การหักภาษี ณ ที่จ่าย เรื่องง่าย ๆ แต่ไม่ธรรมดา


884 ผู้ชม


การลดหย่อนภาษีให้ประชาชนสามารถนำค่าใช้จ่ายในส่วนค่า ที่พักในโรงแรมที่มีใบอนุญาตถูกต้องตามกฎหมายของกระทรวงมหาดไทย มาหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่เกิน 15,000 บาท   

ความสำคัญของการหักภาษี

การลดหย่อนภาษีให้ประชาชนสามารถนำค่าใช้จ่ายในส่วนค่า ที่พักในโรงแรมที่มีใบอนุญาตถูกต้องตามกฎหมายของกระทรวงมหาดไทย มาหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่เกิน 15,000 บาท
ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทาง เศรษฐกิจ(กรอ.) ครั้งที่ 4/2553 ซึ่งมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานได้เห็นชอบ เนื่องจากพฤติกรรมการท่องเที่ยวในปัจจุบันมากกว่าร้อยละ 80 เป็นการท่องเที่ยวด้วยตนเอง โดยจะนำเสนอ ครม. พิจารณาในวันนี้( 15 มิ.ย. 53) รวมทั้งมอบหมายกระทรวงแรงงานดำเนินงานการ
ขอรับการสนับสนุนงบประมาณการฝึก อบรมระยะเวลา 2 เดือน ให้แก่ผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจากการขาดรายได้ และให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาดำเนินการในการศึกษาโครงสร้าง
อาชีพอิสระด้านการท่องเที่ยวที่อยู่นอกระบบประกันสังคม

การหักภาษี ณ ที่จ่าย เรื่องง่าย ๆ แต่ไม่ธรรมดา

ที่มาของข่าว
https://norsorpor.com

กล่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
สาระที่  1  จำนวนและการดำเนินการ
 การหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย   เป็นวิธีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาวิธีหนึ่งของผู้มีเงินได้  โดยกฎหมายกำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้ในบางกรณีทำหน้าที่คำนวณหักเงิน  ซึ่งตนมีหน้าที่จ่ายให้แก่ผู้รับเงิน
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนดแล้วนำเงินนั้นส่งแก่รัฐบาล เงินที่ได้หักและนำส่งดังกล่าวถือเป็นเครดิตในการเสียภาษีเงินได้ของผู้รับเงินเมื่อถึงกำหนดเวลายื่นรายการเสียภาษี  ถ้ากรณีใดไม่มีกฎหมายกำหนด
ให้หักภาษี ผู้จ่ายเงินได้ก็ไม่ต้องหักภาษีแต่อย่างใด
 1. วัตถุประสงค์
      การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย  มีวัตถุประสงค์ดังนี้
       (1) เพื่อบรรเทาภาระการเสียภาษีให้แก่ผู้รับเงินได้  ที่จะไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ในคราวเดียวกันเป็นเงินจำนวนมาก  เมื่อถึงกำหนดเวลายื่นรายการเสียภาษี แต่ให้เสียภาษีเป็นคราวๆ  ไปทีละน้อยตามจำนวนเงินที่ได้รับแต่ละคราว
        (2) เพื่อให้รัฐบาลมีรายได้เข้าคลังอย่างสม่ำเสมอ  ทำให้รัฐบาลสามารถใช้จ่ายเงินในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้อย่างราบรื่น  อันจะก่อให้เกิดสภาพคล่อง  และลดภาวะการเงินตึงตัวในระบบเศรษฐกิจของประเทศ
        (3) เพื่อลดแรงกดดันในการหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร  และลดภาระหน้าที่ในการตรวจสอบภาษี  หรือการติดตามจัดเก็บภาษีในภายหลัง
 2. ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
     ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย  ได้แก่  บุคคลที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นรายกรณี  โดยอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลในรูปใด  ห้างหุ้นส่วนสามัญ  คณะบุคคลซึ่งไม่ใช่นิติบุคคลก็ได้  
                         ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้  ให้แก่ผู้รับเงินได้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญ  คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล)  โดยเงินได้ที่จ่ายมิใช่เงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้น
                          ไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้  ทั้งนี้กฎหมายอาจกำหนดให้หักภาษี ณ ที่จ่ายเฉพาะกรณีจ่ายเงินได้บางประเภท  หรือเฉพาะกรณีจ่ายเงินได้แก่ผู้รับเงินบางประเภทเท่านั้นก็ได้

