"สาทิตย์” ระบุต้น มิ.ย.เปิดตัวคณะทำงานขับเคลื่อนประเทศไทย ฟุ้งเดือน ก.ย.แผนปรองดองคืบ เตรียมส่งแบบสอบถามไปยัง 20 ล้านครัวเรือน ร่วมออกแบบ ปท.
รัฐทำโพลล์ 20 ล.ครัว
ร่วมออกแบบประเทศไทยคาดลุยหลังซักฟอก
"สาทิตย์” ระบุ ต้น มิ.ย.เปิดตัวคณะทำงานขับเคลื่อนประเทศไทย ฟุ้ง เดือน ก.ย.แผนปรองดองคืบ เตรียมส่งแบบสอบถามไปยัง 20 ล้านครัวเรือน ร่วมออกแบบ ปท.
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าว ภายหลังการประชุมคณะทำงานประสานงานเพื่อการขับเคลื่อนประเทศไทยว่า วันนี้มีอาสาสมัครหลายส่วนและตัวแทนจากองค์กรพัฒนาเอกชน (เอ็นจีโอ) สำนักงานสร้างเสริมสุขภาพแห่งชาติ (สสส.) มาร่วมพูด คุยกับตนและนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ที่ปรึกษานายกฯรัฐมนตรี พร้อมเสนอแนวคิดดีๆ เพื่อร่วมกันทำให้บ้านเมืองเกิดความปรองดองขึ้น โดยจะเสนอความคิดเห็นให้กับนายกฯ พิจารณาต่อไป ทั้งนี้รัฐบาลขอความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ
ตอนนี้ สิ่งที่ต้องทำมี 2-3 ประเด็น เรื่องใหญ่สุดคือเปิดช่องให้นายกฯ รับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน โดย 1.นายกฯ ต้องทำจดหมายเชิญองค์กรภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาคเอกชน ภาคธุรกิจ และภาคสังคม เพื่อให้เข้ามามีส่วนร่วม เบื้องต้นบริษัทประชาสัมพันธ์และบริษัทโฆษณาได้รวมตัวกันอยู่แล้ว และพร้อมเสนอความเห็นให้กับรัฐบาล และ2.การขอความช่วยเหลือจากสำนักโพลต่างๆ ว่าประชาชนอยากเห็นทิศทางของประเทศ ไทยเดินหน้าต่อไปอย่างไร ไม่ใช่การไปบังคับให้ทำ แต่เป็นการไปขอความช่วยเหลือโดยสมัครใจ คาดว่าจะได้รับความร่วมมืออย่างดี ซึ่งคาดว่าจะมีการพูดคุยกันในสัปดาห์หน้า และ3.รัฐบาลต้องจัดทีมออกไปรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วน ตั้งแต่ภาคธุรกิจไปจนถึงคนหาเช้ากินค่ำ
อ่านข่าวเพิ่มเติมที่ https://www.thaipost.net/news/280510/22699
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
การเก็บข้อมูลไดยใช้แบบสอบถาม
การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามส่งไปให้กลุ่มตัวอย่างตอบ เป็นวิธีที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเพราะเป็นวิธีที่ทำได้ง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก ประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายมากกว่า การสังเกตหรือการสัมภาษณ์ มีรัศมีทำการไกล กว้างขวาง เป็นแบบเดียวกัน สะดวกต่อการวิเคราะห์และการเก็บไว้เป็นหลักฐานได้นาน นอกจากนี้ ในวงการวิจัยยังใช้แบบสอบถามเป็นแนวในการสัมภาษณ์ หรือสัมภาษณ์ตามแบบสอบถาม ซึ่งทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องเพิ่มขึ้นอีก หรือใช้เป็นแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต ทำให้ได้ข้อมูลกว้างขวางละเอียดลึกลงไปในสิ่งที่ต้องทราบ
ประเภทของแบบสอบถาม แบ่งประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท คือ
1) แบบสอบถามแบบปลายเปิด (open - ended questionnaire) เป็นแบบสอบถามที่ตั้งคำถามอย่างกว้าง ๆ เปิดโอกาสให้ผู้ตอบตอบได้อย่างเสรี ตามความพอใจ ตัวอย่างแบบสอบถามแบบเปิด เช่น
ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจต่อรายได้ของเกษตรกร
