เดือนร้อนเกิน%


447 ผู้ชม


เก้าอี้ผลัดกันนั่ง การปรับ ครม.ครั้งนี้ประชาชนไม่ได้อะไรเลย   

        ขณะนี้ไทยกำลังประสบภัยแล้งรุนแรงมากที่สุดในรอบหลายสิบปี  กว่า 60 จังหวัด 464 อำเภอ
น่าเสียดาย 3 เดือนที่ผ่านมา รัฐบาลทำอะไรใครก็รู้
ล่าสุดเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ ปล่อยน้ำเพื่อบริโภคอย่างเดียว มีน้ำเหลือให้ปล่อยอีกไม่เกิน 2 เดือน
และที่โชคร้ายสุดสุด ฝนลูกใหญ่ๆ ไม่ตกเหนือเขื่อน ลองทายซิว่าปัญหาใดกำลังจะตามมา
ที่มา สำนักข่าวหัวเขียว ไทยรัฐ วันจันทร์ 7 มิถุนายน 2553 หน้า 1-2

กลุ่มสาระการเรียนรู้  คณิตศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
สาระที่ ๑  จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค ๑.๔  เข้าใจระบบจำนวนและนำสมบัติเกี่ยวกับจำนวนไปใช้

ตัวชี้วัด ๑. นำความรู้และสมบัติเกี่ยวกับจำนวนเต็มไปใช้ในการแก้ปัญหา

เนื้อหา  ใช้ความรู้  ห.ร.ม. แก้ปัญหาและตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้

คำถามนำไปสู่การเรียนรู้
1. เรียนเรื่อง ห.ร.ม.ไปทำไม
2. นำ ห.ร.ม.ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไรบ้าง
3. ยกตัวอย่างการนำ ห.ร.ม. ไปใช้ในชีวิต

ตัวอย่างการแก้ปัญหา   
 นักเรียนเชิญผู้ปกครองร่วมบริจาคน้ำดื่มบรรจุขวด และเงินเพื่อบรรเทาความเดือนร้อน
เนื่องจากปัญหาภัยแล้งโดยน้ำดื่มบรรจุขวดได้รับบริจาคจำนวน 150 ขวด  
และได้เงินบริจาคจำนวน 500  บาท  เราจะมีวิธีจัดของบริจาคอย่างไร
ให้แต่ละบ้านได้น้ำดื่มบรรจุขวดและเงินครบ และทุกบ้านได้รับสิ่งของเป็นจำนวนเท่ากันโดยไม่มีของเหลืออยู่  
ถ้าต้องการให้มีจำนวนบ้านที่ได้รับมากที่สุด  จะได้จำนวนกี่บ้าน
วิธีคิด
        เรานำการหาร มาช่วยแบ่งน้ำดื่มบรรจุขวด  จำนวน  150  ขวด  
 นำมาแบ่งให้บ้านละ 1 ขวด  จะได้จำนวน  150 หลัง  (150 หารด้วย 1 เท่ากับ 150)
 นำมาแบ่งให้บ้านละ 2 ขวด  จะได้จำนวน    75 หลัง  (150 หารด้วย 2เท่ากับ 75)
 นำมาแบ่งให้บ้านละ 3 ขวด  จะได้จำนวน    50 หลัง  (150 หารด้วย 3 เท่ากับ 50)
 นำมาแบ่งให้บ้านละ 4 ขวด  ไม่สามารถแบ่งได้         (150 หารด้วย 4 แล้วเหลือเศษ)
 นำมาแบ่งให้บ้านละ 5 ขวด  จะได้จำนวน    30 หลัง  (150 หารด้วย 5 เท่ากับ 30)
 นำมาแบ่งให้บ้านละ 6 ขวด  จะได้จำนวน    25 หลัง  (150 หารด้วย 6 เท่ากับ 25)
 นำมาแบ่งให้บ้านละ 7 ขวด  ไม่สามารถแบ่งได้         (150 หารด้วย 7 แล้วเหลือเศษ)
 นำมาแบ่งให้บ้านละ 8 ขวด   ไม่สามารถแบ่งได้        (150 หารด้วย 8 แล้วเหลือเศษ)
 นำมาแบ่งให้บ้านละ 9 ขวด  ไม่สามารถแบ่งได้         (150 หารด้วย 9 แล้วเหลือเศษ)
 นำมาแบ่งให้บ้านละ 10 ขวด จะได้จำนวน    15 หลัง  (150 หารด้วย 10 เท่ากับ 15)
       (ทำเช่นนี้เรื่อยๆ)
 นำมาแบ่งให้บ้านละ 25 ขวด จะได้จำนวน     6 หลัง  (150 หารด้วย 25 เท่ากับ 6)
 นำมาแบ่งให้บ้านละ 30 ขวด จะได้จำนวน     5 หลัง  (150 หารด้วย 30 เท่ากับ 5)
 นำมาแบ่งให้บ้านละ 50 ขวด จะได้จำนวน     3 หลัง  (150 หารด้วย 50 เท่ากับ 3)
 นำมาแบ่งให้บ้านละ 75 ขวด จะได้จำนวน     2 หลัง  (150 หารด้วย 75 เท่ากับ 2)
 นำมาแบ่งให้บ้านละ 150 ขวด จะได้จำนวน   1 หลัง   (150 หารด้วย 150 เท่ากับ 1)
 
