สำรวจผู้ใช้บริการ ภาพรวมเต็ม 5 ได้ 3.86 สะท้อนปัญหาต้นๆ ออกรถไม่ตรงเวลา เร่งปลายปีเพิ่ม 4 โบกี้
โพลล์ไม่ปลื้ม BTS รอนาน
จ้างเอแบคโพลล์สำรวจผู้ใช้บริการ ภาพรวมเต็ม 5 ได้ 3.86 สะท้อนปัญหาต้นๆ ออกรถไม่ตรงเวลา เร่งปลายปีเพิ่ม 4 โบกี้สายสีลมแก้
นายอมร กิจเชวงกุล กรรมการผู้อำนวยการบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด เปิดเผยว่า หลังจากที่กทม.เปิดให้บริการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีลมช่วงสะพานตากสิน-สถานีวงเวียนใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค.52 โดย กรุงเทพธนาคมบริหารจัดการเดินรถ ซึ่งได้สำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการเป็นระยะๆ และล่าสุดได้ให้เอแบคโพลล์ สำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสถานีกรุงธนบุรีและสถานีวงเวียนใหญ่ 645 ตัวอย่างระหว่างวันที่ 21-27 มิ.ย.53 พบว่า
จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน ผู้ใช้บริการพึงพอใจต่อการให้บริการมีคะแนนเฉลี่ย 3.86 หรือในระดับมาก เมื่อจำแนกความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ออกเป็นปัจจัยแต่ละด้านพบว่า 5 ปัจจัยแรกที่ทำให้เกิดความพึงพอใจในการใช้บริการรถไฟฟ้าสถานีกรุงธนบุรีและสถานีวงเวียนใหญ่มีดังนี้ อันดับ 1 ร้อยละ 24.9 คือ ความเหมาะสมของราคา อันดับ 2 ร้อยละ 15.6 คือ การตรงต่อเวลา อันดับที่ 3 ร้อยละ 15.1 คือความปลอดภัย อันดับที่ 4 ร้อยละ 10.7 คือ เวลาในการรอรถไฟฟ้าต่อเที่ยว และอันดับ 5 ร้อยละ 6.4 คือ ความครบครันของสิ่งอำนวยความสะดวกบนสถานี
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://www.siamrath.co.th/?q=node/55488
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic Mean , Average , )
ค่าเฉลี่ยเลขคณิตจัดว่าเป็นค่าที่มีความสำคัญมากในวิชาสถิติ เพราะค่าเฉลี่ยเลขคณิตเป็นค่ากลางหรือเป็นตัวแทนของข้อมูลที่ดีที่สุด เพราะ
1. เป็นค่าที่ไม่เอนเอียง
2. เป็นค่าที่มีความคงเส้นคงวา
3. เป็นค่าที่มีความแปรปรวนต่ำที่สุด
4. เป็นค่าที่มีประสิทธิภาพสูงสุด แต่ค่าเฉลี่ยเลขคณิตก็มีข้อจำกัดในการใช้ เช่น ถ้าข้อมูลมีการกระจายมาก หรือข้อมูลบางตัวมีค่ามากหรือน้อยจนผิดปกติ หรือข้อมูลมีการเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว ค่าเฉลี่ยเลขคณิตจะไม่สามารถเป็นค่ากลางหรือเป็นตัวแทนที่ดีของข้อมูลได้
การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตเมื่อข้อมูลไม่ได้มีการแจกแจงความถี่ ในกรณีที่ข้อมูลไม่ได้มีการแจกแจงความถี่
ที่มาของข้อมูล https://pibul2.psru.ac.th/~buncha/Chp1_5.htm
ค่ากลางของข้อมูล มีทั้งหมด 6 ชนิด
1.ค่าเฉลี่ยเลขคณิตหรือตัวกลางเลขคณิต(arithmetic mean)
2.มัธยฐาน(median)
3.ฐานนิยม(mode)
4.ตัวกลางเรขาคณิต(geometric mean)
5.ตัวกลางฮาโมนิค (harmonic mean)
6.ตัวกึ่งกลางพิสัย(mid-range)
ค่าเฉลี่ยเลขคณิตหรือตัวกลางเลขคณิต(arithmetic mean) หลักในการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต
1.นำข้อมูลทั้งหมดมารวมกัน
2.นำผลรวมที่ได้จากข้อ 1 มาหารด้วยจำนวนข้อมูลทั้งหมด
3.ผลหารที่ได้ในข้อ 2 คือ ค่าเฉลี่ย
ที่มาของข้อมูล www.tutormaths.com/mathapa18.doc
เนื้อหาพร้อมตัวอย่าง https://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/pisamorn_s/sec02p02.html
แบบทดสอบก่อนเรียน https://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/pisamorn_s/pretest.htm
แบบทดสอบหลังเรียน https://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/pisamorn_s/posttest.htm
คำถามในห้องเรียน
1. จากความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ คะแนนเต็ม 5 คะแนน คะแนนเฉลี่ย 3.86 ซึ่งอยู่ในระดับมาก นักเรียนคิดว่า คะแนนเฉลี่ย 3.86 คิดคำนวณโดยวิธีการใดและควรมีข้อมูลอะไรเพิ่มเติม
2. ให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายถึงผลสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ เชื่อถือได้เพียงไร
ข้อเสนอแนะ
1. ในการสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้บริการนั้นจำนวนกลุ่มตัวอย่างเป็นตัวแทนของประชากรได้หรือไม่
การบูรณาการกับสาระอื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว
มาตรฐาน ง 1.1 เข้าใจการทำงาน มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะการจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกัน และทักษะการแสวงหาความรู้ มีคุณธรรม และลักษณะนิสัยในการทำงาน มีจิตสำนึก ในการใช้พลังงาน ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม เพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
สาระที่ 1 การอ่าน
มาตรฐาน ท 1.1 ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
สาระที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต
มาตรฐาน พ 5.1 ป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ อุบัติเหตุ การใช้ยาสารเสพติด และความรุนแรง
ที่มาของภาพ https://img.ryt9.com/img/thumb/ryt9.com/420x0/96/iqdfe257d40a7570b9b02653f26989422b.jpg
ที่มาของภาพ https://www.tnews.co.th/html/picture/tnews_1272982128_56.jpg
ที่มาของภาพ https://www.bangkokbiznews.com/home/media/2010/06/01/images/news_img_118749_1.jpg
ที่มาของภาพ https://phep.ph.mahidol.ac.th/Academics/CAI_SPSS_PHEP626/SP_Final/chap7_p1.jpg
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3024