ศธ.เผยแผนแก้ปัญหาหนี้ครูทั้งระบบ สรุปล่าสุด สกสค.ยอมหักเงินกองทุนที่ได้จากธนาคารออมสิน คืนครูอีก 1%
"ออมสิน" ลดดอกเบี้ยหนี้ครูเหลือ 0.50
ศธ.เผยแผนแก้ปัญหาหนี้ครูทั้งระบบ สรุปล่าสุด สกสค.ยอมหักเงินกองทุนที่ได้จากธนาคารออมสิน คืนครูอีก 1%
เมื่อวันที่ 25 ส.ค.53 นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ตนได้เชิญ รมว.การคลัง สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตครู ธนาคารออมสิน มาร่วมหารือถึงการแก้ไขปัญหาปัญหาหนี้สินครูทั้งระบบ โดยได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่า ธนาคารออมสิน ยินดีที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ตามโครงการพัฒนาชีวิตครู เป็น MLR - 0.50 บาท และ สกสค.เองจะลดในส่วนที่เป็นเงินกองทุนที่ได้มาจากธนาคารร้อยละ 1 คืนให้กลับครูด้วย รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า จากการหารือร่วมกัน มีความเห็นว่าทำอย่างไรครูถึงจะไม่มีการกู้เงินซ้ำซ้อน เนื่องจากปัจจุบันตัวเลขของครูมีหนี้สินจากแหล่งใหญ่อยู่ 3 ช่องทาง คือ
1. หนี้สินจากสหกรณ์ออมทรัพย์ครู 700,000 ล้านบาท
2. หนี้จากโครงการพัฒนาชีวิติครู 90,000 ล้านบาท
3. หนี้จากโครงการฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนสมาชิกครู (ช.พ.ค.) 200,000 ล้านบาท
และบุคลากรทางการศึกษา ที่ยังอยู่ในระบบราชการและมีหนี้สินอยู่ในภาวะวิกฤติ อีกกว่า20,000 ราย ซึ่ง ก.ค.ศ. จะต้องหาวิธีเยียวยาครูกลุ่มนี้ต่อไป “เราไม่สามารถไปปิดกั้นสิทธิ์ในการกู้ยืมเงินของครูได้ แต่เราสามารถบริหารจัดการดูแลไม่ให้ครูกู้หนี้ซ้ำซ้อนได้ จึงได้ขอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบไปดำเนินการอย่างถูกต้องและโปร่งใส ซึ่งผมจะติดตามทุกขั้นตอนเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา ซึ่งผมก็อยากให้ครูมีเงินเหลือใช้หลังจากสถาบันการเงินหัก 25% เพราะบางคนเหลือเงินเพียง 10% เท่านั้น” นายชินวรณ์ กล่าว
ที่มาของข้อมูล https://www.siamrath.co.th/?q=node/65202
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ทศนิยม
ทศนิยมได้ถูกนำมาใช้ในชีวิตประจำวันอย่างกว้างขวาง เช่น การวัดความยาว อุณหภูมิของอากาศ การคิดราคาสินค้า การคิดภาษี เป็นต้น ทั้งนี้ เนื่องจากการใช้หน่วยที่เป็นจำนวนเต็มนั้นไม่เพียงพอ ยังมีปริมาณที่เป็นเศษของหน่วยหรือไม่เต็มหน่วย จึงต้องมีระบบการเขียนตัวเลขแทนปริมาณเหล่านั้น ที่เรียกว่า ระบบทศนิยม ซึ่งตกลงกันเป็นสากลให้ใช้ จุด " . " เรียกว่า "จุดทศนิยม" คั่นระหว่างจำนวนเต็มกับ เศษของหน่วย เช่น
การอ่านทศนิยม ตัวเลขหน้าจุดทศนิยมอ่านแบบจำนวนเต็ม ตัวเลขหลังจุดทศนิยมอ่านเรียงตัว เช่น
3.125 อ่านว่า สามจุดหนึ่งสองห้า
