เตรียมตัวให้พร้อม 9-12 ต.ค.นี้ ดูแลตัวเองอย่าให้ป่วยไข้-ห้ามสาย ห้ามลืมเอกสารประจำตัวเข้าสอบ และอย่าลืมเช็คสนามสอบกันหลง!...พลาดสอบคราวนี้ไม่มีโอกาสแก้ตัว จัดข้อสอบชุดเดียวไม่มีสำรอง
สทศ.จัดสอบ GAT-PAT ครั้งที่ 3/53 รอบเดียว
นางอุทุมพร จามรมานเตือน นร. 2.4 แสนคน เตรียมตัวให้พร้อม 9-12 ต.ค.นี้ ดูแลตัวเองอย่าให้ป่วยไข้-ห้ามสาย ห้ามลืมเอกสารประจำตัวเข้าสอบ และอย่าลืมเช็คสนามสอบกันหลง!...พลาดสอบคราวนี้ไม่มีโอกาสแก้ตัว จัดข้อสอบชุดเดียวไม่มีสำรอง
นางอุทุมพร จามรมาน ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เปิดเผยว่า สทศ.จะจัดสอบความถนัดทั่วไป (GAT) และความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการ (PAT) ครั้งที่3/2553 โดยจะจัดสอบวันที่ 9- 12 ต.ค.53 ตนจึงขอฝากไปยังนักเรียนที่จะเข้าสอบทุกคนให้ดูแลและรักษาสุภาพให้ดี เนื่องจากช่วงนี้มีไข้หวัดใหญ่ระบาด และถ้านักเรียนคนใดเป็นไข้หวัดใหญ่ จะทำให้ไม่สามารถสอบ GAT และ PAT ได้ ซึ่งจะไม่มีคะแนนสอบเดือน ต.ค.นี้ เพื่อนำไปใช้ในการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาได้ เพราะ สทศ.จะไม่มีการจัดสอบรอบพิเศษ GAT และ PAT ให้แน่นอน เนื่องจากสทศ.ไม่มีข้อสอบสำรองแล้ว ส่วนการเตรียมความพร้อมในการจัดสอบนั้น ขณะนี้สทศ.ได้ส่งข้อสอบไปให้ศูนย์สอบเรียบร้อยแล้ว และพร้อมสอบตามกำหนด
ผอ.สทศ. กล่าวต่อไปว่า ผู้เข้าสอบทุกคนต้องทำตามระเบียบการเข้าห้องสอบอย่างเคร่งครัด คือ
ห้ามไปผิดสนามสอบ ห้ามไปสายเกิน 30 นาที หากไม่มีเลขที่นั่งสอบ ไม่มีบัตรแสดงตน เช่น บัตรประจำตัวประชาชน บัตรนักเรียนที่มีรูปถ่าย หรือบัตรที่ทางราชการออกให้และมีรูปถ่าย จะไม่มีสิทธิ์เข้าสอบ
ห้ามขีดเขียนข้อความ หรือทำเครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ไว้ในบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวนักเรียนที่มีรูปถ่าย หรือบัตรที่ออกโดยทางราชการที่มีรูปถ่าย หรือตัวผู้เข้าสอบ หรือสิ่งอื่นใดที่ผู้เข้าสอบนำติดตัวเข้ามาสอบ มิฉะนั้นจะถือว่าเป็นการทุจริตห้ามนำเครื่องมืออุปกรณ์สื่อสารเข้าห้องสอบ ให้นั่งสอบจนหมดเวลา อนุญาตให้นำนาฬิกาเข้าห้องสอบ ต้องเป็นนาฬิกาธรรมดาที่ใช้ดูเวลาเท่านั้น
จำนวนผู้เข้าสอบในครั้งนี้มีประมาณ 245,967 คน แบ่งเป็น ผู้สมัครสอบ GAT 240,222 คน
PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์ 158,883 คน
PAT2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ 147,270 คน
PAT3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ 36,636 คน
PAT 4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ 16,179 คน
PAT5 ความถนัดทางวิชาชีพครู 119,297 คน
PAT6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์ 21,064 คน
PAT 7.1 ภาษาฝรั่งเศส 4,860 คน
PAT 7.2 เยอรมัน 1,196 คน
PAT 7.3 ญี่ปุ่น 4,097 คน
