คลอรีนในสระน้ำ ... กับ Collection of Data


953 ผู้ชม


วิจัยเบื้องต้นพบ"คลอรีน" ในสระน้ำ ทำปฏิกิริยา-อาจก่อมะเร็ง   

วิจัยเบื้องต้นพบ"คลอรีน" ในสระน้ำ ทำปฏิกิริยา-อาจก่อมะเร็ง

 
สระว่ายน้ำทั่วไปที่คนนิยมไปว่ายเป็น "สระคลอรีน" ที่ใช้สารคลอรีนเป็นตัวฆ่าเชื้อโรค แต่จากการเก็บตัวอย่างศึกษาในสเปนเผยให้เห็นว่า การว่ายน้ำในสระคลอรีนทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งมากขึ้น อย่างไรก็ตาม

คลอรีนในสระน้ำ ... กับ Collection of Dataนักวิจัยไม่ได้สรุปว่าทุกคนควรหยุดว่ายน้ำ เพราะการศึกษาชิ้นนี้ยังจำกัดอยู่ในวงแคบ และเพียงแค่พบตัวบ่งชี้ที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งในกระแสเลือด ไม่ใช่พบการเพิ่มขึ้นของเซลล์มะเร็งเอง

งานวิจัยดังกล่าวตีพิมพ์ในวารสารเอนไวรอนเมนทัล เฮลท์ เพอร์สเป๊กทีฟ เขียนโดยมาโนลิส โคเจวินาส นักระบาดวิทยาศูนย์วิจัยระบาดวิทยาสิ่งแวดล้อมในนครบาร์เซโลน่าประเทศสเปน ได้จากการเก็บตัวอย่าง

สารเคมีจากสระคลอรีนหลายแห่ง ซึ่งพบบายโพรดักต์ หรือสารเคมีกว่าร้อยชนิด ที่เกิดจากคลอรีนทำปฏิกิริยากับเชื้อโรคและสิ่งสกปรก ส่วนใหญ่มีพิษ และบางชนิดไม่เคยพบมาก่อน ทั้งในสระและในน้ำดื่มที่ฆ่า

เชื้อด้วยคลอรีน

นักวิจัยยังเก็บตัวอย่างตัวบ่งชี้มะเร็งในเลือด ในปัสสาวะและลมหายใจของผู้ใหญ่สุขภาพดี 50 คนที่ว่ายน้ำนาน 40 นาที ทั้งก่อนและหลังว่ายน้ำ พบสัญญาณบ่งชี้ในระดับดีเอ็นเอมีการถูกทำลาย ซึ่งนำไปสู่การเกิดมะเร็งได้และพบว่าในสระมีบายโพรดักต์ 4 ตัวที่พบทั่วไป มีความเข้มข้นมากขึ้น 4 เท่า บายโพร ดักต์จะเข้าสู่ร่างกายคนเราผ่านทางผิวหนังและการหายใจเอาอากาศเหนือน้ำ ยิ่งว่ายเร็วยิ่งหายใจเร็วยิ่งสัมผัสสารพิษมากขึ้น

"คลอรีนเป็นยาฆ่าเชื้อโรคที่ยอดเยี่ยม กำจัดความสกปรกในน้ำที่เกิดจากเหงื่อคราบไคล ปัสสาวะและเชื้อโรคต่างๆ แม้ว่าหลายปีที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์จะเป็นห่วงว่ามันอันตรายหรือไม่ เพราะจากการทดลองในสัตว์พบว่าสารเคมีที่เกิดขึ้นหลังคลอรีนไปจับเชื้อโรคทำให้ เกิดโรคหอบหืดและมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ คนไม่ควรจะกลัวการว่ายน้ำ แต่เราควรจะทำวิจัยมากขึ้นว่าจะมีวิธีกำจัดเชื้อในสระว่ายน้ำอย่างอื่นที่ดีกว่าหรือไม่" โคเจวินาส กล่าว
ที่มาของข้อมูล https://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROMFpXTXdNVEl3TURrMU13PT0=&sectionid=TURNeU5nPT0=&day=TWpBeE1DMHdPUzB5TUE9PQ==
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง การรวบรวมข้อมูล(Collection of Data)
การรวบรวมข้อมูลทำได้หลายวิธี  ดังนี้ 
1. การสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง  
2. การบันทึกข้อมูลจากจากบันทึกหรือเอกสารของหน่วยงานต่างๆ
3. การอ่านและศึกษาค้นคว้า 
4. การค้นหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต
5. การเข้าร่วมในเหตุการณ์ต่างๆ
6. การฟังวิทยุและดูโทรทัศน์ 
ที่มาของข้อมูล https://school.obec.go.th/noonkuschool/multimedai/reubrumkomul.php

