ผู้ร่ำรวยในโลก พบปี 52 มีเศรษฐีใหม่เพิ่มขึ้น 10 ล้านคน
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 26 มิ.ย. ว่า เมอร์ริล ลินช์ ร่วมกับ แคฟเจมินี
บริษัทที่ปรึกษาเพื่อการสำรวจสถานะของผู้ร่ำรวยในโลก เปิดเผยผลการสำรวจความร่ำรวย
ส่วนบุคคลปี 2552 (2009) ซึ่งเผยแพร่ไปทั่วโลก เมื่อวันพุธที่ผ่านมา พบว่า
มีเศรษฐีใหม่เพิ่มขึ้น 10 ล้านคน หรือ ราว 17% ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในเอเชียแปซิฟิก
เฉพาะในเอเชียมีคนรวยเพิ่มขึ้น 3 ล้านคน หรือ 25.8% และมีจำนวนเท่ากับเศรษฐีชาวยุโรปเป็นครั้งแรก
ส่วนความมั่นคั่งของเศรษฐีเอเชียเพิ่มขึ้นถึง 31% คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 9.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
หรือประมาณ 315.25 ล้านล้านบาท (32.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ) แซงหน้าเศรษฐียุโรปที่มีความมั่นคั่ง
รวมกัน 9.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 308.75 ล้านล้านบาท
สำหรับประเทศที่มีสัดส่วนเศรษฐีต่อจำนวนประชากรมากที่สุดในโลก คือ สวิตเซอร์แลนด์
ซึ่งประชากร (ผู้ใหญ่) ทุกๆ 1,000 คน จะมีเศรษฐีอยู่ 35 คน ส่วนสหรัฐฯแม้จะเป็นต้นตอวิกฤติการเงิน
การธนาคารล่มสลาย แต่สหรัฐฯยังคงครองตำแหน่งประเทศที่มีเศรษฐีเงินล้านมากที่สุดในโลก
คือ 2.87 ล้านคน มีความมั่นค่ังเพิ่มขึ้น 18% มูลค่ารวม 10.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (347.75 ล้านล้านบาท)
ญี่ปุ่น อันดับ 2 มีเศรษฐี 1.65 ล้านคน เยอรมนี อันดับ 3 มี 861,000 คน และจีน อันดับ 4 มีเศรษฐี 480,000 คน.
ที่มา : https://www.norsorpor.com/ข่าว/n2072554/ทั่วโลกมีเศรษฐี%2010%20ล้านคน%20สหรัฐฯอันดับ1
เนื้อหา วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
เรื่อง ลำดับและอนุกรม
ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน
นักเรียนรู้จักลำดับในชีวิตประจำวันหรือไม่ ลำดับเป็นลำดับของจำนวนชนิดใด
กิจกรรมเสนอแนะ
ให้นักเรียนศึกษาธรรมชาติของสรรสิ่งที่มีการจัดเรียงลำดับ (ลำดับฟีโบนักชี) แล้วได้ผลเป็นภาพที่สวยงาม
ค้นหาภาพเหล่านั้นแล้วนำเสนอแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการเรียนรู้
การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ
1 สังคมศึกษาฯ การเงินการธนาคาร
2 ภาษาไทย การอ่าน
3 ศิลปะศึกษา ภาพเกิดจากลำดับฟีโบนักชี
อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
1 ข่าว : https://www.norsorpor.com/ข่าว/n2072554/ทั่วโลกมีเศรษฐี%2010%20ล้านคน%20สหรัฐฯอันดับ1
2 เนื้อหา : คู่มือครูกล่มสาระคณิตศาสตร์(สสวท.) วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานชั้นม.5 ภาคเรียนที่ 1
https://www.tewlek.com/anet_series.html
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2822