 3. วิธีการคำนวณภาษีเงินได้  ณ  ที่จ่าย  และตัวอย่างการคำนวณ
     (1) ตามมาตรา 50 แห่งประมวลรัษฎากร
          (1.1)  กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 และ 2   ไม่ว่าเงินได้ที่จ่ายจะเป็นเงิน  ทรัพย์สิน  หรือประโยชน์ใดๆ  ที่อาจคำนวณได้เป็นเงิน  เช่น  เงินเดือน  ค่าจ้าง  โบนัส  บำเหน็จ  บำนาญ  เงินค่าเช่าบ้าน  ค่าธรรมเนียม  ค่านายหน้า  เบี้ยประชุม  
                        เงินที่ออกให้เป็นค่าภาษีเงินได้  การให้อาหารรับประทานโดยไม่คิดมูลค่า  หรือการได้อยู่บ้านของนายจ้าง  หรือผู้จ่ายเงินได้โดยไม่เสียค่าเช่า   เป็นต้น
    การคำนวณหักภาษีเงินได้  ณ  ที่จ่าย  ให้คูณเงินได้พึงประเมินด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่ายเพื่อให้ได้จำนวนเงินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปีแล้วคำนวณภาษี  ในทำนองเดียวกับการคำนวณภาษีสิ้นปี  ตามหัวข้อ 6  โดยหัก      
                        ค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่างๆ ออกก่อน  เหลือเงินได้สุทธิเท่าใดจึงนำไปคิดภาษีตามบัญชีอัตราภาษี  ได้เงินภาษีจากเงินได้สุทธิทั้งสิ้นเท่าใด  ให้หารด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่ายได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้หักภาษีไว้จำนวนเท่านั้น 
    ถ้าการหารด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่ายตามความในวรรคก่อนไม่ลงตัว เหลือเศษเท่าใดให้เพิ่มเงินเท่าจำนวนที่เหลือเศษนั้นรวมเข้ากับเงินภาษีที่จะต้องหักไว้ครั้งสุดท้ายในปีนั้น เพื่อให้ได้ยอดเงินภาษีที่หักรวมทั้งปีเท่ากับจำนวนภาษีที่จะต้องเสียทั้งปี     
 ในกรณีเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 2   นอกจากที่ระบุใน(1.2) ดังจะกล่าวต่อไป   ที่จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ให้คำนวณหักในอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้
 นอกจากนี้  กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินที่คนต่างด้าวได้รับเนื่องจากการจ้างแรงงานของสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค  ให้หักภาษี  ณ  ที่จ่าย   ในอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้  เมื่อคำนวณตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร  อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีในอัตราสูงกว่าร้อยละ 15.0 ของเงินได้ (พรบ.405) 
 ข้อสังเกต
                                     กรณีจ่ายเงินได้พึงประเมินเป็นรายเดือน  เดือนละเท่าๆกัน  ตลอดปีภาษี  ตามข้อสังเกต 1(1) (2) (3)     ปีภาษีนี้  นาย ก.  ได้รับเงินเดือน ๆ ละ 30,000 บาท  นาย ก. ได้แจ้งสถานะการหักลหย่อนไว้  ดังนี้
 มีภริยาชอบด้วยกฎหมาย  แต่ภริยาไม่มีเงินได้  และมีบุตรผู้เยาว์กำลังศึกษา 2 คน ต้องจ่ายประกันชีวิต  จำนวน 16,000 บาท และ  ต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อบ้านฯ  ที่เข้าหลักเกณฑ์  รวมทั้งปี  จำนวน 30,000 บาท  ผู้จ่ายเงินได้  ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ  ที่จ่ายและนำส่งแต่ละเดือน  ดังนี้
                      วิธีคำนวณ                                                      หน่วย:บาท
                      เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี = 30,000 X 12 = 360,000
                      หัก  ค่าใช้จ่าย (40% ไม่เกิน 60,000 บาท)  = 60,000
                      คงเหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย   300,000
                                                                           หัก  ค่าลดหย่อนส่วนตัว 30,000  
                                                                           ค่าลดหย่อนคู่สมรส  30,000  
                                                                           ค่าลดหย่อนบุตรศึกษา 2 คน 34,000  
                                                                           ค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต 16,000  
                                                                           ค่าลดหย่อนและยกเว้นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมฯ 30,000 =  140,000
                                                           คงเหลือเงินได้สุทธิ  = 160,000
                 ภาษีเงินได้ทั้งปี (100,000 ได้รับยกเว้น) + (60,000 X 10 %) = 6,000
              ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายแต่ละเดือน 6,000/12  = 500