แบบสอบถามแบบปลายเปิดมีข้อดีอยู่หลายประการ เช่น
- ผู้ตอบมีโอกาสใช้ความคิดได้อย่างเสรี
- ได้คำตอบที่เป็นภาษาเขียนของผู้ตอบเอง ซึ่งเป็นคำตอบที่แท้จริงของผู้ตอบ
- สร้างคำถามได้ง่าย
- ช่วยให้ได้ข้อมูลทั้งที่เป็นความคิดเห็น ทัศนคติ และข้อมูลจริง
- ถ้าต้องการกำหนดความยาวของคำตอบก็ทำได้ โดยเว้นช้องว่างไว้ตามความยาวที่ต้องการ
แต่อย่างไรก็ดี แบบสอบถามแบบปลายเปิดก็มีข้อจำกัดอยู่หลายประการเช่นกัน ดังนี้
- ไม่อำนวยความสะดวกแก่ผู้ตอบ ทำให้ตอบได้ช้า
- ผู้ตอบบางคนขาดทักษะและเวลาในการเขียนคำตอบ อาจมีผลให้ข้อมูลที่ได้มีความเชื่อถือได้ต่ำกว่าแบบสอบถามปลายปิด
- บางครั้งผู้ตอบให้คำตอบที่ไม่ตรง หรือไม่สัมพันธ์กับปัญหาที่ต้องการวิจัย
- รวบรวมคำตอบยาก ยุ่งยากในการวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปยาก เพราะคำตอบที่ได้มีลักษณะกระจัดกระจาย ทำให้เสียเวลามาก
2) แบบสอบถามแบบปลายปิด (close ended questionnaire) เป็นแบบสอบถามที่ผู้สร้างมีจุดมุ่งหมายอย่างแน่นอนอยู่ในใจ และจัดเตรียมคำตอบไว้ล่วงหน้าแล้ว ผู้ตอบเพียงเลือกคำตอบที่กำหนดให้เท่านั้น ข้อความที่นำมาเป็นคำตอบนั้นอาจได้มาจากแบบสอบถามปลายเปิดหรือจากผู้รู้ จากวารสาร เอกสาร การวิจัย และแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ตัวอย่างแบบสอบถามปลายปิด เช่น
ท่านเคยทำงานที่อื่นก่อนที่จะมาร่วมโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่หรือไม่
( ) เคยทำงานที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรมาก่อน
( ) เคยทำงานอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเกษตรมาก่อน
( ) ยังไม่เคยทำงานอื่นมาก่อน
แบบสอบถามปลายปิดแบ่งออกได้หลายชนิด ที่นิยมใช้กัน ได้แก่
(2.1) แบบให้เลือกตอบอย่างใดอย่างหนึ่งในสองอย่าง จะกำหนดคำตอบไว้ 2 คำ ตอบ แล้วให้เลือกตอบ 1 คำตอบ
(2.2) แบบให้เลือก 1 คำตอบจากหลายคำตอบ
(2.3) แบบให้เลือกมากกว่า 1 คำตอบจากหลายคำตอบ
(2.4) แบบให้เลือกตามลำดับก่อนหลัง โดยตอบตามลำดับก่อนหลัง หรือลำดับความสำคัญ โดยใส่หมายเลข 1,2,3................................. ตามลำดับ
(2.5) แบบประมาณค่า กำหนดน้ำหนักเปรียบเทียบให้ แล้วผู้ตอบเลือกเพียงคำตอบเดียว
สำหรับตัวอย่างของแบบสอบถามแต่ละชนิดนั้น จะนำไปกล่าวในเรื่องเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
แบบสอบถามปลายปิดนี้มีข้อดีอยู่หลายประการ เช่น
- ช่วยให้ผู้ตอบตอบได้เร็ว และให้คำตอบที่ตรงกับปัญหาที่ต้องการวิจัย
- ความสามารถและทักษะในการเขียนของผู้ตอบไม่เป็นปัญหามากในการตอบ
- คำตอบที่ได้รับจากผู้ตอบแต่ละคนสามารถเปรียบเทียบกันได้ดี และเปรียบเทียบกันได้ทันที
- เป็นคำตอบที่ช่วยกระตุ้นเตือนผู้ตอบให้ระลึกถึงความจริงบางอย่างได้
- ผู้วิจัยสามารถสร้างคำถามได้มากข้อเพื่อให้ครอบคลุมเนื้อหาได้ทั้งหมด
- ข้อมูลที่ได้ไม่กระจัดกระจาย มีความเชื่อถือสูง วิเคราะห์ได้ง่าย สามารถนำไปลงรหัสได้ หรือถ้าลงรหัสไว้แล้วก็นำไปเจาะบัตรโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เลย
แบบสอบถามปลายปิดนี้มีข้อจำกัดหลายประการ ดังนี้
- ผู้ตอบไม่มีอิสระในการตอบ ไม่มีส่วนในการใช้ความคิดเห็นมากนัก ตัวเลือกจากคำตอบบางครั้งไม่ตรงตามความต้องการของผู้ตอบ ผู้ตอบอาจเดาหรือแกล้งตอบซึ่งจะทำให้ได้ข้อมูลไม่แท้จริง
