การคิดคะแนนซี คะแนนที


1,096 ผู้ชม


ตัวอย่างการคิดคะแนนซี คะแนนที   

         อ้างถึง  หนังสือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ที่ ศธ 04168/2575 ลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2553 ตามหนังสือที่อ้างถึง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ได้แจ้งหลักเกณฑ์และคู่มือการประเมินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อให้มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะที่  ก.ค.ศ.กำหนดและให้รายงานข้อมูลแบบเสนอขอรับการประเมินฯ  ความแจ้งแล้วนั้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์  เขต 3  ขอเรียนว่า   เนื่องจากมีรายละเอียดข้อมูลที่ คลาดเคลื่อนในแบบรายงานขอรับการประเมินฯ จากเดิมให้จัดส่งแบบรายงานการประเมินฯ (ก.ค.ศ.2)  แก้ไขเป็น แบบรายงานผลการปฏิบัติ (ก.ค.ศ.3) และเลื่อนการจัดส่งจากเดิม ภายในวันที่ 1 มิถุนายน 2553  เป็นภายในวันที่ 7  มิถุนายน 2553 .... ให้เปลี่ยนคะแนนซี เป็นคะแนนที
       
ที่มา คลิก 
                      คลิก  
ตัวอย่าง แบบรายงานผลการปฏิบัติ (ก.ค.ศ.3) สายผู้สอน
                  คลิกดูการคำนวณด้วย Excel   วิธีคำนวณ คะแนนซี คะแนนที เพื่อส่งแนบท้าย ก.ค.ศ.3
                           

เนื้อหา วิชา คณิตศาสตร์ ม.6
เรื่อง คะแนนซี คะแนนที
               การคิดคะแนนซี คะแนนที
       คะแนนดิบ โดยลำพังมิได้บอกความหมายอะไรให้แก่ผู้ฟังมากนัก เช่น นักศึกษาคนหนึ่งบอกว่าสอบได้คะแนน 80 จากคะแนนเต็ม 100 เมื่อได้ยินเพียงแค่นี้ อาจนึกในใจว่านักศึกษาคนนี้ต้องเป็นคนเก่งแน่นอน เพราะทำข้อสอบได้ถึง 80 % แต่ถ้าซักลงไปในรายละเอียดว่ามีนักศึกษาเข้าสอบทั้งหมดกี่คน คะแนนเฉลี่ยของกลุ่มมีค่าเท่าใด คะแนนสูงสุด คะแนนต่ำสุดมีค่าเท่าใด ก็อาจจะมองภาพความสามารถของนักศึกษาผู้นี้ได้ชัดขึ้น เช่น ถ้านักศึกษาตอบว่า มีผู้เข้าสอบ 30 คน คะแนนเฉลี่ยของกลุ่มคือ 95 คะแนน คะแนนสูงสุดคือ 100 และต่ำสุดคือ 80 คะแนน จะเห็นได้ชัดว่านักศึกษาคนนี้สอบได้ที่สุดท้ายของกลุ่ม เมื่อเปรียบเทียบกับคนอื่น ๆ ภายในกลุ่มแล้ว นักศึกษาคนนี้เรียนอ่อนที่สุด (กรณีนี้แสดงให้เห็นว่าข้อสอบที่ให้นักศึกษาทำนั้นค่อนข้างง่าย นักศึกษาส่วนใหญ่ทำข้อสอบได้ คะแนนจึงมากองกันอยู่ที่ค่าสูง ๆ) 
          