ความหมายและประเภทข้อมูล

ข้อมูล หมายถึงข้อเท็จจริงที่เป็นตัวเลข  ข้อความ  รูปภาพ  เสียง  ที่เกี่ยวกับคน  สัตว์  สิ่งของ  หรือเหตุการณ์ต่างๆ  หรือสิ่งที่ยอมรับว่าเป็นความจริง  สำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริงหรือการคำนวณ 

ประเภทของข้อมูล   แบ่งออกเป็น  4  ประเภท  ดังนี้
1. ข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ  คือข้อมูลที่ประกอบด้วยตัวอักษร  และตัวเลขที่ไม่ใช้ในการคำนวณ เช่น  ทะเบียนรถยนต์  หมายเลขโทรศัพท์  บ้านเลขที่  ชื่อ นามสกุล
2. ข้อมูลที่เป็นตัวเลข  คือข้อมูลที่ประกอบด้วย ตัวเลข  0 - 9  ที่ใช้ในการคำนวณได้ เช่นผลคะแนนการสอบ  จำนวนเงิน  ราคาของสินค้า
3. ข้อมูลที่เป็นรูปภาพ  คือข้อมูลที่เป็นภาพ  อาจเป็นภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว  ภาพลายเส้น  ภาพถ่าย ภาพจากวิดิทัศน์
4. ข้อมูลที่เป็นเสียง  คือข้อมูลที่ประสาทสัมผัสทางหูรับรู้ได้  เช่นเสียงเพลง  เสียงนกร้อง  บทสัมภาษณ์ หรือเสียงจากสิ่งต่างๆเป็นต้น

ประโยชน์ของข้อมูล
คลอรีนในสระน้ำ ... กับ Collection of Data1. ช่วยให้เราทราบข้อมูลที่แท้จริง
2. ช่วยให้เราสามารถตัดสินใจบนฐานข้อมูลที่ถูกต้อง
ที่มาของข้อมูลhttps://school.obec.go.th/noonkuschool/multimedai/komul.php

แหล่งข้อมูลมีหลายแหล่ง  แบ่งให้เป็นประเภทใหญ่ๆได้  2  ประเภท
1.  แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ  หรือแหล่งข้อมูลเบื้องต้น  เราสามารถเก็บข้อมูลได้โดยตรง
2.  แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ  เป็นแหล่งข้อมูลที่ผู้อื่นรวบรวมไว้แล้ว  เช่นหนังสือพิมพ์  ผลการวิจัย  โทรทัศน์

วิธีการที่ให้ได้ข้อมูลที่เที่ยงตรงและเชื่อถือได้
คือการศึกษาค้นคว้าข้อมูลหลายๆ แหล่ง  แล้วนำมาวิเคราะห์และตัดสินใจว่า  ข้อมูลนั้นๆ  ถูกต้องหรือไมดังนี้๋๋๋๋๋๋๋๋๋๋๋๋
1.  การพูดคุย  สนทนา  บอกเล่าสืบต่อกัน  ข้อมูลจากวิธีนี้อาจมีทั้งข้อมูลจริงและมีการใส่ความคิดของตนเพิ่มเติม
2. การดูโทรทัศน์ เป็นข้อมูลที่เผยแพร่ได้รวดเร็ว    เป็นรูปธรรม  เห็นภาพ เหตุการณ์ต่างๆได้ชัดเจนเป็นจริง
3. การอ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์  วารสารต่างๆ  ผู้อ่านต้องศึกษาแล้วนำมาวิเคราะห์ความเป็นไปได้  ความน่าเชื่อถือ  ไม่ยึดถือข้อมูลเพียงฉบับใดฉบับหนึ่ง  ควรหาข้อมูลจากหลายๆฉบับ
ที่มาของข้อมูล https://school.obec.go.th/noonkuschool/multimedai/langkomul.php

