ผลสอบโอเน็ต ร.ร.มหิดลวิทยานุสรณ์ คะแนนเฉลี่ย 99.99%


1,939 ผู้ชม


คะแนนเฉลี่ยการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน( O-NET) ทั้ง 8 กลุ่มสาระวิชาหลัก ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 99.99 คะแนนการทดสอบทางความถนัดทั่วไป(GAT)และการทดสอบความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการ(PAT) ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 98 – 99.99 การสอบโทเฟล ได้คะแนนเฉลี่ย 533 ค   

ทึ่ง! ผลสอบโอเน็ตร.ร.มหิดลวิทยานุสรณ์ 8 วิชาได้คะแนนเฉลี่ย 99.99%

ผลสอบโอเน็ต ร.ร.มหิดลวิทยานุสรณ์ คะแนนเฉลี่ย 99.99%

        เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม  นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารองค์กรหลัก ศธ.ว่า  โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ได้รายงานผลการเรียนของนักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ในภาพรวมประจำปีการศึกษา 2552  ดังนี้  คะแนนเฉลี่ยการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน( O-NET) ทั้ง 8 กลุ่มสาระวิชาหลัก  ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 99.99   คะแนนการทดสอบทางความถนัดทั่วไป(GAT)และการทดสอบความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการ(PAT) ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 98 – 99.99  การสอบโทเฟล ได้คะแนนเฉลี่ย 533 คะแนน  โดยปัจจุบันมีนักเรียนที่จบการศึกษาจำนวน  3 รุ่น  ซึ่งจบการศึกษาชั้นปริญญาตรีจำนวน 661 คน โดยในจำนวนนี้มีผู้ที่ศึกษาต่อชั้นปริญญาโท 161 คน   อย่างไร ก็ตามผลการเรียนดังกล่าวถือว่าเป็นไปตามเป้าหมายในการจัดตั้งโรงเรียนมดิหล วิทยานุสรณ์ ให้เป็นองค์การมหาชนที่มีความโดดเด่นทางด้านการเรียนการสอนวิทยศาสตร์และ คณิตศาสตร์ 
ที่มาของข้อมูล https://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1280402224&grpid=&catid=04
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
การหาตำแหน่งที่ของข้อมูล (เปอร์เซ็นไทล์)  
        การหาตำแหน่งหรือลำดับที่ของข้อมูลในแต่ละชุด เช่น นาย A สอบได้ที่ 10 เราไม่สามารถบอกได้ว่าผลการสอบผลสอบโอเน็ต ร.ร.มหิดลวิทยานุสรณ์ คะแนนเฉลี่ย 99.99%ของนาย A เป็นอย่างไรของกลุ่ม ถ้าในกลุ่มของนาย A มีนักเรียน 45 คน ก็สรุปว่านาย A เป็นคนเก่งในกลุ่ม ถ้าในกลุ่มมีเพียง 10 คน ก็สรุปว่านาย A เป็นคนที่เรียนไม่เก่ง และสอบได้ที่สุดท้าย เพื่อช่วยให้การกล่าวถึงตำแหน่งเป็นไปโดยมีความหมาย คือ สามารถบอกได้ทันที่ว่าตำแหน่งนั้นดีไม่ดีเพียงไรในกลุ่ม จึงได้มีการหาวิธีการบอกตำแหน่งโดย บอกตำแหน่งด้วย ควอร์ไทล์  เดไซล์  และเปอร์เซ็นไทล์
           เปอร์เซ็นไทล์  เป็นค่าที่แบ่งข้อมูลออกเป็น 100 ส่วนเท่าๆกัน เมื่อข้อมูลถูกเรียงจากน้อยไปหามาก เนื่องจากค่าที่แบ่งจำนวนข้อมูลออกเป็น 100 ส่วนเท่าๆกัน มีอยู่ 99 ค่า ดังนั้นเราจึงตั้งชื่อแต่ละค่าว่า 
