นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (กคศ.) มีข้อเสนอกรอบอัตรากำลังกคศ. ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามมาตรา 38 ค.(2)
กคศ. ชงกรอบอัตรากำลังครูในพื้นที่
นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (กคศ.) มีข้อเสนอกรอบอัตรากำลังกคศ. ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามมาตรา 38 ค .(2) ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) และเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา มีการนำเสนอกรอบอัตรากำลังดังนี้
1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) คือ สพม.กรุงเทพฯ เขต 1 และ เขต 2 ให้มีอัตรากำลังเขตละ 62 ตำแหน่ง โดยมีตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ จำนวน 14 ตำแหน่ง สพม.เขต 3 ถึง เขต 42 ให้มีอัตรากำลังเขตละ 39 ตำแหน่ง มีตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ จำนวน 13 ตำแหน่ง ให้คงกรอบอัตรากำลังนี้เป็นเวลา 1 ปี และให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เสนอขอทบทวนกรอบอัตรากำลังตามภาระงานต่อไป
2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) คือ สพป.กรุงเทพมหานคร ให้มีอัตรากำลัง 62 ตำแหน่ง โดยมีตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษได้ 14 ตำแหน่ง ให้สพฐ. ปรับเกลี่ยอัตรากำลังในสพป.ได้ โดยการตัดโอนตำแหน่งและอัตราเงินเดือนไม่เกินร้อยละ 30 ไปกำหนดในสพม.และเสนอขอทบทวนกรอบอัตรากำลังของ สพป. ตามภาระงานที่เปลี่ยนแปลงไปตามกฎหมาย พร้อมทั้งเสนอแผนระยะ 3 ปี เพื่อปรับลดอัตรากำลังบุคลากรในสพป. ร้อยละ 30 ในระยะเวลา 1 ปี อย่างไรก็ดี ในการประชุม ก.ค.ศ. ครั้งต่อไปน่าจะได้กรอบอัตรากำลังที่สมบูรณ์ที่สุด
ที่มาของข้อมูล https://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObFpIVXdNakk0TURrMU13PT0=§ionid=TURNeE5RPT0=&day=TWpBeE1DMHdPUzB5T0E9PQ==
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
การนำเสนอข้อมูล
การนำเสนอข้อมูล หมายถึง การสื่อสารเพื่อเสนอข้อมูล ความรู้ ความคิดเห็น หรือความต้องการไปสู่ผู้รับสาร โดยใช้เทคนิคหรือวิธีการต่าง ๆ
ความสำคัญของการนำเสนอ
ในปัจจุบันนี้การนำเสนอเข้ามามีบทบาทสำคัญในองค์กรทางธุรกิจทางการเมือง ทางการศึกษา หรือแม้แต่หน่วยงานของรัฐทุกแห่งก็ต้องอาศัยวิธีการนำเสนอเพื่อสื่อสารข้อมูลเสนอความเห็น เสนอขออนุมัติ หรือเสนอข้อสรุปผลการดำเนินงานต่าง ๆ กล่าวโดยสรุปการนำเสนอมีความสำคัญ ต่อการปฏิบัติงานทุกประเภท เพราะช่วยในการตัดสินใจในการดำเนินงาน ตลอดจนเผยแพร่ความก้าวหน้าของงานต่อผู้บังคับบัญชาและบุคคลผู้ที่สนใจ
จุดมุ่งหมายในการนำเสนอ
1. เพื่อให้ผู้รับสารรับทราบความคิดเห็นหรือความต้องการ
2. เพื่อให้ผู้รับสารพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
3. เพื่อให้ผู้รับสารได้รับความรู้จากข้อมูลที่นำเสนอ
4. เพื่อให้ผู้รับสารเกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง
ประเภทของการนำเสนอ
ประเภทของการนำเสนอแบ่งอย่างกว้าง ๆ มี 2 รูปแบบ ดังนี้
1. การนำเสนอเฉพาะกลุ่ม
2. การนำเสนอทั่วไปในที่สาธารณะ
ลักษณะของข้อมูลที่นำเสนอ
ข้อมูลที่จะนำเสนอแบ่งออกตามลักษณะของข้อมูล ได้แก่
1. ข้อเท็จจริง หมายถึง ข้อความที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ เรื่องราวที่เป็นมาหรือเป็นอยู่ตามความจริง
2. ข้อคิดเห็น เป็นความเห็นอันเกิดจากประเด็นหรือเรื่องราวที่ชวนให้คิด ข้อคิดเห็นมีลักษณะต่าง ๆ กัน
ประเภทของการนำเสนอข้อมูล
1. ฮิสโตแกรม
https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet2/knowledge_math/histogram.htm