การเก็บรวบรวมข้อมูล  สถิติ อีกความหมายหนึ่งหมายถึงหลักการและระเบียบวิธีการทางสถิติ (Statistical Methods) ซึ่งได้แก่การเก็บรวบรวมข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและการตีความหมาย
ของข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collection)
การเก็บรวบรวมข้อมูลทางสถิติ มักจะสนใจเก็บข้อมูลในลักษณะที่เป็นตัวเลขหรือคะแนน โดยได้ข้อมูลจากการบันทึก นับ วัดหรือประมาณค่าของสิ่งที่จะศึกษาด้วยการใช้เครื่องมือชนิดต่าง ๆ เช่น แบบสอบถาม 
แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ แบบลงทะเบียน แบบการทดลอง เป็นต้น  ดังนั้นการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การรวบรวมข้อเท็จจริงโดยทำเป็นตัวเลขข้อมูลภายใต้ขอบข่ายของโครงการที่กำหนดไว้นั่นเอง

วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งออกเป็น 4 วิธีใหญ่ ๆ ซึ่งจะเลือกใช้วิธีใดนั้น ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการศึกษาและลักษณะของข้อมูลเหล่านั้น ดังนี้
1. วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลจากทะเบียนประวัติ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งที่มีข้อมูลเหล่านั้น อยู่แล้วทั้งภาครัฐและภาคเอกชนโดยการเก็บข้อมูลจากทะเบียนต่าง ๆ ของหน่วยงาน เช่น ในสถานศึกษานักเรียน
ทุกคนต้องทำทะเบียนประวัติ โดยมีชื่อ ที่อยู่ วัน เดือน ปี เกิด ชื่อผู้ปกครอง ที่อยู่ตามสำเนาทะเบียนบ้าน ชื่อบิดา มารดาที่อยู่ปัจจุบันที่สามารถติดต่อได้ ที่อยู่ของเพื่อข้างเคียง สถานศึกษาเดิม เป็นต้น หรือใน
โรงพยาบาลคนไข้ทุกคนต้องทำทะเบียนประวัติ โดยมี ชื่อ ที่อยู่ วัน เดือน ปีเกิด ที่อยู่ติดต่อได้ น้ำหนัก ความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือก การแพ้ยา ฯลฯข้อมูลที่เก็บรวบรวมโดยวิธีนี้จะมีความเชื่อถือได้มาก ถ้าการเก็บรวบรวมข้อมูลทำอย่างครบถ้วน และผู้ให้ข้อมูลให้ข้อมูลตามความเป็นจริง เป็นวิธีที่ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย
2. วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสำรวจ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจซึ่งผู้ทำการสำรวจได้จัดเตรียมไว้ล่วงหน้า อาจทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่นิยมคือ การส่งเจ้าหน้าที่ถือแบบสำรวจไปสัมภาษณ์ผู้ที่
เกี่ยวข้องกับข้อมูลโดยตรง เช่น เจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม เจ้าของกิจการที่ทำมาค้าขึ้น หรืออาจสำรวจโดยตั้งกระทู้ถามโดยผู้สำรวจเป็นผู้ส่งแบบสอบถามไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง กับข้อมูลเพื่อให้ตอบคำถามต่าง ๆ แล้วส่งกลับคืนมายังผู้ทำการสำรวจ ซึ่งแบบสำรวจจะต้องเหมาะสมและอ่านเข้าใจง่าย การเก็บรวบรวมข้อมูลแบบนี้รวมถึงการทำสำมะโนซึ่งเกี่ยวกับ ประชากร เคหะสถาน การเกษตร และการอุตสาหกรรมด้วย ซึ่งการทำสำมะโนหมายถึงการ เก็บรวบรวมข้อมูลจากทุก ๆ หน่วยในประชากรภายในขอบเขตของเรื่องที่เราสนใจศึกษา เช่น การสำมะโนเกษตรในจังหวัดนครราชสีมา ก็จะสอบถามครัวเรือนเกษตรทุกครัวเรือนในจังหวัดนครราชสีมาเกี่ยวกับเนื้อที่เพาะปลูกพืชที่เพาะปลูก จำนวนปุ๋ยที่ใช้ ผลผลิตที่ได้ เป็นต้น การสำมะโนจะใช้เวลา แรงงานและใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก

ข้อดีของการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสำรวจ
1. ทำได้บ่อย
2. ค่าใช้จ่ายน้อย (ยกเว้นการสำมะโน)
3. ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพ
4. รวบรวมข้อมูลที่สลับซับซ้อนได้
5. ประมวลข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว

ข้อเสียของการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสำรวจ
1. ไม่สามารถจำแนกข้อมูลในรายละเอียดได้มากนัก
2. ข้อมูลจากการสุ่มตัวอย่างอาจมีความคลาดเคลื่อน
3. วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลจากการทดลอง เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นผลจากการทดลอง โดยอาจเป็นการทดลองทางวิทยาศาสตร์ในห้องปฏิบัติการ การทดลองทางการแพทย์ การทดลองทางการเกษตรใน
แปลงทดลอง การทดสอบความเร็วในสนามแข่งขัน เช่น การทดลองหาประสิทธิภาพของยาชนิดหนึ่งในการรักษาโรคเอดส์ การทดลองเปรียบเทียบพันธุ์ข้าว ซึ่งปลูกไว้เป็นแปลง การทดลองสมรรถภาพของนักเรียนในด้านพลศึกษา การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการทดลอง จะมีความเชื่อถือได้มาก ถ้าการทดลองและการวัดผลการทดลองทำอย่างถูกต้อง
4. วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกต การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีนี้ผู้ทำการสำรวจต้องทำการจดบันทึกจากสิ่งที่พบเห็นในการสังเกต เช่น จดบันทึกจำนวนผู้ใช้รถยนต์ในถนนสายต่าง ๆ จนบันทึกผู้ใช้ห้องสมุด
ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในวันหนึ่ง ๆ เป็นต้น 
ที่มาของข้อมูล https://202.143.159.117/learnsquare/courses/1/Unit17_03.htm

การเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์        
          การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการวิจัยที่มีความสำคัญ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ตอบสนองวัตถุประสงค์ของการวิจัย และสอดคล้องกับกรอบแนวความคิด สมมุติฐานการวิจัย เทคนิค
การวัด และการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งหมายรวมทั้ง การเก็บข้อมูล (Data Collection) คือ การเก็บข้อมูลขึ้นมาใหม่ และการรวบรวมข้อมูล (Data Compilation) ซึ่งหมายถึง การนำเอาข้อมูลต่างๆที่ผู้อื่นได้เก็บไว้แล้ว หรือรายงานไว้ในเอกสารต่างๆ มาทำการศึกษาวิเคราะห์ต่อ

คลอรีนในสระน้ำ ... กับ Collection of Dataประเภทของข้อมูล
          ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวแปรที่สำรวจโดยใช้วิธีการวัดแบบใดแบบหนึ่ง โดยทั่วไปจำแนกตามลักษณะของข้อมูลได้เป็น 2 ประเภท คือ
          1) ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data) คือ ข้อมูลที่เป็นตัวเลขหรือนำมาให้รหัสเป็นตัวเลข ซึ่งสามารถนำไปใช้วิเคราะห์ทางสถิติได้
          2) ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data) คือ ข้อมูลที่ไม่ใช่ตัวเลข ไม่ได้มีการให้รหัสตัวเลขที่จะนำไปวิเคราะห์ทางสถิติ แต่เป็นข้อความหรือข้อสนเทศ


แหล่งที่มาของข้อมูล
          แหล่งข้อมูลที่สำคัญ ได้แก่ บุคคล เช่น ผู้ให้สัมภาษณ์ ผู้กรอกแบบสอบถาม บุคคลที่ถูกสังเกต เอกสารทุกประเภท และข้อมูลสถิติจากหน่วยงาน รวมไปถึง ภาพถ่าย แผนที่ แผนภูมิ หรือแม้แต่วัตถุ สิ่งของ ก็ถือเป็นแหล่งข้อมูลได้ทั้งสิ้น โดยทั่วไปสามารถจัดประเภทข้อมูลตามแหล่งที่มาได้ 2 ประเภท คือ
          1) ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) คือ ข้อมูลที่ผู้วิจัยเก็บขึ้นมาใหม่เพื่อ ตอบสนองวัตถุประสงค์การวิจัยในเรื่องนั้นๆ โดยเฉพาะ การเลือกใช้ข้อมูลแบบปฐมภูมิ ผู้วิจัยจะสามารถเลือกเก็บข้อมูลได้ตรงตามความต้องการและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ตลอดจนเทคนิคการวิเคราะห์ แต่มีข้อเสียตรงที่สิ้นเปลืองเวลา ค่าใช้จ่าย และอาจมีคุณภาพไม่ดีพอ หากเกิดความผิดพลาดในการเก็บข้อมูลภาคสนาม
          2) ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) คือ ข้อมูลต่างๆ ที่มีผู้เก็บหรือรวบรวมไว้ก่อนแล้ว เพียงแต่นักวิจัยนำข้อมูลเหล่านั้นมาศึกษาใหม่ เช่น ข้อมูลสำมะโนประชากร สถิติจากหน่วยงาน และเอกสารทุกประเภท ช่วยให้ผู้วิจัยประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องเสียเวลากับการเก็บข้อมูลใหม่ และสามารถศึกษาย้อนหลังได้ ทำให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ที่ศึกษา แต่จะมีข้อจำกัดในเรื่องความครบถ้วนสมบูรณ์ เนื่องจากบางครั้งข้อมูลที่มีอยู่แล้วไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ของเรื่องที่ผู้วิจัยศึกษา และปัญหาเรื่องความ น่าเชื่อถือของข้อมูล ก่อนจะนำไปใช้จึงต้องมีการปรับปรุงแก้ไขข้อมูล และเก็บข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งอื่นในบางส่วนที่ไม่สมบูรณ์

