อาจประกาศผล GAT-PATก่อน 10 พ.ย.


806 ผู้ชม


สรุปภาพรวมการสอบ GAT-PAT เดือน ต.ค. เรียบร้อยดี อาจจะประกาศผลสอบก่อน 10 พ.ย.   

เผยอาจประกาศผล GAT-PATก่อน 10 พ.ย.  
สรุปภาพรวมการสอบ GAT-PAT เดือน ต.ค. เรียบร้อยดี  อาจจะประกาศผลสอบก่อน 10 พ.ย.

        ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน รักษาการ ผอ.สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.)  เปิดเผยภายหลังตรวจเยี่ยมสนามสอบโรงเรียนศึกษานารี  ที่มีการจัดทดสอบ GAT  อาจประกาศผล GAT-PATก่อน 10 พ.ย.PAT ครั้งที่ 3/2553 เดือนตุลาคม วันที่  12 ต.ค.  ว่า  วันนี้เป็นการสอบวันสุดท้าย  ภาพรวมการจัดสอบเรียบร้อยดี ไม่พบรายงานการทุจริต จะมีเพียงทำผิดระเบียบการเข้าสอบ   
สทศ.จะเริ่มกระบวนการในการตรวจข้อสอบ ที่จะเริ่มในวันที่ 13 ต.ค. นี้ คือตรวจกระดาษคำตอบว่าครบหรือไม่  จากนั้นจะระบายกระดาษคำตอบที่ไม่ชัดเจน  เขียนโปรแกรมการให้คะแนน  ตรวจข้อสอบ และตรวจทาน   คาดว่าจะประกาศผลสอบได้ก่อนกำหนด 3-4 วัน จากที่กำหนดไว้ว่าจะประกาศผลวันที่ 10 พ.ย. นี้  มีนักเรียนแจ้งมาที่สทศ. ถึงเรื่องกระดาษคำตอบที่ตัวเลือกนั้นห่างกันเกินไปอาจจะทำให้นักเรียนที่สอบข้าง ๆมองเห็น  ดังนั้น สทศ.จะมีการปรับกระดาษคำตอบที่จะให้ตัวเลือกขยับเข้ามาชิดกัน โดยจะต้องดูระยะห่างที่เหมาะสมที่ไม่ชิดหรือห่างกันมากเกินไป ซึ่งรูปแบบดังกล่าวจะเริ่มใช้กับข้อสอบของ สทศ.ในปี 2554  ซึ่งเริ่มที่การสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐานหรือ O-NET ที่จะสอบเดือน ก.พ. 2554   
ที่มาของข้อมูล https://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=42&contentID=97675

คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ความรู้พื้นฐานการนำเสนอข้อมูล           
         