 1. คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.96/2543  ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา     หัก ณ ที่จ่าย  สำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร   ดังต่อไปนี้
 ข้อ 1  การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย  ตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร  กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร  แต่ไม่รวมถึงเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียว  เพราะเหตุออกจากงาน  ให้ปฏิบัติดังนี้
                                  (1)ให้คำนวณหาจำนวนเงินได้พึงประเมินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี  โดยให้นำเงินได้พึงประเมินที่จ่ายแต่ละ
                      คราวคูณด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย (ต่อปี) กล่าวคือ
 กรณีจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือน  ให้คูณด้วย 12
 กรณีจ่ายค่าจ้างเดือนละ 2 ครั้ง  ให้คูณด้วย 24
 กรณีจ่ายค่าจ้างเป็นรายสัปดาห์  ให้คูณด้วย 52
 การจ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ผู้มีเงินได้ซึ่งเข้าทำงานระหว่างปี  ให้คูณเงินได้พึงประเมินที่จ่ายแต่ละคราวในปีที่
                      เข้าทำงานด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่ายจริงสำหรับปีนั้น  เช่น  เข้าทำงานวันที่ 1 เมษายน  และกำหนดจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือน  จำนวนคราวที่จะต้องจ่ายสำหรับปีที่เข้าทำงานจะเท่ากับ 9 
               (2)  ให้นำจำนวนเงินได้พึงประเมินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปีตาม(1) มาคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48(1) แห่งประมวลรัษฎากร  กล่าวคือ  นำมาหักค่าใช้จ่าย  ค่าลดหย่อน  และคำนวณภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดา  เป็นเงินภาษีทั้งสิ้น
 การคำนวณหักค่าลดหย่อน  ให้คำนวณตามที่ผู้มีเงินได้ได้แจ้งไว้พร้อมกับแนบสำเนาหลักฐานแสดงสิทธิในค่าลดหย่อนตามแบบ ล.ย.01( แบบแจ้งรายการเพื่อการหักลดหย่อน) ทั้งนี้  ให้คำนวณหักค่าลดหย่อนได้ตามที่ผู้มีเงินได้ได้แจ้งไว้ตั้งแต่ต้นปีที่เริ่มหักภาษี ณ ที่จ่าย 
                     ไม่ว่าจะจ่ายค่าลดหย่อนนั้นในเดือนใดของปีก็ตาม  เว้นแต่ค่าลดหย่อนเงินบริจาคให้คำนวณหักได้เมื่อมีการจ่ายเงินบริจาคจริงเท่านั้น
 กรณีผู้มีเงินได้ได้แจ้งเปลี่ยนแปลงรายการค่าลดหย่อนระหว่างปี  ให้คำนวณหักค่าลดหย่อนตามที่ผู้มีเงินได้ได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงนั้น
                (3) ได้นำจำนวนเงินภาษีทั้งสิ้นที่คำนวณได้ตาม (2) มาหารด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย(ต่อปี) ตาม (1) ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใด  ให้หักเป็นเงินภาษี ณ ที่จ่าย  ในแต่ละคราวที่จ่ายเงินนั้น
  ถ้าการหารด้วยจำนวนคราวไม่ลงตัวเหลือเศษเท่าใด  ให้เพิ่มเงินเท่าจำนวนที่เหลือเศษนั้นรวมกับเงินนภาษีที่จะต้องหักไว้ครั้งสุดท้ายในปีนั้น  เพื่อให้ยอดเงินภาษีที่หักรวมทั้งปีเท่ากับจำนวนภาษีที่ต้องเสียทั้งปี
                 (4) กรณีมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินได้พึงประเมินที่จ่ายระหว่างปี  ให้คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายใหม่ทุกคราว  ตามวิธีการตาม (1)-(3)
