ผลการสำรวจหนี่ครูทั่วประเทศ จำนวนสี่แสนกว่าราย ยอดหนี้สินรวมกันมากกว่าหนึ่งล้านล้านบาท ชวนกันไปเล่นไพ่ในความน่าจะเป็นดีกว่านะคะ
การหาความน่าจะเป็นจากไพ่หนึ่งสำรับ
ข่าวผลการสำรวจหนี้สินครูจากสำนักข่าวไทยรัฐโดยแม่ลูกจันทร์นำเสนอวันนี้ บอกว้าช็อกอย่างแรง เลยจะชวนกันมาเล่นไพ่คลายเครียด
ปลัด กระทรวงศึกษาฯ "เฉลียว อยู่-สีมารักษ์" เปิดเผยตัวเลขยอดหนี้สินครู ผลการสำรวจภาระหนี้สินครูทั่วประเทศ จำนวนสี่แสนกว่าราย ปรากฏว่าคุณครูทั้งหลายมียอดหนี้สินรวมกันมากกว่าหนึ่งล้านล้านบาท ยอดหนี้หนึ่งล้านล้านบาทเท่ากับ ครึ่งหนึ่งของงบประมาณรายจ่ายประ-เทศไทย หนี้สินของครูส่วนใหญ่ เป็นหนี้จากการกู้ยืมหลายโครงการ เช่น สหกรณ ออมทรัพย์ 87 แห่ง คิดเป็นยอดหนี้ทั้งสิ้นเจ็ดแสนล้านบาท โครงการ ชพค. เป็นยอดหนี้อีกหนึ่งแสนห้าหมื่นล้านบาท โครงการพัฒนาชีวิตครู เป็นยอดหนี้ห้าหมื่นล้านบาท กองทุนหมุนเวียน เป็นยอดหนี้กว่าหนึ่งพันล้านบาท
ขอบคุณที่มาข่าว : https://www.thairath.co.th/today/view/101123
เนื้อหารสาระ ช่วงชั้นที่ 3
เรื่อง ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์
หลักการหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์
ให้ S เป็นแซมเปิลสเปซสมาชิก N ตัว โดยที่สมาชิกแต่ละตัวมีโอกาสเกิดขึ้นเท่า ๆ กัน และ E เป็นเหตุการณ์ในแซมเปิลสเปซ ซึ่งมีสมาชิก n ตัว ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ E เขียนแทนด้วย
เมื่อ n(E) แทนจำนวนสมาชิกในเหตุการณ์
n(S) แทนจำนวนสมาชิกในแซมเปิลสเปซ
เหตุการณ์
เหตุการณ์(Event) คือ สับเซตของแซมเปิลสเปซ นิยมใช้สัญลักษณ์ E แทนเหตุการณ์
1. เนื่องจากเหตุการณ์เป็นสับเซตของแซมเปิลสเปซ ดังนั้นเซตว่างก็เป็นเหตุการณ์ ๆ หนึ่งเช่นกัน( เป็นเหตุการณ์ที่เป็นไปไม่ได้)
2. เนื่องจากแซมเปิลสเปซ S เป็นเซตของผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งหมดจากการทดลองสุ่ม ดังนั้นถ้าเปรียบเทียบกับเซตแล้ว S ก็คือเอกภพสัมพัทธ์นั่นเอง และแซมเปิลสเปซ S ก็เป็นเหตุการณ์ ๆ หนึ่ง
แซมเปิลสเปซ
แซมเปิลสเปซ (Sample Space) คือเซตของผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งหมดจากการทดลองสุ่ม และเป็นสิ่งที่เราสนใจ สัญลักษณ์ที่ใช้แทนแซมเปิลสเปซคือ S
การหาความน่าจะเป็นของไพ่
ไพ่ 1 สำรับ มี 52 ใบ ประกอบด้วย 2 สี คือ สีดำและสีแดง
สีดำ ได้แก่ โพดำและดอกจิก
สีแดง ได้แก่ โพดำและข้าวหลามตัด
