รมว.ศึกษาธิการ " ชินวรณ์ " ขีดเกณฑ์ครู ม.ปลาย จบ " โท " กับ ตำแหน่งสัมพัทธ์


736 ผู้ชม


" เรือจ้าง " รุ่นใหม่ ครูระดับประถมศึกษา ต้องจบหลักสูตรครู 5 ปี ครูระดับมัธยมศึกษา ต้องจบปริญญาโท ครูระดับอุดมศึกษาต้องจบระดับปริญญาเอก   

"ชินวรณ์" ขีดเกณฑ์ครู ม.ปลาย จบ"โท" สั่ง" กก.คุรุ "หาข้อสรุป-เน้นยก มฐ."เรือจ้าง"รุ่นใหม่

รมว.ศึกษาธิการ " ชินวรณ์ " ขีดเกณฑ์ครู ม.ปลาย จบ " โท " กับ ตำแหน่งสัมพัทธ์นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า จากผลการประเมินศักยภาพครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ทั่วประเทศ พบว่า ครูระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์มีคุณภาพต่ำมาก เช่น วิชาชีววิทยา มีผู้ผ่านการประเมินด้วยคะแนน 80 คะแนนขึ้นไปแค่ 2 คนจากครูวิชานี้ทั้งหมดกว่า 2,000 คน ฉะนั้นตนจึงเห็นว่าควรต้องเร่งพัฒนาคุณภาพของครูทั้งระบบ โดยเฉพาะครูระดับม.ปลาย เพราะคุณภาพของครูจะมีผลโดยตรงต่อการเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ซึ่งขณะนี้ในหลายประเทศ อาทิ มาเลเซีย สิงคโปร์ มีข้อกำหนดให้ครูระดับ ม.ปลาย ต้องจบการศึกษาระดับปริญญาโท และตนเห็นด้วยว่าประเทศไทยก็ควรกำหนดให้ครูที่สอนระดับ ม.ปลาย ต้องจบการศึกษาขั้นต่ำระดับปริญญาโทเช่นกัน ดังนั้น ตนจะมอบให้คณะอนุกรรมการคุรุศึกษาแห่งชาติ ในคณะกรรมการนโยบายปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง ไปศึกษาความเป็นไปได้ และหากทำได้จริงจะเริ่มดำเนินการในปี 2554 และจะทำให้ครบทั้งระบบ คือ กำหนดให้ครูระดับประถมศึกษา ต้องจบหลักสูตรครู 5 ปี ครูระดับมัธยมศึกษา ต้องจบปริญญาโท ส่วนระดับอุดมศึกษาต้องจบระดับปริญญาเอก 

อ่านข่าวเพิ่มเติมที่ https://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObFpIVXdNVEUwTURZMU13PT0=&sectionid=TURNeE5RPT0=&day=TWpBeE1DMHdOaTB4TkE9PQ==

การวัดตำแหน่งมี 4 ชนิด คือ
1. มัธยฐานจะแบ่งข้อมูลออกเป็น 2  ส่วนเท่าๆกัน
2. ควอไทล์จะแบ่งข้อมูลออกเป็น 4  ส่วนเท่าๆกัน
3. เดไซล์จะแบ่งข้อมูลออกเป็น  10  ส่วนเท่าๆกัน
4. เปอร์เซนต์ไทล์จะแบ่งข้อมูลออกเป็น 100  ส่วนเท่าๆกัน
ข้อสังเกต
1. Me=Q 2=D 5=P 50
2. Q 1=P 25, Q 3=P 75
2.  การหา ควอไทล์ เดไซล์ และเปอร์เซ็นต์ไทล์ จาก
2.1 ข้อมูลไม่ได้จัดเป็นอันตรภาดชั้น
หลักการ
1.เรียงข้อมูลจากน้อยไปมาก
2.หาตำแหน่งของควอไทล์ เดไซล์ และเปอร์เซ็นไทล์ จากสูตร
3.ถ้าข้อมูลใดข้อ 1 ตรงกับตำแหน่งในข้อ 2 ข้อมูลนั้นคือ ควอไทล์ เดไซล์ และเปอร์เซ็นไทล์ ตามต้องการ
4.ถ้าตำแหน่งที่หาได้ในข้อ 2 เป็นทศนิยมให้เทียบบัญญัติไตรยางค์เพื่อหาค่าที่ต้องการ
2.2 กรณีข้อมูลจัดเป็นอันตรภาคชั้น
หลักการ
1.หาความถี่สะสมชนิดน้อยกว่า
2.หาตำแหน่งข้อมูลจาก
3. คำนวณหา ควอไทล์,เดไซล์ และเปอร์เซ็นไทล์ จากสูตร
2.3 การหา ควอไทล์,เดไซล์ และเปอร์เซ็นไทล์ จากกราฟ
รมว.ศึกษาธิการ " ชินวรณ์ " ขีดเกณฑ์ครู ม.ปลาย จบ " โท " กับ ตำแหน่งสัมพัทธ์1.เขียนเส้นความถี่สะสม โดยใช้แกนนอน หรือแกน X แสดงค่าของข้อมูลและแกนตั้งหรือแกน Y แสดงค่าของความถี่สะสม
2.ลากเส้นตรง ( สำหรับ Q)หรือ (สำหรับ D r) หรือ (สำหรับ Pr )ซึ่งเป็นเส้นตรงที่ขนานกับแกนนอน ตัดเส้นโค้งความถี่สะสม จากจุดนี้ลากเส้นตรงตั้งฉากกับแกนนอนตัดแกนนอนที่จุดใด ค่าบนแกนนอนที่จุดนั้นจะเป็น ควอไทล์,เดไซล์ และเปอร์เซนต์ไทล์ ของข้อมูลชุดนั้น


คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง  คะแนนมาตรฐานในแง่ใช้วัดตำแหน่งสัมพัทธ์รมว.ศึกษาธิการ " ชินวรณ์ " ขีดเกณฑ์ครู ม.ปลาย จบ " โท " กับ ตำแหน่งสัมพัทธ์
      คะแนนมาตรฐานอาจใช้เป็นค่าวัดตำแหน่งสัมพัทธ์ของค่าสังเกตได้ นั่นคือ ถ้าคะแนนมาตรฐานของค่าสังเกต x มีค่าสูง แสดงว่าค่าสังเกตค่านั้นมีค่าสูงกว่าค่าสังเกตอื่น ๆ ส่วนใหญ่ ถ้าคะแนนมาตรฐานของค่าสังเกต x มีค่าน้อยแล้ว (นั่นคือติดลบมาก) แสดงว่า x มีค่าน้อยกว่าค่าสังเกตอื่น ๆ และถ้า x มีคะแนนมาตรฐานใกล้ 0 แสดงว่าอยู่ใกล้ ๆ ค่าเฉลี่ยของชุดข้อมูล
ควอร์ไทล์ เดไซล์และเปอร์เซนไทล์ (Quartiles, Deciles and Percentiles)
       นอกจากคะแนนมาตรฐานแล้ว ค่าที่ใช้วัดตำแหน่งสัมพัทธ์ของข้อมูลที่นิยมใช้กันอีกได้แก่ ควอร์ไทล์ เดไซล์และเปอร์เซนไทล์ ควอร์ไทล์แบ่งข้อมูลออกเป็น 4 ส่วนเท่า ๆ กัน เดไซล์แบ่งข้อมูลออกเป็น 10 ส่วนเท่า ๆ กัน 
เปอร์เซนไทล์ แบ่งข้อมูลออกเป็น 100 ส่วนเท่า ๆ กัน
ควอร์ไทล์
      ควอร์ไทล์ที่หนึ่ง Q1 คือ จำนวนที่แบ่งข้อมูลออกเป็น 25% ที่มีค่าน้อยกว่าและ 75% ที่มีค่ามากกว่า 
      ควอร์ไทล์ที่สอง Qคือ จำนวนที่แบ่งข้อมูลเป็น 50% ที่มีค่าน้อยกว่าและ 50% ที่มีค่ามากกว่าควอร์ไทล์ที่สอง Q2 คือ จำนวนที่แบ่งข้อมูลเป็น 50% ที่มีค่าน้อยกว่าและ 50% ที่มีค่ามากกว่า 
      ควอร์ไทล์ที่สาม Qคือ จำนวนที่แบ่งข้อมูลเป็น 75% ที่มีค่าน้อยกว่า และ 25% ที่มีค่ามากกว่า
เดไซล์
      เดไซล์แบ่งข้อมูลออกเป็น 10 ส่วนเท่า ๆ กัน ข้อมูลชุดใด ๆ จะมี 9 เดไซล์ ซึ่งเราจะแทนด้วย D1, D2,..., D
9      
เดไซล์ที่หนึ่ง D1 แบ่งข้อมูลเป็น 10% ที่มีค่าน้อยกว่าและ 90% ที่มีค่ามากกว่า 
เดไซล์ที่สอง D2 แบ่งข้อมูลเป็น 20% ที่มีค่าน้อยกว่าและ 80% ที่มีค่ามากกว่า 