2. กราฟแท่ง
https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet2/knowledge_math/bar.htm
3. กราฟวงกลม(pie chart)
https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet2/knowledge_math/pie.htm
4. กราฟ Scattering
https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet2/knowledge_math/scattering.htm
5. การนำเสนอข้อมูลแบบอนุกรม (time series)
https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet2/knowledge_math/time_series.htm
6. กราฟ HI - LO
https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet2/knowledge_math/hi-lo.htm
7. การนำเสนอข้อมูลแบบอนุกรม (time series)
https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet2/knowledge_math/time_series.htm
ที่มาของข้อมูลhttps://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5
การนำเสนอข้อมูล
การนำเสนอข้อมูล เป็นการนำข้อมูลที่รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการศึกษามานำเสนอ หรือทำการเผยแพร่ให้ผู้ที่สนใจได้รับทราบ หรือนำไปวิเคราะห์เพื่อไปใช้ประโยชน์ แบ่งออกได้ 2 ลักษณะ คือ
1. การนำเสนออย่างไม่เป็นแบบแผน
1.1. การนำเสนอในรูปของบทความ
1.2. การนำเสนอข้อมูลในรูปของข้อความกึ่งตาราง เป็นการนำเสนอข้อมูลที่มีข้อความและมีส่วนหนึ่งนำเสนอข้อมูลด้วยตาราง
2. การนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นแบบแผน
ที่มาของข้อมูล https://it.thanyarat.ac.th/stat/ch2.aspx
แบบฝึกหัด https://it.thanyarat.ac.th/stat/exch2.aspx
แบบทดสอบการนำเสนอข้อมูล ชุดที่ 1 https://www.netcolony.com/thanuphut/test1.htm
คำถามในห้องเรียน
คำชี้แจง ให้นักเรียนนำข้อมูลต่อไปนี้ ตอบคำถามข้อ 1 - ข้อ 2
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) คือ สพม.กรุงเทพฯ เขต 1 62 ตำแหน่ง สพม.กรุงเทพฯ เขต 2 62 ตำแหน่ง สพม.เขต 3 ถึง เขต 42 ให้มีอัตรากำลังเขตละ 39 ตำแหน่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) สพป.กรุงเทพมหานคร ให้มีอัตรากำลัง 62 ตำแหน่ง
1. ให้นักเรียนนำเสนอข้อมูลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) เป็นกราฟแท่ง
2. ถ้าเปรียบเทียบอัตรกกำลังของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) กับอัตรากำลังของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) นักเรียนคิดว่าควรการนำเสนอข้อมูลแบบใด เพราะเหตุใดให้เหตุผลประกอบ
ข้อเสนอแนะ
1. เมื่อมีอัตรากำลังในแต่ละเขตพื้นที่เพิ่มขึ้น คุณภาพของงานควรดีขึ้น
2. คนว่างงานคงจะได้มีงานทำเพิ่มขึ้น
บูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มาตรฐาน ง 3.1 เข้าใจเห็นคุณค่าและใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล การเรียนรู้ การสื่อสาร การแก้ปัญหา การทำงาน และอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและมีคุณธรรม
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
สาระที่ 2 การเขียน
มาตรฐาน ท 2.1 ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ
ที่มาของภาพ https://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK6/pictures/m6-167.jpg
ที่มาของภาพ https://www.mvt.co.th/UserFiles/Image//Article/ipv6-1.jpg
ที่มาของภาพ https://mos.e-tech.ac.th/eduweblearning/pukkie/unit_7_1-2_clip_image002_0001.jpg
ที่มาของภาพ https://www.intell.rtaf.mi.th/intellFilesUpload/intellnews/49604-01.jpg
ที่มาของภาพ https://203.172.141.6/nsta1/news_pic/p19266961110.jpg
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3203