 พบว่า ถ้าแบ่งน้ำให้บ้านละ 1 ขวด จะได้จำนวนบ้านมากที่สุดคือ 150 หลัง
         ถ้าแบ่งน้ำให้บ้านละ 150 ขวด จะได้จำนวนบ้านน้อยที่สุดคือ 1 หลัง

        นำการหารมาช่วยแบ่งเงิน  จำนวน  500  บาท  
 นำมาแบ่งให้บ้านละ 1 บาท  จะได้จำนวน  500 หลัง  (500 หารด้วย 1 เท่ากับ 500)
 นำมาแบ่งให้บ้านละ 2 บาท  จะได้จำนวน  250 หลัง  (500 หารด้วย 2เท่ากับ 250)
 นำมาแบ่งให้บ้านละ 3 บาท  ไม่สามารถแบ่งได้   (500 หารด้วย 3 แล้วเหลือเศษ)
 นำมาแบ่งให้บ้านละ 4 บาท  จะได้จำนวน  125 หลัง (500 หารด้วย 4 เท่ากับ 125)
 นำมาแบ่งให้บ้านละ 5 บาท  จะได้จำนวน  100 หลัง  (500 หารด้วย 5 เท่ากับ 100)
 นำมาแบ่งให้บ้านละ 6 บาท  ไม่สามารถแบ่งได้        (500 หารด้วย 6 แล้วเหลือเศษ)
 นำมาแบ่งให้บ้านละ 7 บาท  ไม่สามารถแบ่งได้         (500 หารด้วย 7 แล้วเหลือเศษ)
 นำมาแบ่งให้บ้านละ 8 บาท   ไม่สามารถแบ่งได้        (500 หารด้วย 8 แล้วเหลือเศษ)
 นำมาแบ่งให้บ้านละ 9 บาท  ไม่สามารถแบ่งได้         (500 หารด้วย 9 แล้วเหลือเศษ)
 นำมาแบ่งให้บ้านละ 10 บาท จะได้จำนวน    50 หลัง  (500 หารด้วย 10 เท่ากับ 50)
         (ทำเช่นนี้เรื่อยๆ)
 นำมาแบ่งให้บ้านละ 25 บาท จะได้จำนวน      6  หลัง  (500 หารด้วย 25 เท่ากับ 20)
 นำมาแบ่งให้บ้านละ 50 บาท จะได้จำนวน     10 หลัง  (500 หารด้วย 50 เท่ากับ 10)
 นำมาแบ่งให้บ้านละ 100 บาท จะได้จำนวน     5 หลัง  (500 หารด้วย 100 เท่ากับ 5)
 นำมาแบ่งให้บ้านละ 250 บาท จะได้จำนวน     2 หลัง  (500 หารด้วย 250 เท่ากับ 2)
 นำมาแบ่งให้บ้านละ 500 บาท จะได้จำนวน     1 หลัง  (500 หารด้วย 500 เท่ากับ 1)
 เรานำการหาร มาช่วยแบ่งสิ่งของ 1 ชนิด
 พบว่า ถ้าแบ่งให้บ้านละ 1 บาท    จะได้จำนวนบ้านมากที่สุดคือ 500 หลัง
         ถ้าแบ่งให้บ้านละ 500 บาท จะได้จำนวนบ้านน้อยที่สุดคือ 1 หลัง
 เมื่อพิจารณาการแบ่งน้ำดื่มและเงินพร้อมกันในครั้งเดียว 
 พบว่า ถ้าแบ่งให้ได้บ้าน 50 หลัง จะได้น้ำ   3 ขวด เงิน   10   บาท
             ถ้าแบ่งให้ได้บ้าน 10 หลัง จะได้น้ำ 15 ขวด เงิน    50  บาท
             ถ้าแบ่งให้ได้บ้าน  5 หลัง จะได้น้ำ   30 ขวด เงิน 100  บาท 
             ถ้าแบ่งให้ได้บ้าน  2 หลัง จะได้น้ำ   75 ขวด เงิน 250  บาท
             ถ้าแบ่งให้ได้บ้าน  1 หลัง จะได้น้ำ 150 ขวด เงิน  500  บาท
 
 ดังนั้น ถ้าต้องการให้ได้จำนวนบ้านมากที่สุด จะได้ 50 หลัง  ได้รับน้ำ 3 ขวด เงิน 10 บาท

 การแบ่งสิ่งของตั้งแต่ 2 สิ่งขึ้นไป เราสามารถนำการหา ห.ร.ม. มาช่วยในการคิด
 เพราะ ห.ร.ม.ของ 150  และ 500 คือ 50

กิจกรรมเสนอะแนะ
1. ให้นักเรียนยกตัวอย่างสถานการณ์อื่นๆ ที่ใช้ ห.ร.ม. ในการหาคำตอบ

การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
1. กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมฯ (การช่วยเหลือ เกื้อกูล)
2. กลุ่มสาระการเรียนวิทยาศาสตร์ (ภัยธรรมชาติ การตัดไม้ทำลายป่าต้นน้ำ)

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2680

อัพเดทล่าสุด