:https://www.bloggang.com/data/skyman/picture/1182088720.jpg

การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ 
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา และวัฒนธรรม
บันทึกการปรับราคาทองประจำวัน ... กับ สถิติสาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์
มาตรฐาน ส.3.1 เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภคการใช้  ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า  รวมทั้งเข้าใจ หลักการของเศรษฐกิจพอเพียง  เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ 
มาตรฐาน ส.3.2 เข้าใจระบบ และสถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ๆ  ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และความจำเป็นของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก
 ที่มาของภาพ https://t0.gstatic.com/images?q=tbn:upjY3KrDMND5VM:https://th.88dbmedia2.jobsdb.com/DB88UploadFiles/2008/03/21/C69016B4-F379-4D28-87E5-8E9FDC360AB4.jpg

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2599

อัพเดทล่าสุด