มาแร้ว ! ที่นี่เล่นโยนลูกเต๋าไม่ผิด


746 ผู้ชม


ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ เป็นการหาความเป็นไปได้ที่จะเกิดสิ่งนั้นจากเหตุการณ์ที่เราสนใจ "วันนี้สนใจเล่นโยนเต๋า"   

ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์
    มาแร้ว ! ที่นี่เล่นโยนลูกเต๋าไม่ผิด

หลักการหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์

   ให้ S เป็นแซมเปิลสเปซสมาชิก N ตัว โดยที่สมาชิกแต่ละตัวมีโอกาสเกิดขึ้นเท่า ๆ กัน และ E เป็นเหตุการณ์ในแซมเปิลสเปซ  ซึ่งมีสมาชิก n ตัว ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ E เขียนแทน    

   เมื่อ n(E)   แทนจำนวนสมาชิกในเหตุการณ์  
         n(S)   แทนจำนวนสมาชิกในแซมเปิลสเปซ  
เหตุการณ์
 เหตุการณ์(Event) คือ สับเซตของแซมเปิลสเปซ นิยมใช้สัญลักษณ์ E แทนเหตุการณ์
1. เนื่องจากเหตุการณ์เป็นสับเซตของแซมเปิลสเปซ ดังนั้นเซตว่างก็เป็นเหตุการณ์ ๆ หนึ่งเช่นกัน( เป็นเหตุการณ์ที่เป็นไปไม่ได้)
2. เนื่องจากแซมเปิลสเปซ S เป็นเซตของผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งหมดจากการทดลองสุ่ม ดังนั้นถ้าเปรียบเทียบกับเซตแล้ว S ก็คือเอกภพสัมพัทธ์นั่นเอง และแซมเปิลสเปซ S ก็เป็นเหตุการณ์ ๆ หนึ่ง 
แซมเปิลสเปซ
แซมเปิลสเปซ (Sample Space) คือเซตของผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งหมดจากการทดลองสุ่ม และเป็นสิ่งที่เราสนใจ  
               สัญลักษณ์ที่ใช้แทนแซมเปิลสเปซคือ S

ตัวอย่างการหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์โยนลูกเต๋า 1 ลูก 1 ครั้ง

                 S = {1,2,3,4,5,6}
1). ความน่าจะเป็นที่ลูกเต๋าจะขึ้นแต้ม 1 
วิธีีทำ      
     P(E) คือ จำนวนเหตุการณ์ที่ลูกเต๋าขึ้นหน้าเลข 1ในจำนวนเหตุการณ์อาจจะที่เกิดขึ้นทั้งหมด
     n(E) คือ จำนวน
เหตุการณ์ที่ลูกเต๋าขึ้นหน้าเลข 1 ได้ { 1 } = 1
     n(S) คือ 
จำนวนเหตุการณ์อาจจะที่เกิดขึ้นทั้งหมด ได้ { 1,2,3,4,5,6}
             ดังนั้น    P(E) = 1/6 
     ตอบ ความน่าจะเป็นที่ลูกเต๋าจะขึ้นหน้าเลข1 คือ 1 ใน 6         

แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
https://www.thaigoodview.com/node/41787 
https://www.mathcenter.net/review/review20/review20p01.shtml 
https://www.trueplookpanya.com/true/examination_display.php?exam_id=1415 

ฝนตกหนักเน็ตล่ม รอแป๊บนึงนะคะ
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3020

อัพเดทล่าสุด