โครงสร้างใหม่ เงินเดือนครู ขยับ 6-18% ... กับตารางแจกแจงความถี่


1,497 ผู้ชม


คณะอนุกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนของข้าราชการครูฯ เห็นชอบขยับเพดานเงินเดือนครูเพิ่ม 6.33-18.9 ยกเว้นซี 11 หรือ คศ.5   

โครงสร้างใหม่ งด.ครู ขยับ 6-18%

        คณะอนุกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนของข้าราชการครูฯ เห็นชอบขยับเพดานเงินเดือนครูเพิ่ม 6.33-18.9 ยกเว้นซี 11 หรือ คศ.5 ให้อยู่เท่าเดิม หวังทันใช้ก่อนปรับโครงสร้างเงินเดือนข้าราชการทั่วประเทศ เม.ย.54
        นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงความคืบหน้าโครงสร้างใหม่ เงินเดือนครู ขยับ 6-18% ... กับตารางแจกแจงความถี่ร่าง พ.ร.บ.เงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ว่า ตามที่คณะอนุกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา มีนายชัยณรงค์ อินทรมีทรัพย์ เป็นประธาน ที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นตามมติของคณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติ (กงช.) ได้พิจารณาและเห็นว่าการปรับปรุงค่าตอบแทนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาดังกล่าว พิจารณาใน 2 ระยะ คือ ระยะสั้น ให้เทียบเคียงค่าตอบแทนของข้าราชการพลเรือน โดยให้ปรับบัญชีเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามที่ ศธ.เสนอ ยกเว้นเงินเดือนขั้นสูงของอันดับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 5 (คศ.5) เห็นควรกำหนดขั้นสูงที่ 64,340 บาท ซึ่งเทียบเคียงได้กับเงินเดือนประเภทวิชาการ ระดับผู้ทรงคุณวุฒิของข้าราชการพลเรือนสามัญ ส่วนอัตราเงินเดือนขั้นสูงที่ ศธ.เสนอ 66,480 บาทนั้น เป็นอัตราเงินเดือนสำหรับเฉพาะสายงานแพทย์และนักกฎหมายกฤษฎีกาเท่านั้น ส่วนแผนระยะยาวให้มีการศึกษาค่าตอบแทนของข้าราชการทั้งระบบ

อ่านข่าวเพิ่มเติมที่ https://www.norsorpor.com/ข่าว/n2052608/โครงสร้างใหม่งด.ครูขยับ6-18%25

คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
ศัพท์ที่ใช้ในตารางแจกแจงความถี่
โครงสร้างใหม่ เงินเดือนครู ขยับ 6-18% ... กับตารางแจกแจงความถี่1. อันตรภาคชั้น (Class Interval) หรือเรียกสั้นๆ ว่า ชั้น หมายถึง ช่วงของคะแนนในแต่ละพวกที่แบ่ง
    อันตรภาคชั้นต่ำสุด หมายถึง อันตรภาคชั้นของข้อมูลที่มีค่าต่ำสุดอยู่
    อันตรภาคชั้นสูงสุด หมายถึง อันตรภาคชั้นของข้อมูลที่มีค่าสูงสุดอยู่
    อันตรภาคชั้นต่ำกว่า หมายถึง อันตรภาคชั้นของข้อมูลที่มีค่าน้อยกว่า
    อันตรภาคชั้นสูงกว่า หมายถึง อันตรภาคชั้นของข้อมูลที่มีค่ามากกว่า
2. ความถี่ (Frequency) หมายถึง จำนวนข้อมูลที่มีอยู่ในแต่ละอันตรภาคชั้น
3. ตารางแจกแจงความถี่ (Frequency Distribution Table) หมายถึง ตารางที่เขียนเรียงลำดับข้อมูล และแสดงให้เห็นว่าแต่ละข้อมูล หรือกลุ่มข้อมูลมีความถี่เท่าใด
4. ขอบล่าง (Lower Boundary) ของอันตรภาคชั้น หมายถึง ค่ากึ่งกลางระหว่างค่าที่น้อยที่สุดของอันตรภาคชั้นนั้นกับค่าที่มากที่สุดของอันตรภาคชั้นที่ต่ำกว่าหนึ่งชั้น หรือขอบล่างเท่ากับค่าที่น้อยที่สุดของอันตรภาคชั้นบวกกับค่าที่มากที่สุดของอันตรภาคชั้นที่ต่ำกว่าหนึ่งชั้นแล้วหารด้วย 2
5. ขอบบน (Upper Boundary) ของอันตรภาคชั้น หมายถึง ค่ากึ่งกลางระหว่างค่าที่มากที่สุดของอันตรภาคชั้นนั้นกับค่าที่น้อยที่สุดของอันตรภาคชั้นที่สูงกว่าหนึ่งชั้น หรือขอบบนเท่ากับค่าที่มากที่สุดของอันตรภาคชั้นนั้นบวกกับค่าที่น้อยที่สุดของอันตรภาคชั้นที่สูงกว่าหนึ่งชั้น แล้วหารด้วย 2 จะเห็นว่า ขอบบนของอันตรภาคชั้นหนึ่งย่อมเท่ากับขอบล่างของอันตรภาคชั้นที่สูงกว่าหนึ่งชั้นเสมอ
6. ความกว้างของอันตรภาคชั้น (Interval) หมายถึง ผลต่างระหว่างขอบบนและขอบล่างของอันตรภาคชั้นนั้น
7. จุดกึ่งกลางชั้น (Middle Point) ของอันตรภาคชั้น หมายถึง ค่ากึ่งกลางระหว่างขอบล่างและขอบบนของอันตรภาคชั้นนั้น นิยมใช้สัญลักษณ์ X 
ที่มาของข้อมูล https://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/pisamorn_s/sec01p03.html
การแจกแจงความถี่ของข้อมูล (Frequency Distribution)
เป็นวิธีการทางสถิติอย่างหนึ่งที่ใช้ในการจัดข้อมูลที่มีอยู่ หรือที่เก็บรวบรวมมาได้ให้อยู่เป็นกลุ่มๆ เพื่อสะดวกในการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น
การแจกแจงความถี่ จัดเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
1. การแจกแจงความถี่แบบไม่จัดเป็นอันตรภาคชั้น ใช้กับข้อมูลที่มีค่าสูงสุดและต่ำสุดของข้อมูลไม่แตกต่างกันมากนัก หรือข้อมูลที่มีค่าของจำนวนที่ต่างกันมีไม่มาก
2. การแจกแจงความถี่แบบจัดเป็นอันตรภาคชั้น ใช้กับข้อมูลที่มีค่าสูงสุดและต่ำสุดของ
ข้อมูลแตกต่างกันมาก หรือการแจกแจงไม่สะดวกที่จะใช้ค่าสังเกตทุกๆค่า เพื่อความสะดวกจึงใช้วิธีแจกแจงความถี่ของค่าที่เป็นไปได้แทน โดยแบ่งค่าที่เป็นไปได้ออกเป็นช่วง หรืออันตรภาคชั้น (Interval)
ที่มาของข้อมูล https://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/pisamorn_s/sec01p02.html
แบบทดสอบก่อนเรียน https://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/pisamorn_s/pretest.htm
แบบทดสอบหลังเรียน https://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/pisamorn_s/posttest.htm

คำถามในห้องเรียน
1. ให้นักเรียนสร้างตารางเปรียบเทียบ บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำ-ขั้นสูง เปรียบเทียบระหว่าง ก.พ. กับข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาหรือ ก.พ.อ.ใหม่ และ ก.ค.ศ.ใหม่
2. ให้นักเรียนคิดร้อยละของเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นของครูระดับต่างๆ  ระดับครูผู้ช่วย  ระดับคศ.1 ระดับ คศ.2 (ชำนาญการ) ระดับ คศ.3 (ชำนาญการพิเศษ) ระดับ คศ.4 (เชี่ยวชาญ) ระดับ คศ.5 (เชี่ยวชาญพิเศษ)


ข้อเสนอแนะ
1. ให้นักเรียนอภิปรายกันว่าถ้าคร฿เงินเดือนขึ้นแล้วครูจะมีขวัญกำลังใจในการสอนศิษย์อย่างไร
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
กลุ่มสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง  วัฒนธรรม  และการดำเนินชีวิตในสังคม¬
มาตรฐาน  ส 2.1  เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมที่ดีงาม และ
ธำรงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย  ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทย และ สังคมโลกอย่างสันติสุข       

ที่มาของภาพ https://t1.gstatic.com/images?q=tbn:jreVFQhw5oj0WM:https://www.oknation.net/blog/home/blog_data/87/30087/images/General3/teacherDay.jpg
ที่มาของภาพ https://t0.gstatic.com/images?q=tbn:9-QAEAf3oCRRJM:https://news.baanploy.ac.th/teacher.jpg
ที่มาของภาพ https://t0.gstatic.com/images?q=tbn:XMQooKkki29XLM:https://gotoknow.org/file/udomran/5463302.jpg

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2717

อัพเดทล่าสุด