โดยปกติการเก็บรวบรวมข้อมูล มักจะได้ข้อมูลตามรูปแบบของการเก็บข้อมูลนั้นๆ ทำให้ข้อมูลที่ได้อาจไม่เป็นระเบียบ การนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้อาจทำได้ยาก วิธีการแก้ไขปัญหานี้คือการนำข้อมูลนั้นๆ มาจัดให้เป็นระเบียบ เพื่อให้มองเห็นลักษณะสำคัญของข้อมูลชัดเจนขึ้น เห็นความสัมพันธ์กันในกลุ่มข้อมูลตามความต้องการของผู้ใช้ข้อมูล สามารถอ่านข้อมูลได้ง่าย และสามารถทำความเข้าใจได้รวดเร็วและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น เราเรียกกระบวนการดังกล่าวนี้ว่า การนำเสนอข้อมูล (Data Presentation)
อาจประกาศผล GAT-PATก่อน 10 พ.ย.          
การนำเสนอข้อมูล เป็นการนำเอาข้อเท็จจริง ข้อมูล รายละเอียดต่างๆ ที่เก็บรวบรวมข้อมูลมาจัดให้เป็น ระเบียบ เพื่อมุ่งที่ให้ผู้ใช้ข้อมูลมองเห็นลักษณะสำคัญ ของข้อมูลเหล่านั้น และสามารถอ่านรายละเอียด หรือเปรียบเทียบข้อเท็จจริง ข้อมูล รายละเอียดเหล่านั้นได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และตรงตามความต้องการ ของผู้ใช้ข้อมูล อาจกล่าวได้ว่า วัตถุประสงค์สำคัญของการนำเสนอข้อมูลก็เพื่อจะนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ มาเสนอหรือเผยแพร่ให้ผู้สนใจข้อมูลนั้นๆ ทราบ หรือ สามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้
            การนำเสนอข้อมูลเป็นขั้นตอนในการเตรียมข้อมูลให้พร้อมสำหรับ การวิเคราะห์และการแปลความหมาย สรุปผลข้อมูล เพื่อนำสารสนเทศนั้นไปใช้ใน การตัดสินใจสำหรับการทำงานต่อไป รวมถึงการเลือกวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลจากรูปแบบและลักษณะสำคัญของข้อมูลนั้นๆ ได้ถูกต้องอีกด้วย โดยทั่วไปการนำเสนอข้อมูลอาจทำได้ใน 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ
            1. การนำเสนอข้อมูลอย่างไม่เป็นแบบแผน (informal presentation) หมายถึง การนำเสนอข้อมูลที่ไม่มีกฎเกณฑ์ หรือแบบแผนที่แน่นอนตายตัว เป็นการอธิบายลักษณะของข้อมูลตามเนื้อหาข้อมูล ที่นิยมใช้มีสองวิธีคือ การนำเสนอข้อมูลในรูปบทความหรือข้อความเรียง และการนำเสนอข้อมูล ในรูปบทความกึ่งตาราง
            2. การนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นแบบแผน (formal presentation) หมายถึง การนำเสนอข้อมูลที่มีกฎเกณฑ์ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดไว้เป็นแบบอย่าง การนำเสนอข้อมูลประเภทนี้ที่นิยมคือ การนำเสนอข้อมูลในรูปตาราง การนำเสนอข้อมูลในรูปกราฟหรือแผนภูมิ 
ที่มาของข้อมูล https://thailocal.nso.go.th/nso-cms/%E0%B8%B4basic_knowledge.html

การนำเสนอข้อมูลด้วยตาราง
         เป็นการจัดรูปในการนำเสนอข้อมูลในลักษณะแถว (row) และสดมภ์ (column) แถว หมายถึง การเรียงตามแนวนอน สดมภ์ หมายถึง การเรียงตามแนวตั้ง เพื่อจัดข้อมูลให้เป็นระเบียบหรือการจัดข้อมูลให้อยู่ในรูปที่อ่านความหมาย ได้ทั้งแถวตั้งและแถวนอน สัมพันธ์กัน ลักษณะของตารางไม่ตายตัว ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของผู้จัดทำ ถ้าต้องการที่จะให้ตารางเป็นที่เก็บข้อความทางสถิติอย่างละเอียด ตารางนั้นจะต้องมีขนาดและขอบเขตกว้างขว้างมากพอ
         โดยทั่วไปการนำเสนอข้อมูลในรูปตาราง  จะจำแนกตามลักษณะต่างๆ ที่แบ่งตามหัวเรื่อง โดยแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
          2.1.1 ตารางแบบทางเดียว (one-way table) หมายถึง ตารางที่มีการจำแนกเพียงลักษณะเดียวเท่านั้น เช่น จำนวนของลูกจ้างภาคเอกชนและภาครัฐบาลที่ได้รับผลประโยชน์เพิ่มเติม ไตรมาส 3 พ.ศ. 2551
         2.1.2 ตารางแบบสองทาง (two-way table) หมายถึง ตารางที่มีการจำแนกลักษณะสองลักษณะ เช่น จำนวนผู้ย้ายถิ่นเข้ามาในกรุงเทพมหานคร จำแนกตามสถานที่อยู่ก่อนย้าย และภาคที่อยู่ในปัจจุบัน พ.ศ. 2549
          2.1.3 ตารางแบบหลายทาง (multi-way table) หมายถึง ตารางที่มีการจำแนกตั้งแต่สามลักษณะ (three-way table) ขึ้นไปนั่นเอง เช่น อัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานของประชากร จำแนกตามเพศ ภาค และเขตการปกครอง ไตรมาสที่ 3 พ.ศ. 2551
ที่มาของข้อมูล https://thailocal.nso.go.th/nso-cms/%E0%B8%B4basic_knowledge/table.html
การนำเสนอข้อมูล (Presentation  Data)  
                คือ  การนำข้อมูลสถิติที่ได้รวบรวมไว้เผยแพร่ให้ผู้ที่สนใจข้อมูล  ได้มีโอกาสศึกษาผลงานของตนที่ได้รวบรวมมา  เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมในการวิเคราะห์ข้อมูล  โดยจัดให้อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย

การนำเสนอข้อมูลทางสถิติมี  4  วิธี อาจประกาศผล GAT-PATก่อน 10 พ.ย.
1.การนำเสนอเป็นรูปบทความ  (Text  Presentation)  เป็นวิธีนำเสนอที่ง่ายที่สุดในกรณีที่มีข้อมูลน้อย ๆ ลักษณะการนำเสนอเป็นคำบรรยายสั้น ๆ ปนไปกับตัวเลขที่ต้องการเสนอมักจะปรากฏในรายการวิทยุโทรทัศน์  หรือสรุปรายงานต่าง ๆ เช่น ราคาค่าโดยสารของบริษัทรถทัวร์แห่งหนึ่ง  ไปเชียงใหม่   550  บาท  ไปกลับ  1,000  บาท  ไปภูเก็ต  450  บาท  ไปกลับ  875  บาท  ไประยอง  140  บาท  ไปกลับ  260  บาท 
2.การนำเสนอในลักษณะกึ่งตาราง  กึ่งบรรยาย  (Semi – Tabular Arrangement)  เป็นวิธีที่เสนอข้อมูลโดยแยกตัวเลขออกจากข้อความ  เพื่อให้เห็นตัวเลขชัดเจนเพื่อเปรียบเทียบค่าได้เห็นชัดเจนถึงความแตกต่าง  เช่น  
3.การนำเสนอเป็นตาราง  (Tabular  Presentation)  เป็นการนำเสนอโดยใช้ตารางแต่เพียงอย่างเดียวไม่มีบทความ  ในตารางจะประกอบด้วยข้อมูลที่จำแนกออกตามประเภท (Categories)  หรือคิดเป็นร้อยละ ซึ่งเหมาะกับการนำเสนอข้อมูลที่มีรายการเป็นจำนวนมากและซ้ำ ๆ กันโดยที่ตัวเลขในตารางอาจเป็นข้อมูลทางสถิติหรืออาจเป็นค่าสถิติก็ได้  ตารางแสดงความนิยมของคนไทยที่นิยมใช้รถยี่ห้องต่างๆ  (ร้อยละ)  
4.การนำเสนอโดยแผนภูมิ   (Chart  Presentation)  เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลได้ชัดเจนและจูงใจผู้อ่าน  จึงได้มีการนำเสนอโดยกราฟและแผนภูมิขึ้น  ดังตัวอย่างต่อไปนี้ 
    4.1   แผนภูมิแท่ง  (Bar  Chart)  เป็นการนำเสนอข้อมูลที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ  ประกอบด้วยรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  มีความยาวแต่ละรูปแปรตามขนาดของข้อมูล เมื่อความกว้างของทุกๆ รูปเท่ากันหมด  เรียกรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้านี้ว่าแท่ง (Bar)    
วิธีสร้างแผนภูมิแท่ง  
    1.เขียนแนวนอนสำหรับใช้เป็นแกนแสดงเวลา  แล้วกำหนดความกว้างของรูปสี่เหลี่ยมให้เท่ากันทุกรูป  ซึ่งอาจจะเป็น  1.0, 1.5  เซนติเมตร  และความกว้างนี้จะเป็นระยะห่างระหว่างแท่งสี่เหลี่ยมด้วย 
    2.นำตัวเลขที่ต้องการเผยแพร่มาพิจารณาดูว่าค่าสูงสุดเป็นเท่าใด และค่าต่ำสุดเป็นเท่าใด เพื่อพิจารณากำหนดสเกลได้อย่างเหมาะสมและชัดเจนยิ่งขึ้น 
    4.2  แผนภูมิกง  (Pie - Chart)  แผนภูมิรูปวงกลมเป็นรูปเปรียบเทียบค่าของตัวเลขด้วยมุมที่จุดศูนย์กลางของรูปวงกลม  โดยเทียบ   =  100%  แล้วคำนวณหาว่าเปรอ์เซ็นต์จะเป็นมุมกี่องศา  มุมที่จุดศูนย์กลางของรูปวงกลม  1  เปอร์เซ็นต์  กางเป็นมุมเท่ากับ  3.6   
    4.3  แผนภูมิรูปภาพ  (Pictorial  Chart)  แผนภูมิรูปภาพเป็นแผนภูมิที่ใช้รูปภาพแทนตัวเลขจำนวนหนึ่งของข้อมูล  เช่น  รูปมือถือ  1  เครื่องแทนมือถือนำเข้า  1,000 เครื่อง
    4.5   กราฟเส้น  (Graph)  เป็นกราฟที่เปรียบเทียบค่าของตัวเลขด้วยจุดต่าง ๆ เป็นข้อมูลของช่วงเวลาหลายๆ ช่วง  การนำเสนอข้อมูลโดยใช้กราฟเส้นนี้ทำให้เห็นค่าความแตกต่างของแต่ละข้อมูลได้ชัดเจน
ที่มาของข้อมูล https://www.bcbat.ac.th/teacher/lek/lekall/page13.html