          เปอร์เซ็นไทล์ที่หนึ่ง  ใช้สัญลักษณ์ P1   คือค่าที่มีจำนวนข้อมูลน้อยกว่าค่านี้อยู่ประมาณ 1 ใน100 ของข้อมูลทั้งหมด
           เปอร์เซ็นไทล์ที่สอง  ใช้สัญลักษณ์ P2  คือค่าที่มีจำนวนข้อมูลน้อยกว่าค่านี้อยู่ประมาณ 2 ใน100 ของข้อมูลทั้งหมด
           จะมีลักษณะเช่นนี้ไปเรื่อยๆจนถึงเปอร์เซ็นไทล์ที่เก้าสิบเก้า ใช้สัญลักษณ์ P99
          การหาเปอร์เซ็นไทล์ ก็เช่นเดียวกับการหาควอร์ไทล์และเดไซล์ คือต้องหาตำแหน่งของเปอร์เซ็นไทล์ก่อน ให้ N เป็นจำนวนข้อมูลหรือความถี่ทั้งหมด
1.กรณีที่ข้อมูลยังไม่แจกแจงความถี่                                                                            
           ตำแหน่งของ P1 คือตำแหน่งที่ (N + 1)( 1/100 ) 
           ตำแหน่งของ P2 คือตำแหน่งที่ (N + 1)( 2/100 ) 
           จะมีลักษณะเช่นนี้ไปเรื่อยๆจนถึงตำแหน่งของ P99 คือตำแหน่งที่ (N + 1)( 99/100)  
           โดยทั่วไป ตำแหน่งของเปอร์เซ็นไทล์ที่ r คือ 
           ตำแหน่งของ Pr คือตำแหน่งที่ (N + 1)( r/100)
 2.กรณีที่ข้อมูลแจกแจงความถี่
           ตำแหน่งของ P1 คือตำแหน่งที่  N(1/100) 
           ตำแหน่งของ P2 คือตำแหน่งที่  N(2/100) 
           จะมีลักษณะเช่นนี้ไปเรื่อยๆจนถึงตำแหน่งของ P99 คือตำแหน่งที่ N(99/100) 
           โดยทั่วไป ตำแหน่งของเปอร์เซ็นไทล์ที่ r คือ
           ตำแหน่งของ Pr คือตำแหน่งที่ ( Nr/100 )  
ผลสอบโอเน็ต ร.ร.มหิดลวิทยานุสรณ์ คะแนนเฉลี่ย 99.99%หมายเหตุ การหาเปอร์เซ็นไทล์ เราจะใช้ในกรณีที่มีข้อมูลดังกล่าวมีจำนวนมากๆ เพราะว่าเปอร์เซ็นไทล์เป็นค่าที่แบ่งจำนวนข้อมูลออกเป็น   100   ส่วนเท่าๆกัน     ดังนั้นในกรณีที่ข้อมูลมีจำนวนน้อยไม่เหมาะที่จะหา
เปอร์เซ็นไทล์ควรจะไปใช้ควอร์ไทล์ หรือ เดไซล์จะดีกว่า 
ตัวอย่างที่ 1 ในการสอบวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน 44 คน ได้คะแนนเรียงตามลำดับดังนี้   11, 12, 13, 18, 19, 24, 27, 28, 32, 32, 33, 33, 34, 34, 35, 35, 36, 36, 37, 38, 38, 39, 40, 41, 41, 42, 43, 44, 45, 45, 46, 47, 50, 54, 54, 55, 55, 56, 46, 56, 58, 58, 59, 60 จงหาเปอร์เซ็นไทล์ที่ 75                                           
วิธีทำ 
                             
Pr อยู่ในตำแหน่งที่ คือ    (N + 1)(r /100)     
                           
P75 อยู่ในตำแหน่งที่ คือ  (44 + 1)(75/100)  = 33.5   
                                ตำแหน่งที่ 33 ของข้อมูลข้างต้น คือ 50 
                                ตำแหน่งที่ 34 ของข้อมูลข้างต้น คือ 54 
                                ตำแหน่งต่างกัน 1 ค่าของเปอร์เซ็นไทล์ต่างกัน 4 
                                ตำแหน่งต่างกัน 0.75 ค่าเปอร์เซ็นไทล์ต่างกัน 4 x 0.75 = 3 
               