PAT 7.4 จีน 6,670 คน
PAT 7.5 อาหรับ 802 คน
PAT 7.6 บาลี 817คน
สำหรับตารางสอบ GAT และ PAT ครั้งที่ 3/2553 มีดังนี้
วันที่ 9 ต.ค.53
เวลา 08.30-11.30 น. สอบ GAT
เวลา 13.00-16.00 น. สอบ PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์
วันที่ 10 ต.ค.53
เวลา 08.30-11.30 น. สอบ PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
เวลา 13.00-16.00 น. สอบ PAT 5 ความถนัดทางวิชาชีพครู
วันที่ 11 ต.ค.53
เวลา 08.30-11.30 น. สอบ PAT 3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์
เวลา 13.00-16.00 น. สอบ PAT 4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
วันที่ 12 ต.ค.53
เวลา 08.30-11.30 น. สอบ PAT 6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
เวลา 13.00-16.00 น. สอบ
PAT 7.1 ความถนัดทางภาษาฝรั่งเศส
PAT 7.2 ความถนัดทางภาษาเยอรมัน
PAT 7.3 ความถนัดทางภาษาญี่ปุ่น
PAT 7.4 ความถนัดทางภาษาจีน
PAT 7.5 ความถนัดทางภาษาอาหรับ
PAT 7.6 ความถนัดทางภาษา
ที่มาของข้อมูล https://www.siamrath.co.th/?q=node/87145
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง อัตราส่วน
อัตราส่วน (Ratio) ใช้เปรียบเทียบปริมาณ 2 ปริมาณ หรือมากกว่าก็ได้ โดยที่ปริมาณ 2 ปริมาณที่นำมาเปรียบเทียบกันนั้นจะมีหน่วยเหมือนกัน หรือต่างกันก็ได้
ถ้าเป็นปริมาณที่มีหน่วยเหมือนกัน อัตราส่วนจะไม่มีหน่วยเขียนกำกับ เช่น มานะหนัก 25 กิโลกรัม มานีหนัก 18 กิโลกรัม จะกล่าวว่าอัตราส่วนของน้ำหนักของมานะต่อมานีเท่ากับ 25 : 18 หรือ
ถ้าเป็นปริมาณที่มีหน่วยต่างกัน อัตราส่วนจะต้องเขียนหน่วยแต่ละประเภทกำกับด้วย เช่น สุดาสูง 160 เซนติเมตร หนัก 34 กิโลกรัม อัตราส่วนความสูงต่อน้ำหนักของสุดา เท่ากับ 160 เซนติเมตร : 34 กิโลกรัม
อัตราส่วน a ต่อ b เขียนแทนด้วย a : b เรียก a ว่าเป็นจำนวนแรกหรือจำนวนที่หนึ่งและเรียก b ว่าจำนวนหลัง หรือจำนวนที่สอง
หมายเหตุ
1. อัตราส่วน a : b ไม่เท่ากับ b : a เช่น 1 : 5 ไม่เท่ากับ 5 : 1
2. อัตราส่วนที่อยู่ในรูปจำนวนเต็มทั้งสองจำนวน ถ้าไม่มีจำนวนเต็มใดที่มากกว่า 1 หารทั้งสองจำนวนนั้นได้ลงตัว อัตราส่วนนั้นเรียกว่าอัตรส่วนอย่างต่ำ
อัตราส่วนที่เท่ากัน
การหาอัตราส่วนที่เท่ากับอัตราส่วนที่กำหนดให้ ทำได้โดยการคูณหรือหาอัตราส่วนทั้งตัวแรกและตัวที่สองด้วยจำนวนเดียวกัน ตามหลักการ ดังนี้
หลักการคูณ เมื่อคูณแต่ละจำนวนในอัตราส่วนใดด้วยจำนวนเดียวกัน โดยที่จำนวนนั้นไม่เท่ากับศูนย์ จะได้อัตราส่วนใหม่ที่เท่ากับอัตราส่วนเดิม
หลักการหาร เมื่อหารแต่ละจำนวนในอัตราส่วนใดด้วยจำนวนเดียวกัน โดยที่จำนวนนั้นไม่เท่ากับศูนย์ จะได้อัตราส่วนใหม่เท่ากับอัตราส่วนเดิม
ที่มาของข้อมูล https://www.sema.go.th/files/Content/Mat/k1/0001/Biomath/kanitsird/pansak/sec02p02.html
แบบทดสอบ
คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
1. ผลบวกของเลขสองจำนวนหนึ่งกับสามสิบเท่ากับศูนย์
ก. x + 30 = 0 ข. x - 30 = 0 ค. x + 30 > 30 ง. x - 30 > 30
2. ข้อใดเป็นอัตราส่วนของ 8 ฟุต ต่อ 30 นิ้ว
ก. 5 : 16 ข. 8 : 30 ค. 16 : 5 ง. 30 : 8
3. 102 - (-18)
ก -120 ข. -84 ค. 84 ง. 120
4. มีค่าเท่ากับข้อใด
ก. 8% ข. 15% ค. 50% ง. 60%
5. ข้อใดเป็นการแยกตัวประกอบ
ก. 45 = 5 x 9 ข. 75 = 5 x 15 ค. 36 = 2 x 2 x 9 ง. 40 = 2 x 2 x 2 x 5
6. ถ้า ( -1) - y = 1 แล้ว y มีค่าเท่าไร
ก. - 2 ข. - 1 ค. 0 ง. 2
7. ห.ร.ม. ของ 18, 42 และ 36 คือจำนวนใดต่อไปนี้
ก. 2 ข. 3 ค. 6 ง. 9
8. ค.ร.น. ของ 24 และ 64 คือจำนวนใดต่อไปนี้
ก. 128 ข. 192 ค. 256 ง. 384
9. ผลคูณของ (- 6) x (- 9) เท่ากับจำนวนใดต่อไปนี้
ก. - 54 ข. - 15 ค. 15 ง. 54
10. แม่ค้าซื้อไข่มา 100 ฟอง ไข่แตกเสีย 7 ฟอง อัตราส่วนเปรียบเทียบจำนวนไข่ทั้งหมดต่อจำนวนไข่ที่ไม่แตกเท่ากับเท่าไร
ก.100 : 7 ข.7 : 100 ค.100 : 93 ง.93 : 100
ที่มาของข้อมูล แบบทดสอบhttps://www.sema.go.th/files/Content/Mat/k1/0001/Biomath/kanitsird/pansak/exam_ten_01/test01.html
คำถามในห้องเรียน
1. ให้นักเรียนทำเป็นอัตราส่วนอย่าต่ำจากนักเรียนผู้เข้าสอบ 245,967 คน กับ GAT 240,222 คน
2. อัตราส่วนเปรียบเทียบจำนวนผู้เข้าสอบทั้งหมดต่อจำนวนผู้เข้าสอบ PAT 1 - PAT 7
ข้อเสนอแนะ
ควรมีการประชาสัมพันธ์ของ สทศ.ในการจัดสอบ GAT-PAT ครั้งที่ 3/53 ให้ทราบทั่วถึงและต่อเนื่องเพื่อไม่ให้นักเรียนเสียสิทธิในการสอบครั้งนี้
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
สาระที่ 3 การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทย และกีฬาสากล
มาตรฐาน พ 3.1 เข้าใจ มีทักษะในการเคลื่อนไหว กิจกรรมทางกาย การเล่นเกม และกีฬา
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
สาระที่ 1 การอ่าน
มาตรฐาน ท 1.1 ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มาตรฐาน ง 3.1 เข้าใจ เห็นคุณค่า และใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล การเรียนรู้ การสื่อสาร การแก้ปัญหา การทำงาน และอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและมีคุณธรรม
ที่มาของภาพ https://www.thairath.co.th/media/content/2009/10/26/300/42381.jpg
ที่มาของภาพ https://pics.unigang.com/all/247.jpg
ที่มาของภาพ https://www.thairath.co.th/media/content/2009/05/15/6191/hr1667/300.jpg
ที่มาของภาพ https://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSHs_mKudY42ivrI9LXtya71Qi8LzhnjlnfZww8BeluFKgX8z4&t=1&usg=__2sQ6L-eE1PncTDsQkGoPp4FrKZQ=
ที่มาของภาพ https://www.theactkk.net/home/homenew1/form01news/images_upload_answer/20108111122531.jpg
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3215