มี 4 ดอก คือ โพแดง โพดำ ข้าวหลามตัด และดอกจิก
มีตัวเลข 1,2,3,4,5,6,7,8,9,10 และ
ตัวอักษรภาษาอังกฤษพิมพ์ใหญ์ 4 ตัว คือ A J Q K
ตัวอย่างที่ 1 จงหาความน่าจะเป็นที่จะได้ไพ่ A โพแดง จากการดึงไพ่1ใบจากสำรับ
วิธีทำ P(E) คือ ความน่าจะเป็นที่จะเกิดเหตุการณ์หยิบได้ไพ่ A โพแดง
E คือ เหตุการณ์ที่ได้ไพ่ A โพแดง
n(S) = 52 จำนวนไพ่ทั้งหมดจากไพ่1สำรับ
n(E) = 1 จำนวนไพ่ A โพแดงใน1 สำรับ
ดังนั้น P(E) = 1/52 หรือประมาณ 0.0192308
ตอบ ความน่าจะเป็นที่จะได้ไพ่ A โพแดง คือ 1 ใน 52
ตัวอย่างที่ 2 จงหาความน่าจะเป็นที่จะได้ไพ่สีแดง จากการดึงไพ่1ใบจากสำรับ
วิธีทำ P(E) คือ ความน่าจะเป็นที่จะเกิดเหตุการณ์หยิบได้ไพ่ สีแดง
E คือ เหตุการณ์ที่ได้ไพ่แดง
n(S) = 52 จำนวนไพ่ทั้งหมดจากไพ่1สำรับ
n(E) = 26 จำนวนไพ่สีแดงใน 1 สำรับ(โพแดงและข้าวหลามตัด)
ดังนั้น P(E) = 1/2 หรือ 0.5
ตอบ ความน่าจะเป็นที่จะได้ไพ่สีแดง คือ 1 ใน 2
ตัวอย่างที่ 3 จงหาความน่าจะเป็นที่จะได้ไพ่ตัวอักษรภาษาอังกฤษจากการดึงไพ่1ใบจากสำรับ
วิธีทำ P(E) คือ ความน่าจะเป็นที่จะเกิดเหตุการณ์หยิบได้ไพ่ตัวตัวอักษรภาษาอังกฤษ
E คือ เหตุการณ์ที่ได้ไพ่ตัวอักษรภาษาอังกฤษ
n(S) = 52 จำนวนไพ่ทั้งหมดจากไพ่1สำรับ
n(E) = 16 จำนวนไพ่ตัวอักษรภาษาอังกฤษใน1 สำรับ
ดังนั้น P(E) = 16/52 หรือ 4/13
ตอบ ความน่าจะเป็นที่จะได้ไพ่ภาษาอังกฤษ คือ 16 ใน 52 หรือ 4 ใน 13
คำถามในห้องเรียน
นักเรียนแบ่งกลุ่มหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์อื่นๆจากการหยิบไพ่จากไพ่1สำรับนำเสนอหน้าชั้นเรียน
การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ
- ภาษาไทย คำนาม ลักษณะนาม เช่น การเรียกไพ่ "สำรับ"
- ภาษาต่างประเทศ การเขียนตัวอักษรพิมพ์เล็กพิมพ์ใหญ่
- สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม กฎหมายความผิดเกี่ยวกับการเล่นการพนัน
- ศิลปะศึกษา แม่สี
- สุขศึกษาและพลศึกษา การรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์แก่สุขภาพ
- การงานอาชีพและเทคโนโลยี สืบค้นประวัติและชนิดของ "ไพ่"
แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
- https://www.thaigoodview.com/node/41787
- https://www.mathcenter.net/review/review20/review20p01.shtml
- https://www.trueplookpanya.com/true/examination_display.php?exam_id=1415
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3018