ฮิวเลตต์-แพคการ์ด ส่งเครื่องพิมพ์ Photosmart Wireless e-All-in-One ตอบโจทย์ผู้ใช้ตามบ้าน รองรับงานพิมพ์ภาพระดับโปร ปริ้นท์ สแกน ทำสำเนาได้ง่ายโดยไม่ต้องเชื่อมต่อกับพีซี...
เพื่อรองรับกระแสความ ต้องการและใช้งานด้านการพิมพ์ภาพ รวมถึง การใช้งานแบบไร้สาย บริษัท ฮิวเลตต์-แพคการ์ด ประเทศไทย จำกัด หรือ เอชพี จึงเปิดตัวเครื่องพิมพ์ HP Photosmart Wireless e-All-in-One เพื่อการทำงานแบบไร้สาย ด้วยขนาดกะทัดรัด แยกตลับหมึก 4 สี รองรับงานพิมพ์ภาพถ่ายระดับมืออาชีพ ให้ภาพคมชัด สีสันสวยงาม ทั้งยังสามารถสั่งพิมพ์ สแกน หรือทำสำเนาได้โดยตรงจากเครื่องพิมพ์ โดยไม่ต้องเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี นอกจากนี้ ยังเพิ่มความคุ้มค่าให้ผู้ใช้ด้วย Photo Creation Software เพื่อตกแต่งภาพถ่ายด้วยตนเองได้อย่างครบครัน ตอบโจทย์งานพิมพ์ผู้ใช้ตามบ้านได้อย่างลงตัว โดยเครื่องพิมพ์ HP Photosmart Wireless มีวางจำหน่ายในราคา 4,200 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่ HP Contact Center โทร.0-2353-9000 ต่อ 1
ที่มา : https://www.thairath.co.th/content/tech/106886
เนื้อหา คณิตศาสตร์ ชั้น ม. 2
เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
จุดประสงค์ นักเรียนสามารถ
1. คำนวณหาภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้
2. มีทักษะในการปฎิบัติกิจกรรมทางคณิตศาสตร์
ตัวอย่างที่ 1 ในปี พ.ศ. 2550 แดงน้อย มีเงินได้สุทธิ 195,500 บาท แดงน้อยจะต้องจะต้องชำระภาษี
เงินได้เท่าไร
วิธีทำ จากตารางสำหรับคำนวณภาษีเงินได้สุทธิ 100,000 บาทแรกไม่ต้องเสียภาษี
เหลือเงินได้สุทธิที่ต้องเสียภาษี 195,500 – 100,000 = 95,500 บาท
เงินได้สุทธิ 95,500 บาท ต้องเสียภาษี 10% = |
= 9,550 บาท
ดังนั้น แดงน้อยต้องเสียภาษีเงินได้เป็นเงิน 9,550 บาท
ตัวอย่างที่ 2 ในปี พ.ศ. 2550 ดวงดาว มีเงินได้สุทธิ 718,000 บาท และถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
ไว้ 75,000 บาท ดวงดาวจะต้องชำระภาษีเพิ่มเติมหรือต้องได้รับเงินภาษีคืนอีกเท่าไร
วิธีทำ จากตารางสำหรับคำนวณภาษีเงินได้
เงินได้สุทธิ 1 ถึง 500,000 บาท เสียภาษีสะสมสูงสุดของขั้นเป็น 40,000 บาท
เหลือเงินได้สุทธิที่ต้องเสียภาษี 718,000 – 500,000 = 218,000 บาท
ซึ่งต้องเสียภาษีในอัตรา 20%
เงินได้สุทธิ 218,000 บาท ต้องเสียภาษี 10% = |
= 43,600 บาท
รวมภาษีที่ดวงดาวต้องชำระ 40,000 + 43,600 = 83,600 บาท
ดวงดาวถูกหักภาษี ณที่จ่ายไว้ 75,000 บาท
ดังนั้น ดวงดาวต้องชำระภาษีเพิ่มเติม 83,600 – 75,000 = 8,600 บาท
ที่มา : การะเกด วชิรัคกุล.แบบฝึกทักษะ ชุดที่ 9 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา.2550
https://gotoknow.org/blog/book2008/209943
ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน
ทำไม ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ในเมื่อพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่า เพิ่ม (ฉบับที่ 465) พ.ศ.2550 กำหนดให้ลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มและคงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 6.3
เนื่อง จากพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร จากอัตราร้อยละ 10.0 เป็นอัตราร้อยละ 6.3 ซึ่งตามพระราชบัญญัติจัดสรรรายได้ประเภทภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะ ให้แก่ราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2534 ประกอบกับพระราชบัญญัติรายได้เทศบาล (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2534 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2535 เป็นต้นไป มอบให้กรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มแทนราชการส่วนท้องถิ่น ในอัตรา 1 ใน 9 ของอัตราภาษีที่จัดเก็บ ดังนั้น กรมสรรพากรจึงจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 6.3 บวกกับภาษีที่ต้องจัดสรรให้แก่ราชการส่วนท้องถิ่นอีกในอัตรา 1 ใน 9 ของอัตราภาษีที่จัดเก็บ รวมเป็นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งสิ้นร้อยละ 7.0
นี่เองจึงเป็นที่มาของ ทำไมจึงต้อง 7 % ( ที่จริง 6.3 แต่ ท้องถิ่นเอาไปอีก 0.7 เลยกลายเป็น 7 นั่นเอง )
ที่มา : https://www.thaitaxinfo.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=5316277&Ntype=1
กิจกรรมเสนอแนะ
ครูอาจให้นักเรียนคำนวณจริงเพื่อช่วยในการตัดสินใจ การคำนวณภาษีเงินได้สุทธิที่กำหนดให้โดนดูจากตารางสำหรับคำนวณภาษีเป็นหลัก ครูอาจนำแบบยื่ยเสียภาษีเงินได้ ภ.ง.ด. 91 พร้อมคำชี้แจงมาแสดงให้นักเรียนเห็นรายละเอียดต่างๆมากกว่าที่อธิบายไว้อย่างย่อใหฃนหนังสือเรียนไดยไม่ต้องคำนวณรายละเอียดตามแบบ ภ.ง.ด. 91 ในทุกขั้นตอน
การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ
1 การงานอาชีพและเทคโนโลยี
2 สาระภาษาอังกฤษ
3 สังคมศึกษาศาสนาฯ
4 ภาษาไทย
อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
1 ข่าว : https://www.thairath.co.th/content/tech/106886
2 เนื้อหา : คู่มือครูคณิตศาสตร์ ม.2 (สสวท.) หน่วยที่1 เรื่องอัตราส่วนและร้อยละ
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3096