0.02 อ่านว่า ศูนย์จุดศูนย์สอง
305.50 อ่านว่า สามร้อยห้าจุดห้าศูนย์
ตัวอย่าง 784.126
7 อยู่ในหลักร้อย มีค่าเป็น 700
8 อยู่ในหลักสิบ มีค่าเป็น 80
4 อยู่ในหลักหน่วย มีค่าเป็น 4
1 อยู่ในหลักส่วนสิบ มีค่าเป็น หรือ 0.1
2 อยู่ในหลักส่วนร้อย มีค่าเป็น หรือ 0.02
6 อยู่ในหลักส่วนพัน มีค่าเป็น หรือ 0.006
ตัวอย่าง 2.145 เป็นทศนิยม 3 ตำแหน่ง โดยมี
1 เป็นทศนิยมตำแหน่งที่ 1
4 เป็นทศนิยมตำแหน่งที่ 2
5 เป็นทศนิยมตำแหน่งที่ 3
อ่านเกี่ยวกับทศนิยมที่ https://www3.ipst.ac.th/primary_math/ebook/decimals/cap01/p01.html
ที่มาของข้อมูล https://www3.ipst.ac.th/primary_math/ebook/decimals/cap01/p01.html
1. การบวกทศนิยม ใช้วิธีตั้งหลักและจุดทศนิยมให้ตรงกัน แล้วบวกตัวเลขที่อยู่ในหลักเดียวกัน ถ้าผลบวกได้เกิน 9 ให้ทศไปยังหลักข้างหน้าเหมือนการบวกจำนวนนับ
ตัวอย่าง 42.36 + 23.86 = ? ตอบ 66.22
2. การลบทศนิยม ใช้วิธีตั้งหลักและจุดทศนิยมให้ตรงกัน แล้วลบจำนวนที่อยู่ในหลักเดียวกัน ถ้าตัวตั้งน้อยกว่าตัวลบให้กระจายหลักข้างหน้ามาเหมือนกับจำนวนนับ
ตัวอย่าง 4.35 - 2.19 = ? ตอบ 2.16
3. โจทย์ปัญหาการบวกและลบทศนิยม
ขั้นตอนการทำโจทย์ปัญหาการบวกและลบทศนิยม มีดังนี้
1) ถ้ากำหนดจำนวนสิ่งของให้ และบอกจำนวนที่เพิ่มขึ้น ใช้วิธีบวก
2) ถ้ากำหนดจำนวนสิ่งของให้ และบอกจำนวนที่ลดลง ใช้วิธีลบ
ตัวอย่าง จ่ายค่าหนังสือเป็นเงิน 206.5 บาท จ่ายค่าสมุดเป็นเงิน 150 บาท ให้ธนบัตรใบละ 500 บาท จะได้รับเงินทอนกี่บาท
ประโยคสัญลักษณ์ 500 - (206.5 + 150 ) = ?
วิธีทำ
จ่ายค่าหนังสือเป็นเงิน 206.50 บาท
จ่ายค่าสมุดเป็นเงิน 150.00 บาท
จ่ายเงินค่าสมุดและดินสอเป็นเงิน 356.50 บาท
ให้ธนบัตรใบละ 500.00 บาท
จ่ายค่าหนังสือและสมุด 356.50 บาท
จะได้รับเงินทอน 143.50 บาท
4. การคูณทศนิยม
1. การหาผลคูณโดยใช้การบวก เช่น 2 x 3.5 = 3.5 + 3.5 = 7.0
2. การหาผลคูณโดยการเปลี่ยนทศนิยมให้เป็นเศษส่วน เช่น
3. การหาผลคูณโดยวิธีลัด ให้คูณเหมือนการคูณจำนวนนับด้วยจำนวนนับ และผลคูณจะมีตำแหน่งทศนิยมเท่ากับทศนิยมที่โจทย์กำหนดให้ เช่น 3x0.7 = 2.1 หรือ 4 x2.17 = 8.68 เป็นต้น
คุณสมบัติการสลับที่ของการคูณเช่น 5x0.8 = 0.8x5 =4.0
5. โจทย์การปัญหาการคูณทศนิยม มีหลักดังนี้
ขั้นตอนการทำโจทย์การปัญหาการคูณทศนิยม
1) อ่านโจทย์ให้เข้าใจว่าโจทย์กำหนดสิ่งใดให้ และต้องการทราบอะไร
2) พิจารณาวิธีหาคำตอบโดยถ้าโจทย์กำหนดจำนวนสิ่งของให้ และบอกว่าเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนเท่าจะใช้วิธีการคูณ
ตัวอย่าง ซื้อผ้าเช็ดหน้า 1/2 โหล ราคาผืนละ 5.25 บาท ให้ธนบัตรใบละ100 บาท จะได้รับเงินทอนกี่บาท
ประโยคสัญลักษณ์ 100 - (5.25x6) = ?