- บางครั้งมีความลำเอียงในคำตอบหรือคำตอบไม่แยกกันโดยเด็ดขาด ทำให้กำกวม ผู้ตอบไม่รู้จะตอบอย่างไร
- สร้างได้อยาก ผู้สร้างหรือผู้วิจัยควรมีความรู้ความชำนาญพอสมควร
วิธีการใช้แบบสอบถาม แบ่งได้ 2 ขั้นตอน ดังนี้
(1) ขั้นสร้างแบบสอบถาม เป็นขั้นที่กำหนดข้อมูลที่ต้องการ เลือกประเภทแบบสอบถามที่จะใช้ ร่างแบบสอบถาม ตรวจสอบเพื่อปรับปรุงแก้ไข ทำบรรณาธิกรณ์ ( editing) ทดลองใช้ (per-test) และปรับปรุงแก้ไข
(2) ขั้นส่งแบบสอบถาม การส่งแบบสอบถามไปถึงประชากรหรือกลุ่มตัวอย่างทำได้ 2 วิธี คือ
(2.1) การส่งแบบสอบถามโดยนำไปส่งเอง (self - adminstered questionnaire) วิธีการนี้ผู้วิจัยนำแบบสอบถามไปส่งให้ประชากรหรือกลุ่มตัวอย่าง และจะเก็บรวบรวมแบบสอบถามนั้นกลับคืนในทันที เช่น ถ้ากลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นเกษตรกร อยู่อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ผู้วิจัยหรือเจ้าหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลก็อาจติดต่อกับเกษตรอำเภอสันป่าตองช่วยนัดเกษตรกรอำเภอสันป่าตองมาประชุมรวมกันแล้วผู้วิจัยก็นำแบบสอบถามนั้นไปแจกให้เกษตรกรซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่าง แล้วให้เกษตรกรตอบทันที ผู้วิจัยก็รอรับเก็บกลับคืนมาเลย
(2.2) การส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ (mailed questionnaire) วิธีนี้ผู้วิจัยจะต้องจัดทำหนังสือเพื่อขอความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามไปด้วย โดยแจ้งให้ทราบถึงผู้ดำเนินการวิจัย ชื่อโครงการวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย ประโยชน์ที่จะได้ และเหตุผลที่ต้องส่งแบบสอบถามมาให้ตอบ ควรเน้นถึงผลสำเร็จของโครงการวิจัยนี้ขึ้นอยู่กับความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามของผู้ตอบ และควรแจ้งให้ผู้ตอบทราบว่า คำตอบที่ได้จะปกปิดเป็นความลับ และจำนำมาวิเคราะห์ในทางวิชาการเท่านั้น รวมทั้งกำหนดวันที่จะส่งแบบสอบถามกลับคืนด้วย ควรกำหนดรหัสแบบสอบถามไว้ทุกชุด เรียงตามลำดับหมายเลข เพื่อจะได้รู้ว่าแบบสอบถามนั้นส่งไปให้ใครจะได้ติดตามได้เมื่อไม่ได้รับแบบสอบถามคืนภายในกำหนดเวลา เมื่อถึงกำหนดเวลาแล้วยังไม่ได้รับคืน อาจทำได้โดยส่งหนังสือทวงถาม ถ้าไม่ได้รับอีกให้ทวงเป็นครั้งที่ 2 โดยแนบแบบสอบถามชุดใหม่ไปด้วย ถ้าไม่ได้รับคืนอีกก็สมควรตัดทิ้งไป
การส่งแบบสอบถามไปทางไปรษณีย์อาจกระทำได้โดยพับตัวแบบสอบถามหรือใส่ซอง ถ้าใช้วิธีพับเวลาผู้วิจัยส่งไปก็จะต้องพับส่วนที่มีชื่อผู้รับไว้ข้างนอก และชื่อของผู้วิจัยไว้ข้างใน พร้อมทั้งติด สแตมป์ทั้งไปและกลับ แต่ถ้าใช้วิธีใส่ซองจะต้องแนบซองที่มีชื่อที่อยู่ของผู้วิจัยให้ส่งกลับคืน ติดแสตมป์ให้เรียบร้อยไปในซองแบบสอบถามที่ส่งนั้น
ข้อดี - ข้อจำกัดของแบบสอบถาม ในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามมีข้อดีหลายประการ ดังนี้
(1) ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
(2) สะดวกเมื่อต้องการรวบรวมข้อมูลจากลุ่มตัวอย่างที่มีมาก
(3) สรุปได้ดีกว่าวิธีอื่น เพราะผู้ตอบต้องตอบข้อความที่เหมือนกันและแบบฟอร์มเดียวกัน เป็นการควบคุมสภาวะการณ์ได้คล้ายคลึงกัน
(4) ผู้ตอบมีเวลาตอบในการตอบมากและยังสามารถเลือกเวลาที่ต้องการจะตอบได้ด้วย (กรณีส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์)
