6 แสน สอบบรรจุ ... Standard Scores


783 ผู้ชม


ปรากฏการณ์ที่ไม่ธรรมดาคนกว่า 6 แสนคนกำลังเข้าสู่กิจกรรมเดียวกัน   

6 แสน สอบบรรจุ ... กับค่ามาตรฐานหรือคะแนนมาตรฐาน (Standard Scores)
ปรากฏการณ์ที่ไม่ธรรมดาคนกว่า 6 แสนคนกำลังเข้าสู่กิจกรรมเดียวกัน

6 แสน สอบบรรจุ ... Standard Scores         

 
       

การรสอบภาคความรู้ ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ประจำปี 2553 ของ สำนักงาน ก.พ. นางเบญจวรรณ สร่างนิทร เลขาธิการ ก.พ. ได้ประกาศรายชื่อผู้สมัครสอบ กำหนดวัน เวลา สถานที่สอบ และระเบียบเกี่ยวกับการสอบแข่งขันฯให้ทราบตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2553 และจะดำเนินการสอบในวันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม 2553 ณ ศูนย์สอบ 17 แห่งทั่วประเทศ โดยการสอบภาคเช้า (09.00-11.30 น.) และการสอบภาคบ่าย (14.00-16.30 น.) 
        ผู้เข้าสอบทุกคนจะต้องนั่งอยู่ในห้องสอบจนหมดเวลาทำตอบ ผู้ที่ไปถึงห้องสอบหลังจากที่ได้เริ่มสอบแล้ว 30 นาที จะไม่อนุญาตให้เข้าสอบ  สิ่งสำคัญที่สุดคือผู้สมัครสอบจะต้องนำบัตรประชาชน หรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่มีรูปถ่าย ลายมือชื่อ และเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ที่เป็นฉบับจริงเท่านั้น เพื่อใช้แสดงตนในการเข้าสอบ หากไม่มีบัตรดังกล่าว จะไม่อนุญาตให้เข้าสอบ   สิ่งที่จะอนุญาตให้นำเข้าห้องสอบได้ คือ บัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ ดินสอ ยางลบ ปากกา และกระเป๋าใส่เงินใบเล็ก เท่านั้น   ห้ามนำตำรา หนังสือ บันทึกข้อความ วัสดุอุปกรณ์อื่น เช่น กระเป๋าสะพาย กระเป๋าถือสุภาพสตรี เครื่องคำนวณ อุปกรณ์ใช้คำนวณได้   เครื่องบันทึกภาพ เครื่องบันทึกเสียง หรือเครื่องมือสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ ทุกชนิด เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ (มือถือ) วิทยุติดตามตัว วิทยุสื่อสารเป็นต้น เข้าห้องสอบโดยเด็ดขาด   หากนำเข้าห้องสอบถือว่ามีเจตนากระทำการทุจริต
        ทั้งนี้ การสอบจะดำเนินการสอบพร้อมกันทุกระดับ โดยแบ่งเป็น ปวช. จำนวน 35,802 คน ปวท.อนุปริญญา และ ปวส. จำนวน 137,738 คน ปริญญาตรี จำนวน 432,672 คน และ ปริญญาโท จำนวน 14,566 คน 
ผู้สมัครควรตรวจสอบรายชื่อ วัน เวลา สถานที่สอบ และศึกษาเส้นทางการเดินทางไปยังสนามสอบ รวมทั้งระเบียบและวิธีการสอบให้ละเอียด เพื่อประโยชน์แก่ผู้สมัครสอบเอง ที่เว็บไซต์ 
https://job3.ocsc.go.th
ที่มาของข้อมูล https://www.thairath.co.th/column/pol/corner/101186
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ค่ามาตรฐานหรือคะแนนมาตรฐาน (Standard Scores)
6 แสน สอบบรรจุ ... Standard Scoresค่ามาตรฐานเป็นค่าที่บอกให้ทราบความแตกต่างระหว่างค่าของข้อมูลนั้นกับค่าเฉลี่ยเลขคณริตของข้อมูลชุดนั้นเป็นกี่เท่าของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ในการเปรียบเทียบค่าคะแนนของข้อมูลที่มาจากข้อมูลต่างชุดกัน ว่าจะมีความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งบางครั้งไม่สามารถเปรียบเทียบได้โดยตรง เพราะมัชฌิมเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลมักจะไม่เท่ากัน ในการเปรียบเมียบให้มีความถูกต้องจึงมีความจำเป็นของการเปลี่ยนคะแนนของข้อมูลทั้งสองชุดนั้นให้เป็นคะแนนมาตรฐาน ( ซึ่งมีมัชฌิมเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากันเสียก่อน ) จึงจะเปรียบเทียบข้อมูล 2 ชุดนี้ได้ ในการเปลี่ยนค่าของข้อมูลของตัวแแปรหรือข้อมูลแต่ละตัวให้เป็นค่ามาตรฐานที่นิยมใช้คือเปลี่ยนให้มีค่ามัชฌิมเลขคณิตเท่ากับ 0 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1
ข้อสังเกต คะแนนมาตรฐานเป็นตัวเลขไม่มีหน่วย 
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนมาตรฐานทั้งหมดของชุดข้อมูล จะมีค่าเท่ากับ 1 
        คะแนนมาตรฐานของข้อมูลใดๆ จะเป็นบวก หรือลบก็ได้ขึ้นอยู่กับค่าของข้อมูลนั้นๆ กับมัชฌิมเลขของข้อมูลชุดนั้นว่าค่าใดมีค่ามากกว่ากัน 
        คะแนนมาตรฐานโดยทั่วไปจะมีค่า –3 ถึง +3 แต่อาจจะมีบางข้อมูลที่มีคะแนนมาตรฐานสูงหรือต่ำกว่านี้เล็กน้อย 
เมื่อแปลงข้อมูลทุกๆ ค่าในข้อมูลชุดใดชุดหนึ่งให้เป็นคะแนนมาตรฐานแล้วทำค่ามาตรฐานเหล่านั้นมาคำนวณหาค่ามัชฌิมเลขคณิตจะได้เท่ากับ 0 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานจะได้เท่ากับ 1 ( คะแนนมาตรฐานจะมีมัชฌิมเลขคณิตเท่ากับ 0 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1 ) 
ถ้า  จะได้ Z > 0 และถ้า  จะได้ Z< 0 
ที่มาของข้อมูล https://reg.ksu.ac.th/Teacher/kanlaya/3.17.html
คุณสมบัติของโค้งปกติ
      1. เป็นรูประฆังคว่ำ ส่วนสูงของโค้งจะขึ้นอยู่กับค่าความแปรปรวน
      2. มีลักษณะสมมาตร ซีกซ้ายและซีกขวาจะเท่ากัน
      3. ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน และฐานนิยมจะอยู่ที่จุดเดียวกัน
      4. มีจุดสูงสุดเพียงจุดเดียว ปลายโค้งจะค่อยๆ ลดต่ำลงแต่ไม่แตะแกนนอน
      5. พื้นที่ใต้โค้งระหว่างจุด  ± 1 S.D. มีค่าประมาณ 68 %  ± 2 S.D. มีค่าประมาณ 95 % ± 3 S.D. มีค่าประมาณ 99 %
      6.พื้นที่ใต้โค้งทั้งหมดมีค่าเท่ากับ 1
ที่มาของข้อมูล 
https://www.rmutphysics.com/charud/virtualexperiment/labphysics1/cal/1/b322.htm
อ่าน เรื่อง คะแนนมาตรฐานคะแนนมาตรฐาน (z score) เพิ่มเติมได้ื้ที่ https://www.watpon.com/Elearning/stat22.htm