วิธีทำ ซื้อผ้าเช็ดหน้าราคาผืนละ 5.25 บาท
ผ้าเช็ดหน้า 1/2 โหลเท่ากับ 6 ผืน
จ่ายเงินค่าผ้าเช็ดหน้า 6x5.25 = 31.50 บาท
ให้ธนบัตร 100 บาท
จะได้รับเงินทอน 100 - 31.50 = 63.50 บาท
ทดสอบความเข้าใจ
ข้อ 1. จงหาค่าของ (7.58 - 3.61) + 2.95 = ?
ก. 5.92 ข. 6.82 ค. 6.92 ง. 14.14
เฉลย ข้อ 1. ตอบ ค
ข้อ 2. แดงมีเงิน 24.50 บาท ซื้อหนังสือ 1 เล่มราคา 15 บาท แดงมีเงินเหลือกี่บาท
ก. 9 ข. 9.50 ค. 10 ง. 10.50
เฉลย ข้อ 2. ตอบ ข
ข้อ 3. เชือกยาวเส้นละ 2.35 เมตร ถ้านำมาวางต่อกัน 10 เส้น จะได้เชือกยาวกี่เมตร
ก. 12.35 ข. 23.5 ค. 235 ง. 2,350
เฉลย ข้อ 3. ตอบ ข
ที่มาของข้อมูล https://www.tutormaths.com/pratom9.htm
คำถามในห้องเรียน
1. นักเรียนคิดว่าการลดดอกเบี้ยเหลือ 0.50 จากหนี้สิน 700,000 ล้านบาท คิดเป็นกี่บาท
2. หนี้สินอยู่ในภาวะวิกฤติ อีกกว่า 20,000 ราย ถ้าลดดอกเบี้ยหนี้เหลือ 0.50 นักเรียนคิดว่าเพียงจะแก้ไขปัญหาได้ถูกทางหรือไม่เพราะเหตุใด
ข้อเสนอแนะ
1. ควรเพิ่มค่าตอบแทนหรือเงินเดือนให้เพียงพอกับค่าครองชีพและความจำเป็นขั้นพื้นฐานน่าจะดีที่สุด
2. การกู้ยืมเงิน มีหลายรูปแบบคิดว่าแก้ปัญหาถูกจุดหรือไม่ หรือส่งเสริมให้เกิดการกู้หนี้ยิมสินไม่สิ้นสุด
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์
มาตรฐาน ส.3.1 เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภคการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาระที่ 4 การอาชีพ
มาตรฐาน ง 4.1 เข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น มีประสบการณ์ เห็นแนวทางในงานอาชีพ ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพ มีคุณธรรม และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ
ที่มาของภาพ https://www4.csc.ku.ac.th/~b5240200297/7-15.jpg
ที่มาของภาพ https://www.trueplookpanya.com/data/product/media/KNOWLEDGE/picknowledge/132.jpg
ที่มาของภาพ https://www.trueplookpanya.com/data/product/media/KNOWLEDGE/picknowledge/133.jpg
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3088