คะแนนที-ปกติ (Normalized T-Score)0
         เป็นคะแนนมาตรฐานเช่นเดียวกับคะแนนที แต่ที-ปกตินี้จะมีการแจกแจงเป็นโค้งปกติ ซึ่งปกติคะแนนดิบที่เราได้มานั้นมักจะไม่เป็นโค้งปกติถ้าหากเราแปลงเป็นคะแนนที โดยใช้สูตร T=10Z+50 การแจกแจงของคะแนนก็ยังเป็นรูปเดิม หรือรักษาเค้าโครงของคะแนนดิบทุกประการ แต่ข้อเท็จจริงแล้ว การกระจายสติปัญญาของมนุษย์นั้น ควรจะเป็นโค้งปกติ แต่ที่ไม่เป็น เนื่องมาจากข้อสอบ หรือเครื่องมือวัดของเราคุณภาพไม่ดีพอ ดังนั้นจึงทำการปรับคะแนนให้เป็นโค้งปกติเสียโดยการคิดเป็นคะแนนที-ปกติ(T-Score) 
        นอกจากนี้ยังถือว่าเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญที่สามารถปฏิวัติการตัดเกรดแบบคะแนนดิบหรือคะแนนเปอร์เซนต์ได้สำเร็จแบบยึดคะแนนที-ปกตินับว่าเป็นวิธีที่สมบูรณ์และดีที่สุดเท่าที่ในปัจจุบันจะมีได้ โดยหลักการเป็นการตัดสินคะแนนแบบสัมพันธ์และวิธีการใช้คะแนนT-Score เป็นสิ่งที่ถูกในหลักวิชา เนื่องจากมันเข้าใจง่ายและทั้งนี้คะแนนที-ปกติมีพื้นฐานมาจากคะแนนมาตรฐานและการกระจายโค้งปกติ
ความหมายของคะแนนที-ปกติ
ใครได้ T 30 หมายความว่าชนะเพื่อนประมาณ 2   ใน 100 คน
ใครได้ T 40 หมายความว่าชนะเพื่อนประมาณ 16 ใน 100 คน
ใครได้ T 50 หมายความว่าชนะเพื่อนประมาณ 50 ใน 100 คน
ใครได้ T 60 หมายความว่าชนะเพื่อนประมาณ 84 ใน 100 คน
ใครได้ T 70 หมายความว่าชนะเพื่อนประมาณ 98 ใน 100 คน
         ลำพังคะแนนดิบเราไม่สามารถหาความหมายอะไรได้เลย เพราะไม่ได้นำไปเปรียบเทียบกับอะไร เช่น เด็กคนหนึ่งบอกพ่อว่า "พ่อครับผมได้คะแนนสังคม 25 คะแนน" เราจะไม่รู้ไรเลยเด็กต้องบอกต่อว่าได้ 25 จากคะแนนเต็ม 50คะแนน เราก็รู้ขึ้นมาอีกหน่อยคือทำงานไปได้ 50% ที่ครูมอบให้ และถ้าเราบอกต่อไปอีกว่า"คะแนนเฉลี่ยของห้องเป็น45 คะแนน" เราจะรู้ทันทีว่าอยู่เกือบที่โหล่หรือสุดท้ายเลยทีเดียว แต่เรายังไม่ทราบว่าอยู่ตำแหน่งไหนแน่ 
        แต่ถ้าเด็กคนนี้รายงานโดยใช้คะแนน T-Scoreว่า" ผมได้คะแนนของสัมคมT40 "แล้ววิ่งหนีไป เราเป็นพ่อ( ที่รู้เรื่องวัดผลดี) จะรู้ว่าลูกเรามีความรู้วิชาสัมคมสูงกว่าเพื่อน 16 คน ในเพื่อน100 คนทันที โดยไม่ต้องเสียเวลาถามว่าคะแนนเต็มเท่าไร คะแนนสูงสุดเท่าไร ต่ำสุดเท่าไร เฉลี่ยเท่าไร 
       ที่มา :  https://www.dek-d.com/board/view.php?id=545580
ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน
      คะแนนซี กับคะแนนที บอกอะไรเรา

     
กิจกรรมเสนอแนะในการจัดการเรียนการสอน         
การคิดคะแนนซี คะแนนที
      
การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ
        1   พลศึกษาและสุขศึกษา 
        2   สาระวิทยาศาสตร์         
        3   สาระภาษาอังกฤษ       
        4   สังคมศึกษาศาสนาฯ
        5   ภาษาไทย

อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
        1   ข่าว : https://www.surin3.net/main/index.php?option=com_content&view=article&id=770:-1--3&catid=36:2009-06-13-06-44-09&Itemid=62
        2   เนื้อหา : https://www.electron.rmutphysics.com/TScore/page1.html
                           https://www.thaitube.in.th/pr/T-score.htm

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2618

อัพเดทล่าสุด