                 (5) กรณีมีการจ่ายเงินพิเศษเป็นครั้งคราวระหว่างปี  เช่น  ค่าล่วงเวลา  เงินโบนัส  ให้นำเงินพิเศษนั้นคูณด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย (ต่อปี) เพื่อหาจำนวนเงินพิเศษเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปีและให้นำมารวมเข้ากับเงินได้            พึงประเมินที่จ่ายตามปกติที่คำนวณได้เสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี  แล้วคำนวณภาษีใหม่ตามที่กล่าวตาม (2) เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใดให้นำภาษีที่คำนวณจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตามปกติทั้งปี (ก่อนจ่ายเงินพิเศษ) หักออกได้ผลลัพธ์เป็นเงินภาษีหัก ณ  ที่จ่าย  สำหรับเงินเพิ่มพิเศษซึ่งจ่ายเป็นครั้งคราวนั้น  แล้วให้นำมารวมกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย  สำหรับเงินที่จ่ายตามปกติในคราวนั้น  ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นเงินภาษีที่ต้องหัก ณ ที่จ่าย  ทั้งสิ้นในคราวที่มีการจ่ายเงินพิเศษนั้น
                 (6) กรณีมีการจ่ายเงินได้พึงประเมินที่ไม่สามารถคำนวณหาจำนวนคราวที่จะต้องจ่ายต่อปี เช่น  ค่าล่วงเวลา  ให้คำนวณภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายแต่ละคราวตามเกณฑ์ในมาตรา 48(1) แห่งประมวลรัษฎากร  ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใด  ให้หักเป็นเงินภาษีนำส่งไว้เท่านั้น  หากคำนวณแล้วไม่มีเงินภาษีที่ต้องเสียก็ไม่ต้องหักในปีเดียวกันนี้  ถ้ามีการจ่ายเงินได้พึงประเมินให้ผู้รับรายเดียวกันนี้อีก  ให้นำเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในครั้งแรกมารวมกับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในครั้งที่สอง  แล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48(1) แห่งประมวลรัษฎากร  เช่นเดียวกับการคำนวณครั้งแรก  หากคำนวณแล้วไม่มีภาษีที่ต้องเสียก็ไม่ต้องหัก  ถ้าได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้นำเงินภาษีที่หักและนำส่งไว้แล้ว(ถ้ามี)มาเครดิตออก  เหลือเท่าใดจึงหักเป็นเงินภาษีและนำส่งไว้เท่านั้น  ถ้ามีการจ่ายเงินได้พึงประเมินในครั้งที่สามและครั้งต่อๆ ไป        ก็ให้คำนวณตามวิธีดังกล่าวนี้ทุกครั้งไป
                 (7) กรณีนายจ้างออกเงินค่าภาษีแทนให้ลูกจ้างสำหรับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในปีใดโดยลูกจ้างไม่ต้องรับภาระในการเสียภาษีด้วยตนเองเลย ให้นำเงินค่าภาษีที่นายจ้างออกแทนให้ไปรวมกับเงินเดือน  หรือค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในปีนั้น   แล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48(1) แห่งประมวลรัษฎากร  จนกว่าจะไม่มีเงินค่าภาษีที่นายจ้างต้องออกแทนให้อีก
                 (8) กรณีนายจ้างออกเงินค่าภาษีแทนให้ลูกจ้าง  สำหรับเงินเดือนหรือค่าจ้างเป็นจำนวนที่แน่นอน  เช่น  เท่ากับจำนวนภาษีที่จะต้องชำระ  ให้นำเงินค่าภาษีที่นายจ้างออกแทนให้ไปรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในปีนั้น แล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48(1) แห่งประมวลรัษฎากร

                      อ้างอิง
                       www.pattanakit.net/

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2748

อัพเดทล่าสุด