(5) สามารถควบคุมให้แบบสอบถามถึงมือผู้ตอบในเวลาไล่เลี่ยกัน (กรณีนำแบบสอบถามไปส่งเอง) ทำให้ผู้ตอบได้แสดงความคิดเห็น ในเวลาใกล้เคียงกัน
(6) แบบสอบถามจะถึงมือผู้รับแน่นอนกว่าการออกไปสัมภาษณ์ ซึ่งผู้ตอบอาจไม่อยู่บ้าน ไม่ว่าง หรือไม่ยินดีให้สัมภาษณ์
แต่การใช้แบบสอบถามมีข้อจำกัด ดังนี้
(1) ขาดการติดต่อกับกลุ่มตัวอย่างโดยตรง (ส่งผ่านไปรษณีย์) จึงไม่แน่ใจว่าจะได้ข้อมูลมาจากใจจริงของผู้ตอบหรือไม่ และกลุ่มตัวอย่างอาจไม่ได้ตอบเองให้ผู้อื่นตอบแทนก็ได้ ซึ่งทำให้เกิดการผิดพลาดได้
(2) ไม่สามารถใช้กลุ่มตัวอย่างที่อ่านและเขียนหนังสือได้
(3) มีลักษณะยืดหยุ่นน้อย ผู้ตอบอาจไม่เข้าใจคำถามหรือเข้าใจไปอีกด้านหนึ่ง อาจจะไม่ตอบมาเลย หรือไม่ตรงกับความเป็นจริง หรือไม่เห็นความสำคัญ อาจละเลยไม่ตอบหรือขาดการพิจารณาในการตอบให้รอบคอบ ทำให้ขาดความเชื่อถือได้ และไม่สามารถกลับไปสอบถามหาคำตอบที่แท้จริงได้อีก
(4) โดยปกติแบบสอบถามจะสั้น กระทัดรัด ดังนั้นจึงมีคำถามจำกัด
(5) ความต้องการหรือความรู้สึกลำเอียงของผู้สร้างแบบสอบถาม อาจมีผลต่อการสร้างข้อคำถามเพราะผู้สร้างมีจิตใจแน่วแน่ที่ต้องการคำตอบพิสูจน์ว่าสมมุติฐานที่สร้างขึ้นเป็นจริง
โดยสรุป การเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม ทำได้ 3 วิธี คือ การสังเกต การสัมภาษณ์ และการใช้แบบสอบถามทั้ง 3 วิธี ก็มีหลัก วิธีการ ข้อดี-ข้อจำกัดต่าง ๆ กัน ควรศึกษาและเลือกวิธีให้เหมาะสมกับข้อมูลที่จะเก็บ ความถนัดของผู้วิจัยหรือผู้เก็บข้อมูล เวลาและงบประมาณ
ที่มาของข้อมูล e-service.agri.cmu.ac.th/.../course_lecture_download.asp?...CID... -
คำถามในห้องเรียน
1. การส่งแบบสอบถามไปยัง 20 ล้านครัวเรือน ร่วมออกแบบ ปท.นั้นนักเรียนคิดว่าได้ข้อเท็จจริงมากน้อยเพียงไร เพราะเหตุใด
2. การเก็บข้อมูลจากการตอบแบบสอบถามในเรื่องนี้นักเรียนคิดว่าควรเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีใดจึงเหมาะสมพร้อมให้เหตุผลประกอบ
ข้อเสนอแนะ
1. ในการเก็บข้อมูลใดๆ ก็ตามควรเลือกวิธีที่เหมาะสมกับข้อมูลที่จะเก็บและเรื่องที่จะทำการวิจัยข้อมูล
บูรณาการกับสาระการเรียนรู้อื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม
มาตรฐาน ส 1.1 รู้ และเข้าใจประวัติ ความสำคัญ ศาสดา หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือและศาสนาอื่น มีศรัทธาที่ถูกต้อง ยึดมั่น และปฏิบัติตามหลักธรรม เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
มาตรฐาน ส 1.2 เข้าใจ ตระหนักและปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดี และธำรงรักษาพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ
ที่มาของภาพ https://t3.gstatic.com/images?q=tbn:zsmLq8nF5IxpKM:https://www.vcharkarn.com/uploads/151/151831.jpg
ที่มาของภาพ https://t1.gstatic.com/images?q=tbn:UOZJXzWQyoXnrM:https://www.todsob.com/image/pic3.jpg
ที่มาของภาพ https://t3.gstatic.com/images?q=tbn:fVkr9KunrxtTEM:https://www.cmhipmag.com/images/column/show_jpg.php%3Fw%3D550%26h%3D600%26img%3D1228106835_Breathless_Walking_Street_Nov_2_046.jpg
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2614