1. วิชาชีววิทยา มีผู้ผ่านการประเมินด้วยคะแนน 80 คะแนนขึ้นไปแค่ 2 คนจากครูวิชานี้ทั้งหมดกว่า 2,000 คน อยู่ในเปอร์เซ็นไทล์ ที่เท่าไร

เปอร์เซนไทล์
       เปอร์เซ็นไทล์ของข้อมูล แบ่งข้อมูลออกเป็น 100 ส่วนเท่า ๆ กัน ชุดข้อมูลหนึ่งจะมีเปอร์เซ็นไทล์ไทล์ได้ตั้งแต่ 1 ถึง 99 แทนด้วย P1, P2,..., P99 เปอร์เซ็นไทล์ไทล์ที่ 1 จะมีจำนวนข้อมูลที่มีค่าน้อยกว่าอยู่ 1% และมากกว่าอยู่ 99% เปอร์เซ็นไทล์ที่ 2 จะมีจำนวนข้อมูลที่มีค่าน้อยกว่าอยู่ 2% และมากกว่าอยู่ 98% ฯลฯ

ความสัมพันธ์ระหว่างควอร์ไทล์ เดไซล์และเปอร์เซ็นไทล์ของชุดข้อมูล คือ มัธยฐาน = Q2 = D5 = P50
Q1 = P25  D1 = P10  Q3 = P75 เป็นต้น

ที่มาของข้อมูล https://www.stat.sc.su.ac.th/ElementaryStat/chapter1/chapter1_p24.html
ที่มาของข้อมูล https://www.stat.sc.su.ac.th/ElementaryStat/chapter1/chapter1_p25.html

คำถามในห้องเรียน

ข้อเสนอแนะ
นักเรียนคิดอย่างไรกับ "ครูระดับประถมศึกษา ต้องจบหลักสูตรครู 5 ปี ครูระดับมัธยมศึกษา ต้องจบปริญญาโท ส่วนระดับอุดมศึกษาต้องจบระดับปริญญาเอก "  อธิบายพร้อมให้เหตุผลประกอบ

การบูรณาการกับสาระอื่นๆ
สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง  วัฒนธรรม  และการดำเนินชีวิตในสังคม
มาตรฐาน  ส 2.1 เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมที่ดีงาม และธำรงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย  ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทย และ สังคมโลกอย่างสันติสุข     

การงานและเทคโนโลยี
สาระที่  4 การอาชีพ  
มาตรฐาน  ง  4.1 เข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น  มีประสบการณ์  เห็นแนวทางในงานอาชีพ  ใช้เทคโนโลยี  เพื่อพัฒนาอาชีพ   มีคุณธรรม  และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ

ที่มาของภาพ https://t0.gstatic.com/images?q=tbn:wT9EaDWuNj-HxM:https://gotoknow.org/file/vicharnpanich/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9F%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C.jpg
ที่มาของภาพ https://t1.gstatic.com/images?q=tbn:2SCBlOUWeWfFxM:https://www.science.cmru.ac.th/statistics/stat2105/images/image_2_1_2.gif
ที่มาของภาพ https://t3.gstatic.com/images?q=tbn:-B0_Vs-yiiqD0M:https://www.suwannaramwittayakom.com/web_workshop/success/Powerpoint/Grap/chart_po.gif

สรุป  คืนครูสู่ห้องเรียนให้สอนอย่างเดียว คุณภาพการศึกษาจะสูงขึ้นและให้ขวัญกำลังใจครูอย่างถั่วถึงควรดูที่คุณภาพของงานสอนมากกว่าองค์ประกอบอื่นๆ   และที่สำคัญที่สุดค่าตอบแทนในอาชีพครูควรเหมาะสมกับการดำรงชีวิตในยุคปัจจุบันด้วย


 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2731

อัพเดทล่าสุด