1 บาท ราคา 2 แสนบาท ... กับ Number and Numeral


651 ผู้ชม


ราคาสูงสุดคือเลขตอง 0 คือธนบัตรที่มีเลข 0 ทุกตัว ซึ่งอาจมีตั้งแต่เลข 0 จำนวน 5 ตัว หรือมากกว่านั้น แล้วแต่จำนวนธนบัตรที่จัดพิมพ์แต่ละครั้ง   

1 บาท ราคา 2 แสนบาท

         บรรดาธนบัตรรัฐบาลทุกยุคทุกสมัยนั้น ทุกชนิดราคา ที่มีราคาสูงสุดคือเลขตอง 0 คือธนบัตรที่มีเลข 0 ทุกตัว ซึ่งอาจมีตั้งแต่เลข 0 จำนวน 5 ตัว หรือ พิมพ์ธนบัตรแบบใหม่ สมัยรัชกาลที่ 8 ขึ้นมา   ใช้เป็นครั้งแรก รวม 5 ชนิดราคา คือ 1 บาท 5 บาท 10 บาท 20 บาท และ 1000 บาท มากกว่านั้น แล้วแต่จำนวนธนบัตรที่จัดพิมพ์แต่ละครั้ง     
         ธนบัตรที่มีราคารองลงมาคือเลขตองที่เลขเหมือนกัน ตั้งแต่เลข 1 เลข 2 เลข 3 เลข 4 เลข 5 เลข 6 เลข 7 เลข 8 จนถึงเลข 9 ธนบัตรเลขตองดังกล่าวนั้นเป็นที่ต้องการของนักสะสมธนบัตรซึ่งมีเล่นกันทั่วโลก    
        ธนบัตรเลขตอง 0 นั้นจะไม่มีการนำออกใช้ในท้องตลาด พิมพ์ขึ้นมาเป็นตัวอย่างในแต่ละรุ่นที่เพิ่งผลิตออกมาเพื่อเป็นตัวอย่างให้แก่ คลังจังหวัด ธนาคาร
ต่าง ๆ ได้นำใช้เพื่อเป็นแบบอย่าง    
        รวมทั้งทูลเกล้าฯถวายให้แก่ ในหลวง สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ และ พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง รวมทั้งบุคคลสำคัญในขณะนั้นด้วย    
         ธนบัตรตัวอย่างเหล่านี้ รุ่นแรกจะพิมพ์ตัวอักษรภาษาอังกฤษว่า SPECIMEN พร้อมทั้งหมายเลขของแต่ละฉบับไว้ที่หมวดเลขด้านหน้าหมายเลขธนบัตร 
ซึ่งพิมพ์ตัวเลขแตกต่างกันแต่ละฉบับ   
ธนบัตรตัวอย่างเหล่านี้จึงมีราคาแพงมากเพราะผลิตน้อย
ธนบัตรรุ่นนี้ลวดลายสีพื้นและมีเส้นนูน ใช้กระดาษมีลายน้ำเป็นรูปรัฐธรรมนูญประดิษฐ์เหนือพานแว่นฟ้าอยู่ภายในวงกลมสีขาว  ด้านหน้าธนบัตรยังใช้คำว่า “รัฐบาลสยาม” มีพระบรมฉายาลักษณ์ ร.8 บอกชนิดราคา 1 บาท และมีรูปวัดพระในภาพบนมือเป็นธนบัตรชนิดราคา 1 บาท แบบ 4 (โทมัส)
          ธนบัตรรุ่นนี้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดีเสด็จขึ้นครองราชสมบัติในปี พ.ศ. 2477    
         ธนบัตรแบบ 3 ที่เหลืออยู่นั้น กระทรวงการคลังนำออกใช้จนหมด จึงจะนำแบบ 4 ออกใช้ แล้วสั่งให้ บริษัท โทมัส เดอ ลา รู ของอังกฤษ ออกแบบและ สมุทรเจดีย์ หรือ เจดีย์กลางน้ำที่สมุทรปราการ  ด้านหลังเป็นรูปพระที่นั่งอนันตสมาคม
          ธนบัตรรุ่นนี้ ออกประกาศใช้เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2481 ธนบัตรมีขนาดกว้าง 6.5 ซม. ยาว 12.5 ซม. ได้มีการนำธนบัตรตอง 0 ฉบับนี้ออกประมูลเมื่อเร็ว ๆ นี้ มีผู้ให้ราคาสูงถึง 2 แสนบาท
          ส่วนชนิดราคา 20 บาท (ล่าง) เป็นธนบัตรแบบ 4 เช่นเดียวกับชนิดราคา 1 บาท จะแตกต่างตรงชนิดราคา 20 บาทมีสีเขียว ด้านหน้าเป็นรูปพระที่นั่งดุสิ
ตาภิรมย์กับพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ด้านหลังเป็นรูปพระที่นั่งอนันตสมาคม ธนบัตรราคา 20 บาทนี้ตั้งราคาไว้ 2 แสนบาทเช่นเดียวกัน

1 บาท ราคา 2 แสนบาท ... กับ Number and Numeral

ที่มาของข้อมูล https://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=536&contentId=94154 

คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง 
ความหมายของจำนวนและตัวเลข   
        จากหลักฐานร่องรอยทางโบราณคดี พบว่า แต่เดิมนั้นมนุษย์อาศัยอยู่ในถ้ำ มีภาพเขียนเป็นรูปคน รูปสัตว์ป่า อาวุธและเครื่องใช้ มีร่องรอยการขีดที่
ผนังถ้ำ แผ่นหินและพื้นดิน ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นการบอกจำนวนสมาชิกในครอบครัว บอกจำนวนสัตว์ที่ล่ามาได้ หรือที่เลี้ยงไว้ จึงสันนิษฐานว่า การนับสิ่งของในสมัยเริ่มแรกใช้วิธีจับคู่แบบหนึ่งต่อหนึ่งกับสิ่งต่าง ๆ เช่น การจับคู่กับนิ้วมือ จับคู่กับก้อนหิน จับคู่กับปมเชือก จับคู่กับรอยขีดบนหินหรือท่อนกระดูก เป็นต้น 
      ความจำเป็นของมนุษย์ในการสื่อสารบอกปริมาณ มนุษย์จึงมีแนวคิดเรื่องจำนวน (Number) เพื่อบอกปริมาณว่ามีมากหรือน้อย เช่น มีคนกลุ่มหนึ่ง
กับม้าฝูงหนึ่ง ถ้าจับคู่คนหนึ่งคนกับม้าหนึ่งตัวได้หมดพอดี จะถือว่าจำนวนคนกับจำนวนม้ามีเท่ากัน แต่ถ้าจับคู่แล้วยังเหลือคนที่ไม่มีม้าจับคู่ก็แสดงว่า จำนวนคนมากกว่าจำนวนม้า 
     จำนวนเป็นนามธรรมที่มนุษย์ทุกภาษามีความเข้าใจตรงกัน แต่มีการใช้ภาษาเพื่อบอกจำนวนเดียวกัน แตกต่างกันออกไป เช่น มีส้มวางเรียงกันดังนี้  
     ในการบอกจำนวนส้มข้างต้น ภาษาไทยใช้คำว่า ห้า เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ ๕ 
     ภาษาอังกฤษใช้คำว่า five เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ 5 
     สัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแทนจำนวน เรียกว่า ตัวเลข (Numeral)  
            จำนวน (Number) หมายถึง ปริมาณความมากหรือน้อยของสิ่งต่าง ๆ จำนวนเป็นนามธรรม ซึ่งมนุษย์ทุกชาติ ทุกภาษามีความเข้าใจตรงกัน แต่ภาษาที่ใช้บอกจำนวนอาจแตกต่างไปตามชนชาตินั้น ๆ 
            ตัวเลข (Numeral) หมายถึง สัญลักษณ์ที่เขียนแทนจำนวน จำนวนหนึ่ง ๆ เขียนแทนได้ด้วยตัวเลขต่าง ๆ กัน เช่น จำนวน “ สอง ” อาจเขียน
แทนด้วยตัวเลข 2, ๒ II หรือ  ก็ได้ 
ที่มาของข้อมูล 
https://202.143.159.117/learnsquare/courses/1/Unit01_part01_Count01_01.htm
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่ 
https://202.143.159.117/learnsquare/courses/1/Unit01_part01_Count01_02.htm
https://202.143.159.117/learnsquare/courses/1/Unit01_part01_Count01_03.htm
https://202.143.159.117/learnsquare/courses/1/Unit01_part01_Count01_04.htm
https://202.143.159.117/learnsquare/courses/1/Unit01_part01_Count01_05.htm
https://202.143.159.117/learnsquare/courses/1/Unit01_part01_Count01_06.htm

คำถามในห้องเรียน
1. นักเรียนคิดว่า จำนวนธนบัตรที่จัดพิมพ์แต่ละครั้ง ธนบัตรที่มีเลข 0 ทุกตัว จำนวน 5 ตัว มีมากน้อยขึ้นอยู่กับสิ่งใด อธิบาย
2. ธนบัตรที่มีเลขตองตั้งแต่เลข 1 เลข 2 เลข 3 เลข 4 เลข 5 เลข 6 เลข 7 เลข 8 จนถึงเลข 9  ขึ้นอยู่กับจำนวนธนบัตรที่จัดพิมพ์แต่ละครั้งหรือไม่เพราะเหตุใด

ข้อเสนอแนะ
1. ธนบัตรรัฐบาลทุกยุคทุกสมัยมีค่ามีราคาที่สำคัญมีคุณค่าทางจิตใจ

การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ 
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา และวัฒนธรรม
สาระที่ 4  ประวัติศาสตร์
มาตรฐาน ส 4.1  เข้าใจความหมาย  ความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์  สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ  
อย่างเป็นระบบกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาระที่ 1   การดำรงชีวิตและครอบครัว 
มาตรฐาน ง 1.1 เข้าใจการทำงาน  มีความคิดสร้างสรรค์  มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะการจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา  ทักษะการทำงาน
ร่วมกัน และทักษะการแสวงหาความรู้  มีคุณธรรมและลักษณะนิสัยในการทำงาน  มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน  ทรัพยากร  และสิ่งแวดล้อมเพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว
ที่มาของภาพ https://www.dailynews.co.th/content/images/1009/26/newspaper/P20_meet_url.jpg

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3199

อัพเดทล่าสุด