อาจประกาศผล GAT-PATก่อน 10 พ.ย.คำถามในห้องเรียน

1. จากข้อมูลในการสอบ GAT PAT ครั้งที่ 3/2553 ในแต่ละศูนย์สอบ มีปัญหา เช่น มาสาย และหาสนามสอบไม่เจอ นักเรียนคิดว่าข้อมูลแต่ละศูนย์สอบควรนำเสนอข้อมูลในรูปแบบใด  
2. ถ้าการประกาศผล GAT-PAT ก่อน 10 พ.ย. นักเรียนคิดว่าการนำเสนอข้อมูลทั้ง 4 รูปแบบ  ถ้านักเรียนมีส่วนในการนำเสนอข้อมูล นักเรียนคิดว่าควรเรียงลำดับ การนำเสนอรูปแบบใดเป็นอันดับหนึ่ง อันดับสอง อันดับสามและอันดับสี่ เพราะเหตุใดอธิบาย

ข้อเสนอแนะ
การประกาศผล GAT-PAT ก่อน 10 พ.ย. ควรมีแนวทางในการประกาศหลายแนวทาง หลายทางเลือกเพราะนักเรียนแต่ละคนมีข้อจำกัด ความแตกต่างระหว่างบุคคลในการรับข่าวสารข้อมูล

การบูรณาการหับกลุ่มสาระอื่นๆ 
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาระที่ 1   การดำรงชีวิตและครอบครัว 
มาตรฐาน ง 1.1 เข้าใจการทำงาน  มีความคิดสร้างสรรค์  มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะการจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา  ทักษะการทำงานร่วมกัน   และทักษะการแสวงหาความรู้    มีคุณธรรม    และลักษณะนิสัยในการทำงาน  มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน  ทรัพยากร  และสิ่งแวดล้อมเพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
สาระที่ 1 การอ่าน
มาตรฐาน  ท 1.1 ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน     
สาระที่ 2  การเขียน 
มาตรฐาน ท 2.1ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ  เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ   
ที่มาของภาพhttps://61.19.244.116/tk/images/stories/TK_park/1News_Act/3Follow_Activity/1Living_Library/2552_/rw1_10873.jpg
ที่มาของภาพ https://www.anubansatit.com/images/column_1242920935/552000006077701.jpg
ที่มาของภาพ https://img.kapook.com/image/education/GatPat_01.jpg

 
ทีม่า : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3238

อัพเดทล่าสุด