ดังนั้น ค่าเปอร์เซ็นไทล์ ที่ 75 เท่ากับ 53    
ตัวอย่างที่ 2 กำหนดข้อมูล 30, 42, 25, 34, 28, 36, 33, 44, 18 จงหาว่าข้อมูลที่มีค่า 30 อยู่ในตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ที่เท่าใด 
วิธีทำ เรียงลำดับข้อมูลจากน้อยไปหามาก ได้ 18 , 25 , 28 , 30 , 33 , 34 , 36 , 42 , 44 ให้ข้อมูลที่มีค่า 30 อยู่ในตำแหน่ง ที่ r ดังนั้น 30 เท่ากับ Pr ข้อมูลที่มีค่า 30 อยู่ในตำแหน่งที่ 4      
                   แต่ตำแหน่ง Pr  = (9 + 1)( r/100)  ได้   10r/100 = 4                                            
                   ดังนั้น      r = 40     
                   ดังนั้น ข้อมูลที่มีค่า 30 อยู่ในตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ที่ 40 หรือ P40

สรุป ขั้นตอนการหาค่าเปอร์เซ็นไทล์ของข้อมูลที่ไม่แจกแจงความถี่เป็นอันตรภาคชั้น 
                 1. เรียงลำดับข้อมูลจากน้อยไปหามาก 
                 2. หาตำแหน่งของเปอร์เซ็นไทล์ โดย ตำแหน่ง P คือ ( N + 1)(r/100)   
ใช้ตำแหน่ง Pr เทียบบัญญัติไตรยางค์หาข้อมูลที่ตรงกับตำแหน่ง Pr นั้น

ตัวอย่าง เปอร์เซ็นไทล์ https://www.rmutphysics.com/charud/virtualexperiment/labphysics1/cal/1/b316.htm
คำถามในห้องเรียน
1. นักเรียนคิดอย่างไรกับคะแนนเฉลี่ยการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน( O-NET) ทั้ง 8 กลุ่มสาระวิชาหลักได้คะแนนเฉลี่ย 99.99% ของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
2. คะแนนเฉลี่ยการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน( O-NET) ทั้ง 8 กลุ่มสาระวิชาหลัก คำนวณอย่างไร ให้บอกแนวคิด
ข้อเสนอแนะ
1. โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ครูเก่ง หรือนักเรียนเก่ง ควรทำการวิจัย ว่ามาจากสาเหตุใด
2. โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์มีแต่ IQ ใช่หรือไม่ ควรส่งเสริม EQ MQ สอดแทรกกับการจัดการเรียนการสอนด้วย
การบูรณาการกับสาระอื่นๆ 
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา และวัฒนธรรม
สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง  วัฒนธรรม  และการดำเนินชีวิตในสังคม
มาตรฐาน ส 2.1 เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี  มีค่านิยมที่ดีงามและธำรงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและสังคมโลกอย่างสันติสุข
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ 1  การอ่าน
มาตรฐาน  ท 1.1  ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน     
สาระที่ 2 การเขียน 
มาตรฐาน ท 2.1 ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ  เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่าง   มีประสิทธิภาพ                  
สาระที่ 3 การฟัง การดู และการพูด
มาตรฐาน ท 3.1 สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิด และ    ความรู้สึกในโอกาสต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์
ที่มาของข้อมูล https://www.thaigoodview.com/node/17613
ที่มาของข้อมูล https://www.thaigoodview.com/node/17613?page=0%2C1
ที่มาของภาพ https://t0.gstatic.com/images?q=tbn:KIRQ_iWlRU0ZkM:https://tulip.bu.ac.th/~wathna.s/fundstat_files/image037.jpg
ที่มาของภาพ https://t0.gstatic.com/images?q=tbn:3-w0GZhbm5npNM:https://www.bloggang.com/data/narcosis/picture/1200462414.jpg
ที่มาของภาพ https://t1.gstatic.com/images?q=tbn:IxhZejzBwHuH2M:https://www.rayongwit.ac.th/library/other/entinfo/images/s17.gif

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2971

อัพเดทล่าสุด