คำถามในห้องเรียน
6 แสน สอบบรรจุ ... Standard Scores1.จากข้อความ "การสอบจำนวนทั้งหมด 620,058 คน แบ่งเป็น ปวช. จำนวน 35,802 คน ปวท.อนุปริญญา และ ปวส. จำนวน 137,738 คน ปริญญาตรี จำนวน 432,672 คน และ ปริญญาโท จำนวน 14,566 คน " นักเรียนนำคะแนนมาตรฐาน Z ตัดสินในการสอบบรรจุครั้งนี้ ยุติธรรมหรือไม่เพราะเหตุใด
2. ถ้านำจำนวนผู้สอบบรรจุ ก.พ. กับค่าใช้จ่ายของแต่ละคน มาเปรียบเทียบกัน นักเรียนคิดว่า ผลที่ได้จะอยู่ในรูปโค้งปกติหรือไม่ เพราะเหตุใด

ข้อเสนอแนะ
1. จากผู้สอบบรรจุ จำนวน  620,058 คน  นักเรียนคิดว่า เป็นคนที่ว่างงานทั้งหมดหรือไม่ อภิปราย

การบูรณรนาการกับสาระอื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี 
สาระที่ 1   การดำรงชีวิตและครอบครัว 
มาตรฐาน ง 1.1 เข้าใจการทำงาน  มีความคิดสร้างสรรค์  มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะการจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา  ทักษะการทำงานร่วมกัน   และทักษะ การแสวงหาความรู้    มีคุณธรรมและลักษณะนิสัยในการทำงาน  มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน  ทรัพยากร  และสิ่งแวดล้อมเพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว
สาระที่ 4    การอาชีพ 
มาตรฐาน ง 4.1  เข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น  มีประสบการณ์  เห็นแนวทางในงานอาชีพ  ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพ   มีคุณธรรมและมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา และวัฒนธรรม
สาระที่ 3   เศรษฐศาสตร์
มาตรฐาน ส 3.1 เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภคการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า  รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง  เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ 
มาตรฐาน ส 3.2 เข้าใจระบบ และสถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ๆ  ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและความจำเป็นของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก

ที่มาของภาพ https://t2.gstatic.com/images?q=tbn:7ymyThj4Ord-KM::&t=1&usg=__87NK74DWxPOITgGw1O9-we1vfP8=
ที่มาของภาพ 
https://3.bp.blogspot.com/_fDf9qxjNWd0/SrMaZybycTI/AAAAAAAAALM/1r16D4S8Dow/s400/09-09-17-184347.jpg

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3017

อัพเดทล่าสุด