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล อาจแบ่งเป็นวิธีการใหญ่ๆ ได้ 3 วิธี คือ
          1) การสังเกตการณ์ (Observation) ทั้งการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) และการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม (Non-participant Observation) หรืออาจจะแบ่งเป็น การสังเกตการณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Observation) และการสังเกตการณ์แบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Observation)
          2) การสัมภาษณ์ (Interview) นิยมมากในทางสังคมศาสตร์ โดยเฉพาะการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) หรืออาจจะจำแนกเป็นการ
สัมภาษณ์เป็นรายบุคคล และการสัมภาษณ์เป็นกลุ่ม เช่น เทคนิคการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ซึ่งนิยมใช้กันมาก
          3) การรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร เช่น หนังสือ รายงานวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความ สิ่งพิมพ์ต่างๆ เป็นต้น

ขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล
          1) กำหนดข้อมูลและตัวชี้วัด
          2) กำหนดแหล่งข้อมูล
          3) เลือกกลุ่มตัวอย่าง
          4) เลือกวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
          5) นำเครื่องมือรวบรวมข้อมูลไปทดลองใช้
          6) ลงมือเก็บรวบรวมข้อมูล

ประเภทของเครื่องมือรวบรวมข้อมูล
          ตัวอย่างเช่น แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินค่าและมาตรวัดเจตคติ และแบบวัดอื่นๆ

ที่มาของข้อมูล https://www.spu.ac.th/~patrapan/Tip10.htm
คำถามในห้องเรียน
1. จากข้อความ "การเก็บตัวอย่างการว่ายน้ำในสระคลอรีนทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง" นักเรียนคิดว่าเป็นการเก็บรวบรวมประเภทใดและแหล่งข้อมูลมีเพียงพอหรือไม่
2. จากข้อความ "ผลการวิจัย เก็บตัวอย่างตัวบ่งชี้มะเร็งในเลือด ในปัสสาวะและลมหายใจทั้งก่อนและหลังว่ายน้ำพบสัญญาณบ่งชี้ในระดับดีเอ็นเอมีการถูกทำลาย ซึ่งนำไปสู่การเกิดมะเร็ง" นักเรียนคิดว่าเป็นการ
เก็บรวบครบทุกขั้นตอนหรือไม่ร่วมกันอภิปราย

ข้อเสนอแนะ
1. นักเรียนคิดว่าจากข่าวข้างต้นเป็นแหล่งที่มาของข้อมูลประเภท ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) หรือข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) เพราะเหตุใด

การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ 
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ 
สาระที่ 3  ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
มาตรฐาน ต 3.1 ใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และเป็นพื้นฐานในการพัฒนา  แสวงหาความรู้  และเปิดโลกทัศน์ของตน
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
สาระที่  4   การสร้างเสริมสุขภาพ  สมรรถภาพและการป้องกันโรค
มาตรฐาน พ 4.1 เห็นคุณค่าและมีทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพ  การดำรงสุขภาพ การป้องกันโรคและการสร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพ

ที่มาของภาพ https://friendship.ob.tc/picture/12491/1249100567friendship.jpg
ที่มาของภาพ https://orchidsthailand.212cafe.com/user_blog/orchidsthailand/17.JPG
ที่มาของภาพ https://1.3qdc.com/old/sakid/2006/06/cat-swim.jpg

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3181

อัพเดทล่าสุด